This is an outdated version published on 30-04-2022. Read the most recent version.

ผลของ BA และ NAA ต่อการชักนำให้เกิดแคลลัสในต้นว่านตาลเดี่ยว

ผู้แต่ง

  • ศิริพร ภูเรียนคู่
  • อาอีเสาะห์ สะอุ
  • ประภาษ กาวิชา
  • มนฑิณี กมลธรรม
  • ธัญญ์วนิช ธัญสิริวรรธน์ Faculty of Natural Resources and Agro-Industry, Kasetsart University, Chalermphrakiat Sakon Nakhon Province Campus

คำสำคัญ:

การชักนำแคลลัส, ต้นว่านตาลเดี่ยว, สารควบคุมการเจริญเติบโต

บทคัดย่อ

ว่านตาลเดี่ยวเป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการรักษาสิว ฝ้า และจุดด่างดำ จึงได้รับความสนใจในการนำมาสกัดสารสำคัญเพื่อผสมในเครื่องสำอาง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของ 6-benzyladenine (BA) และ
1-naphthaleneacetic acid (NAA) ที่ความเข้มข้นต่างกันต่อการชักนำให้เกิดแคลลัสของต้นว่านตาลเดี่ยวสำหรับเป็นวัตถุดิบในการสกัดสารสำคัญ โดยเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนลำต้นใต้ดินบนอาหารแข็งสูตร Murashige and Skoog (MS) ที่เติม BA ความเข้มข้น 3.0 และ 5.0 มิลลิกรัม/ลิตร ร่วมกับ NAA ความเข้มข้น 0 0,.1, 0.3 และ 0.5 มิลลิกรัม/ลิตร ตามลำดับ จากผลการทดลองพบว่าชิ้นส่วนต้นว่านตาลเดี่ยวที่เพาะเลี้ยงบนอาหารแข็งสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 3.0 และ 5.0 มิลลิกรัม/ลิตร ร่วมกับ NAA ความเข้มข้น 0 และ 0.1 มิลลิกรัม/ลิตร สามารถชักนำให้เกิดแคลลัสได้มากที่สุด คิดเป็น 93.20% ส่วนสูตรอาหารที่เติมเฉพาะ BA ความเข้มข้น 3.0 มิลลิกรัม/ลิตร ช่วยให้แคลลัสมีขนาดใหญ่ที่สุด (2.38 เซนติเมตร) น้ำหนักสด และน้ำหนักแห้งมากที่สุดเท่ากับ 9.23 กรัม และ 0.8 กรัม ตามลำดับ จากผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการผลิตแคลลัสระดับห้องปฏิบัติการเพื่อใช้เป็นต้นแบบการสกัดสารสำคัญจากต้นว่านตาลเดี่ยวในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในอนาคตได้

เผยแพร่แล้ว

30-04-2022

Versions