การออกแบบและการพัฒนาเครื่องผลิตไอศกรีมด้วยระบบคอมเพรสเซอร์

ผู้แต่ง

  • ชณัฐ วิพัทนะพร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
  • รณาพร เสนาสุธรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
  • เชิดพงษ์ เชี่ยวชาญวัฒนา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
  • สุพรรณ ยั่งยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ไอศกรีม, เครื่องผลิตไอศกรีม , ระบบคอมเพรสเซอร์ , แคปพิลารี่ทิ้วบ์

บทคัดย่อ

ไอศกรีมเป็นของหวานที่ได้รับความนิยม การผลิตไอศกรีมให้ได้คุณภาพนั้นนอกจากรสชาติที่ดีแล้วจะต้องพิจารณาถึงเนื้อสัมผัสไอศกรีมที่เนียนนุ่มฟูน่ารับประทานด้วย แต่ด้วยข้อจำกัดของวิธีการผลิตแบบดั้งเดิมที่มีความยุ่งยากและต้นทุนด้านเทคโนโลยีในท้องตลาดที่สูง จึงเป็นที่มาของวัตถุประสงค์ในศึกษาการออกแบบและพัฒนาเครื่องผลิตไอศกรีมด้วยระบบคอมเพรสเซอร์เพื่อเพิ่มความสามารถในการผลิต ช่วยประหยัดต้นทุนทั้งในด้านวัตถุดิบและแรงงาน โดยมีปัจจัยการศึกษาได้แก่ ความดันสารทำความเย็น 3 ระดับ คือ 10 15 และ 20 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว จำนวนท่อแคปพิลารี่ทิ้วบ์ 2 ระดับ คือ 1 และ 2 ท่อ มีปัจจัยควบคุมได้แก่ สารทำความเย็นชนิด R-404a ระยะเวลาการผลิตไอศกรีมเท่ากับ 60 นาทีต่อรอบการผลิต ความเร็วรอบใบกวนเท่ากับ 140 รอบต่อนาที ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 0.7 มิลลิเมตร และความยาวแคปพิลารี่ทิ้วบ์เท่ากับ 3,352.8 มิลลิเมตร มีค่าชี้ผลการศึกษาได้แก่ การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของไอศกรีม และการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์วิศวกรรมของเครื่องฯ ผลการศึกษาพบว่าสภาวะการผลิตไอศกรีมที่ระดับปัจจัยความดันสารทำความเย็น 20 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว จำนวนแคปพิลารี่ทิ้วบ์ 2 ท่อ สามารถลดอุณหภูมิสารละลายไอศกรีมจนเริ่มจับตัวกันเท่ากับ -20.35 องศาเซลเซียส ที่ระยะเวลาการทำงานเท่ากับ 46 นาที สามารถทำอุณหภูมิได้ต่ำที่สุดเท่ากับ -23.45 องศาเซลเซียส โดยได้คุณภาพของเนื้อไอศกรีมเนียนนุ่มฟูตามความต้องการ และผลการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์วิศวกรรมพบว่า มีจุดคุ้มทุนในการทำงาน 639.8ชั่วโมงต่อปี และมีระยะเวลาในการคืนทุน 0.9 ปี เมื่อพิจารณาชั่วโมงการทำงานของเครื่องฯ ที่ 2,400 ชั่วโมงต่อปี

References

ปาณทิพย์ เปลี่ยนโมฬี. (2560). อุตสาหกรรมไอศกรีมมูลค่าตลาดหมื่นล้าน. วารสารอุตสาหกรรมสาร. 59: 5-7.

มนตรี ทองโคตร, ชื่นจิตร อังวราวงศ์ และเปรมใจ สัจจะอารีวัฒน์. (2559). พฤติกรรมการบริโภคไอศกรีมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกร้านไอศกรีมของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 11(3): 233-241.

วนิดา บุรีภักดี, เลิศศิริ พวงแก้ว และนรินทร์ภพ ช่วยการ. (2559). การศึกษาปริมาณใบชะมวงและกรรมวิธีที่เหมาะสมในการผลิตไอศกรีมเชอร์เบทใบชะมวง. รายงานการวิจัย. สาขาคหกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา.

วรวุฒิ วันสา และสันติสุข คำวิสิทธิ์. (2561). การหาสภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตไอศกรีมด้วยระบบคอมเพรสเซอร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัญฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

D’Addio L., Carotenuto C., Di Natale F. and Nigro R. (2013). Heating and cooling of hazelnut paste in alternate blades scraped surface heat exchangers. Journal of Food Engineering. 115(2): 182-189.

Hernández-Parra O.D., Plana-Fattori A., Alvarez G., Ndoye F.T., Benkhelifa H. and Flick D. (2018). Modeling flow and heat transfer in a scraped surface heat exchanger during the production of sorbet. Journal of Food Engineering. 221: 54-69.

Hunt D. (2008). Farm power and machinery management: 10th Edition. United Stages of America, Waveland Press.

Saraceno L., Boccardi G., Celata G.P., Lazzarini R. and Trinchieri R. (2011). Development of two heat transfer correlations for a scraped surface heat exchanger in an ice-cream machine. Applied Thermal Engineering. 31(17): 4106-4112.

Shiryan D.K., Fazilati M.A. and Hajatzadeh A. (2015). Surface scraped heat exchanger for cooling newtonian fluids and enhancing its heat transfer characteristics, a review and a numerical approach. Applied Thermal Engineering. 87: 56-65.

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022 — Updated on 19-02-2024

Versions