การศึกษาปริมาณเหล็ก ความกระด้าง และโคลิฟอร์มแบคทีเรียจากเครื่องทำน้ำเย็น

ผู้แต่ง

  • วันปิติ ธรรมศรี
  • อัญชิสา ไพบูลย์
  • มารวย พักปากน้ำ
  • มาริสา เลียบแสง

คำสำคัญ:

เหล็ก, ความกระด้าง, โคลิฟอร์มแบคทีเรีย

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณเหล็ก ความกระด้างของน้ำ และโคลิฟอร์มแบคทีเรียในน้ำดื่มของ
เครื่องทำน้ำเย็น ณ โรงงานแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ และประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของพนักงานจากการบริโภค
น้ำดื่ม ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำ 45 ตัวอย่างจากเครื่องทำน้ำเย็น 5 จุด และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม
จากพนักงานจำนวน 191 คน ตัวอย่างน้ำนำมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการเพื่อหาปริมาณเหล็กโดยใช้เครื่องอะตอมมิค
แอบซอร์พชันสเปกโทรมิเตอร์ (Atomic absorption spectrometer) ความกระด้างของน้ำวัดด้วยวิธีไตเตรทด้วยอีดีทีเอ และปริมาณโคลิฟอร์มแบคทีเรียตรวจหาด้วยวิธี AWWA, 2012 ผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า พนักงานอายุระหว่าง 20-30 ปี ซึ่งประกอบด้วยเพศหญิง ร้อยละ 73.3 เพศชาย ร้อยละ 26.7 ดื่มน้ำจากเครื่องทำน้ำเย็น 1–2 ลิตรต่อวัน ปริมาณการบริโภคน้ำดื่มของพนักงานที่สำรวจ คิดเป็นร้อยละ 71.7 ผลการศึกษาพบว่าปริมาณเหล็ก ตรวจพบในช่วงระหว่าง 0.06-0.29 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่วนความกระด้างของน้ำและโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ตรวจไม่พบการปนเปื้อน ค่าดังกล่าวไม่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงาน

References

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. (2562). คู่มือมาตรฐานน้ำดื่มประเทศไทย. กระทรวงสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 1. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. นนทบุรี.

จุไรรัตน์ มหาเทียน. (2563). ความกระด้างของน้ำ. ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2563. http://reo06.mnre.go.th/ home/ index.phpoption=com_content&task=view&id=1124&Itemid=264

ธนาวัฒน์ รักกมล, ปุญญพัฒน์ ไชย์เมล์, สมเกียรติยศ วรเดช และชีระวิทย์ รัตนพันธ์. (2553). การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพในการบริโภคน้ำประปาที่ปนเปื้อนโลหะหนัก: กรณีศึกษาระบบผลิตน้ำประปาหมู่บ้านถ้ำลาตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา. 8(2): 159-171.

ธนาวัฒน์ รักกมล, ปุญญพัฒน์ ไชย์เมล์, สุธีร์ อินทร์รักษา และวรวรรณินี ราชสงฆ์. (2555). คุณภาพน้ำดื่มจากเครื่องทำน้ำเย็นในมหาวิทยาลัยทักษิณวิทยาเขตพัทลุง. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 15(2): 18-26.

วรางคณา สังสิทธิสวัสดิ์ และสมศักดิ์ พิทักษานุรัตน์. (2554). การปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียในน้ำดื่มของครัวเรือนชนบท. วารสารวิจัย. มข. 16(8): 1025-1035.

รพีพรรณ ยงยอด และรัตนี คำมูลคร. (2561). การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนในเขตพื้นที่การประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 13(1): 56-68.

ศูนย์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2563). รายงานการตรวจวัดคุณภาพน้ำดื่ม. ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2563. https://dt.mahidol.ac.th/th/wp-content/uploads/2017/ 11/3.2-6.pdf

ศากุน เอี่ยมศิลา. (2553). การศึกษาการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำดื่มในโรงเรียน. วารสารสุขาภิบาลอาหารและน้ำ. 1(3): 7-14.

สุพพัต เหมทานนท์ และปิยวรรณ เนื่องมัจฉา. (2560). การศึกษาความเหมาะสมของคุณภาพน้ำประปาในการอุปโภคบริโภคในพื้นที่ตําบลละอาย อําเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 36(1): 98-111.

World Health Organization. (1993). Guidelines for drinking water quality recommendation. Vol. 1. Geneva.

เผยแพร่แล้ว

30-12-2021 — Updated on 16-02-2024

Versions