This is an outdated version published on 30-04-2022. Read the most recent version.

ผลของการใช้หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 หญ้าขน หญ้ากินนีสีม่วง และหญ้าอะตราตั้มต่อปริมาณการกินได้และการย่อยได้ของโภชนะในไก่ตะเภาแก้ว

ผู้แต่ง

  • นพคุณ สุราช -Agriculture and Thecnology
  • ชยพล มีพร้อม
  • ทิวากร อำพาพล
  • สุปรีณา ศรีใสคำ
  • ปิตุนาถ หนูเสน
  • นพรัตน์ ผกาเชิด

คำสำคัญ:

ไก่ตะเภาแก้ว, การกินได้, การย่อยได้, การเจริญเติบโต

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 หญ้าขน หญ้ากินนีสีม่วง หญ้าอะตราตั้มที่ระดับ 30 เปอร์เซ็นต์ในอาหาร ต่อปริมาณการกินได้และการย่อยได้ของโภชนะของไก่ตะเภาแก้ว จำนวน 32 ตัว ที่มีอายุเฉลี่ย 14±0.5 สัปดาห์ น้ำหนักตัวเฉลี่ย 1.4±1 กิโลกรัม ถูกนำมาจัดอยู่ในแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ และจัดกลุ่มทดลองแบบแฟคทอเรียล แบ่งเป็น 2 ปัจจัย ได้แก่ เพศของไก่ตะเภาแก้วและสายพันธุ์หญ้า โดยมีปัจจัย A คือ เพศของไก่ตะเภาแก้ว ได้แก่ เพศผู้และเพศเมีย ปัจจัย B คือ สายพันธุ์หญ้า ได้แก่ 1) หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 2) หญ้ากินนีสีม่วง 3) หญ้าขน และ 4) หญ้าอะตราตั้ม เพื่อนำมาทดสอบการย่อยได้ของหญ้าทั้ง 4 สายพันธุ์ โดยไก่ทุกตัวถูกขังอยู่ในกรงเมทาบอลิซึมขนาด 60x60x63 เซนติเมตร โดยจะมีน้ำ อาหาร และการอยู่อาศัยที่เป็นอิสระต่อกัน ระยะเวลาทดลองทั้งหมด 21 วัน โดย 7 วันแรกเป็นการปรับ และ 14 วัน เป็นระยะการทดลอง โดย 2 วันสุดท้ายเป็นการเก็บตัวอย่างมูล พบว่าการใช้หญ้าไม่ส่งผลต่อปริมาณการกินได้ของวัตถุแห้งอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ในส่วนของการย่อยได้ พบว่ากลุ่มไก่ที่ได้รับหญ้า
อะตราตั้ม มีเปอร์เซ็นต์การย่อยได้สูงสุด เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

เผยแพร่แล้ว

30-04-2022

Versions