เครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์แบบเคลื่อนที่
คำสำคัญ:
เครื่องสูบน้ำ , พลังงานแสงอาทิตย์ , แบบเคลื่อนที่บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำลังของแผงพลังงานแสงอาทิตย์ที่เหมาะสมกับเครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์
3 ขนาด คือ 360 วัตต์ 350 วัตต์ และ 350 วัตต์ จำนวน 2 แผง จากผลการเปรียบเทียบกำลังไฟฟ้าของแผง แสดงให้เห็นว่า ค่ากำลังไฟฟ้าแสงอาทิตย์แบบที่ 3 (แผงพลังงานแสงอาทิตย์ 350 วัตต์ 2 แผง) มีค่าสูงที่สุดคือ 800 วัตต์ เนื่องจากกำลังไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับพื้นที่รับแสงและความเข้มแสงที่แผงได้รับ อย่างไรก็ตาม กำลังไฟฟ้าที่แผงผลิตได้มาคำนวณเป็นประสิทธิภาพของปั๊ม แสดงให้เห็นว่า ประสิทธิภาพของปั๊มน้ำของเครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์แบบที่ 1 (แผงพลังงานแสงอาทิตย์ 360 วัตต์) จะมีค่าประสิทธิภาพสูงสุดที่ 4.3 เปอร์เซ็นต์ หลังจากนั้น นำเครื่องสูบน้ำแบบที่ 1 นำมาเปรียบเทียบประสิทธิภาพรวมของเครื่องสูบน้ำกับระดับท่อส่งน้ำที่ระยะความสูง 1.0 เมตร และ 1.5 เมตร ผลปรากฏว่าความสูงที่ 1.5 เมตร จะให้ประสิทธิภาพรวมของเครื่องสูบน้ำที่สูงสุดที่ 0.78 เปอร์เซ็นต์ โดยระยะคุ้มทุนของเครื่องสูบน้ำนี้จะอยู่ที่ 1 ปี 7 เดือน
References
เจษฎา วรรณศรี, วัชรพันธ์ อินทมาศ และสุรวุฒิ ยะนิล (2558). เครื่องสูบน้ำแผงโซล่าเซลล์. ใน การประชุมวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมระดับชาติ ครั้งที่ 8. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
นภัทร วัจนเทพินทร์ (2554). การติดตั้งระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ด้วยตัวเอง. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์ สกายบุ๊ก ปทุมธานี.
นครินทร์ รินพล (2558). คู่มือการออกแบบระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 14. สำนักพิมพ์ Znakarin. กรุงเทพฯ.
ปรัชญา มุขดา และขวัญ หนาแน่น (2562). เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อเนกประสงค์. ใน การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 33. อุดรธานี.
ปรัชญา มุขดา, กฤษณ์ ไชยวงศ์, ทัดทอง พราหมณี และขวัญชัย หนาแน่น. (2563). ระบบกำเนิดไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบออฟกริดที่เหมาะสมกับปั๊มน้ำ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 1(2): 123-132.
วัฒนพงษ์ รักษ์วิเชียร, สมชาย สุวราห์วรรณ, สังวาล เพ็งพัด, สุขฤดี นาถกรรณกุล และนิพันธ์ ประทุมศิริ (2536). พลังงานไฟฟ้าที่ได้จากเซลล์แสงอาทิตย์จากสถานีไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ บ้านเด่นไม้ซุง จังหวัดตาก. รายงานการวิจัย. วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.
สมชาย สุวราห์วรรณ (2537). การวิเคราะห์ทางด้านเทคนิคและเศรษฐกิจของระบบสูบน้ำด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบต่อตรงเพื่อการเกษตร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 19-02-2024 (2)
- 31-12-2022 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื่อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการดีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น