ตู้อบกล้วยพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยระบบไฮบริด

ผู้แต่ง

  • ยศพล จูฑะโยธิน
  • สราวุฒิ เพ็ชรทับทิม
  • วัชรพล อินเกสร
  • ทินกร ชุณหภัทรกุล
  • ฐิติยา เนตรวงษ์
  • สุระสิทธิ์ ทรงม้า คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คำสำคัญ:

ตู้อบกล้วย, พลังงานแสงอาทิตย์, ระบบไฮบริด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างตู้อบกล้วยพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยระบบไฮบริด และ 2) ประเมินประสิทธิภาพตู้อบกล้วยพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยระบบไฮบริด โดยระบบไฮบริดเป็นการใช้หลักการหมุนเวียนอากาศร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์และระบายความชื้นด้วยวิธีธรรมชาติ อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบด้วย ไมโครคอนโทรลเลอร์ NodeMCU ESP8266 เป็นตัวควบคุมการทำงานร่วมกับเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ DHT22 จอแสดงผล LCD 16x2 พัดลมดูดอากาศ 12V หลอดไฟฮาโลเจน 12V และตัวควบคุมการเปิด-ปิด (Relay 4 Module) โดยเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้นจะตรวจหาค่าอุณหภูมิ และความชื้นภายในตู้อบกล้วย ส่งผลค่าอุณหภูมิ และความชื้นผ่านบอร์ดไปยังจอแสดงผล LCD พร้อมแจ้งเตือนค่าอุณหภูมิ
และความชื้นแบบเรียลไทม์ผ่านแอปพลิเคชัน Line และสามารถความคุม Relay ผ่านแอปพลิเคชันBlynk และบอร์ดจะสั่งการให้ Relay เป็นตัวควบคุมการเปิด-ปิด การทำงานของหลอดไฟ และพัดลม ผลการประเมินประสิทธิภาพของตู้อบกล้วย พบว่าตู้อบกล้วยพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยระบบไฮบริดใช้เวลาการตากกล้วยน้อยกว่าวิธีแบบตากธรรมชาติกว่าเฉลี่ย 2-3 วัน การประเมินประสิทธิภาพของตู้อบกล้วยพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยระบบไฮบริด (ในห้องปฏิบัติการ) ระบบสามารถทำงานได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

References

กรมวิทยาศาสตร์บริการ. (2559). ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2564. http://otop.dss.go.th/index.php/en/knowledge/informationrepack/139-2017-07-04-04-00-08?showall=&start=8.

กองถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยี. (2564). คู่มือการผลิตความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ การผลิตความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ การถ่ายทอด และการเผยแพร่การใช้พลังงานแสงอาทิตย์. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. กรุงเทพฯ.

บุญส่ง แสงอ่อน, สุชาติ แย้มเม่น, พีระศักดิ์ ฉายประสาท, ปิยะนันท์ เจริญสวรรค์, พัชรี สุริยะ และพุทธพงษ์ สร้อยเพชรเกษม.(2558). การวิจัยและพัฒนาการผลิตกล้วยตากเชิงพาณิชย์. รายงานการวิจัย. สาขาวิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.

ไพโรจน์ จันทร์แก้ว. (2551). วิจัยและพัฒนาเครื่องอบแห้งกล้วยน้ำว้าแบบใช้ลมร้อนจากแผงสะสมความร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับขดลวดความร้อน. รายงานการวิจัย. สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล. คณะวิศวกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตตาก. ตาก.

เสริม จันทร์ฉาย และบุศรากรณ์ มหาโยธี. (2559). การพัฒนาการผลิตกล้วยตากในชุมชนกล้วยตากอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 3(6): 310-322.

เผยแพร่แล้ว

30-12-2021 — Updated on 16-02-2024

Versions