This is an outdated version published on 31-12-2021. Read the most recent version.

การปรับปรุงผังกระบวนการผลิตชิ้นส่วนปลายข้อเหวี่ยงของรถจักรยานยนต์ กรณีศึกษา: บริษัท รีวัลเทค ประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ธีรภัทร สินสันเทียะ
  • พูนธนะ ศรีสระคู คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

คำสำคัญ:

หลักการ ECRS, การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต, ปรับปรุงผังกระบวนการผลิต, การวางผังกระบวนการผลิต

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาการวางผังกระบวนโดยการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพชิ้นส่วนปลายข้อเหวี่ยงของรถจักรยานยนต์ กรณีศึกษาบริษัท รีวัลเทค ประเทศไทย ที่มีกำลังการผลิตที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการซึ่งมีกระบวนการผลิตชิ้นส่วนปลายข้อเหวี่ยงของรถจักรยานยนต์ที่มีอยู่ 33 ขั้นตอน และในขั้นตอนการผลิตชิ้นส่วนปลายข้อเหวี่ยงของรถจักรยานยนต์จะมีกระบวนการที่เกิดความสูญเปล่า เช่น กระบวนการเดินไปเอาวัสดุหรือกระบวนการรอวัสดุ และการวางเครื่องจักรที่ซับซ้อน ที่ทำให้กระบวนการผลิตนั้นเกิดการล่าช้า ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ทำให้เสียเวลา
และระยะทาง ดังนั้นผู้จัดทำจึงได้นำแผนภูมิกระบวนการไหล (FPC) เทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H และหลักการแก้ปัญหา ECRS เพื่อแก้ไขกระบวนการผลิตชิ้นส่วนปลายข้อเหวี่ยงของรถจักรยานยนต์จากเดิมมีขั้นตอนการผลิตเท่ากับ 33 ขั้นตอน และได้ทำการลดขั้นตอนการผลิตให้มีความเหมาะสมเท่ากับ 30ขั้นตอน และเมื่อทดสอบแล้วนำมาประเมินสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้ เช่น กระบวนการลดลง เวลาลดลง ระยะทางลดลง เวลาในการผลิตชิ้นส่วนปลายข้อเหวี่ยงของรถจักรยานยนต์ มีค่าเวลาเฉลี่ยเท่ากับ 1,481 วินาที และหลังปรับปรุงเท่ากับ 1,339 วินาที ซึ่งมีผลลัพธ์หลังการเปรียบเทียบเท่ากับ 141 วินาที
ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 26.67 เมื่อสามารถลดขั้นตอนการปรับปรุงผังกระบวนการผลิตชิ้นส่วนปลายข้อเหวี่ยงของรถจักรยานยนต์ลงได้จะทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตได้อีกด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ผู้บริหารบริษัท รีวัลเทค ประเทศไทย พิจารณาถึงความเหมาะสมในการไปพัฒนากระบวนการปรับปรุงผังกระบวนการผลิตชิ้นส่วนปลายข้อเหวี่ยงของรถจักรยานยนต์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตของบริษัทต่อไป

เผยแพร่แล้ว

31-12-2021

Versions