ตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเลนส์รวมแสง
คำสำคัญ:
ตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์, เลนส์รวมแสง, อุณหภูมิอบแห้งบทคัดย่อ
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอุณหภูมิระหว่างตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบ 10 เลนส์รวมแสงกับตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบไม่มีเลนส์รวมแสง ทดสอบการทำงานโดยศึกษาอุณหภูมิที่ตำแหน่งต่าง ๆ ของตู้อบแห้งที่เปลี่ยนไป ทุก ๆ 10 นาที วัดค่าความเข้มแสงอาทิตย์ทุก ๆ 15 นาที ตั้งแต่เวลา 07.30 นาฬิกา ถึง 17.30 นาฬิกา จากนั้นคำนวณหาเปอร์เซ็นต์ความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิภายในตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบ 10 เลนส์รวมแสงกับสิ่งแวดล้อม และอุณหภูมิภายในตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบไม่มีเลนส์รวมแสงกับสิ่งแวดล้อม ผลการทดสอบพบว่าตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบ 10 เลนส์รวมแสง มีค่าอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดในช่วงเวลา 11.00 นาฬิกา ถึง 14.00 นาฬิกา และมีความเข้มแสงอาทิตย์สูงสุด 805 วัตต์ต่อตารางเมตร อุณหภูมิภายในตู้สูงสุดของตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบ 10 เลนส์รวมแสง 68.2 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิสูงสุดภายในตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบไม่มีเลนส์รวมแสง 64.6 องศาเซลเซียส เปอร์เซ็นต์ความแตกต่างของอุณหภูมิภายในตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบ 10 เลนส์รวมแสงกับสิ่งแวดล้อมสูงกว่าอุณหภูมิภายในตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบไม่มีเลนส์รวมแสง
References
นิรนาม. (ม.ป.ป.). วิธีการถนอมอาหาร. ค้นเมื่อ 25 มกราคม 2563. http://www.sptn.dss.go.th/otopinfo/index.php/2014-10-09-08-12-02/article-1/157-2017-12-01-07-15-11.
นิรนาม. (2560). พลังงานแสงอาทิตย์กับการนำมาใช้ประโยชน์. ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2563. https://solarcellthailand96.com/energy/solar-energy/.
ศิริวรรณ อาจบำรุง. (2562). ตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ประสิทธิภาพสูง. รายงานการวิจัย สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการผลิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มหาสารคาม.
ศุภชัย แก้วจันทร์, ชูชาติ พะยอม และเอกราช นาคนวล. (2560). การพัฒนาตู้อบรังไหมแบบเลนส์ขยายความร้อนจากแสงอาทิตย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการอบ. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 12(2). 8-20.
สุดธิดา อินทผล. (2551). การพัฒนาเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สวัสดิ์ ภูมิสวัสดิ์ และวิจิตรา ภูมิสวัสดิ์. (2562). การศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 14(1). 67-77.
อุทัย จันทะเวช. (2553). การออกแบบและสร้างตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบพาความร้อน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
Sule S., Oyejide O.J. and Akusu O.M. (2019). Design, construction, and simulation of a solar fish dryer. International journal of trend in scientific research and development. 3(2): 239-244.
Thananthorn. (2561). รู้จักกับเลนส์นูนและเลนส์เว้า. ค้นเมื่อ 25 มกราคม 2563. https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/70576/-blo-.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 15-02-2024 (2)
- 30-08-2021 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื่อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการดีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น