การศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมและสมบัติถ่านอัดแท่งจากไม้ไผ่

ผู้แต่ง

  • จุฑาพล จำปาแถม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • ลำพูน เหลาราช คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • ภิตินันท์ อารยางกูร โรงเรียนสิรินธร จังหวัดสุรินทร์
  • สุรสิงห์ อารยางกูร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

ถ่านอัดแท่งจากไม้ไผ่, สมบัติของถ่านอัดแท่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ในการศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมและสมบัติถ่านอัดแท่งจากไม้ไผ่ โดยการนำผงถ่านจากไม้ไผ่กับตัวประสาน (แป้งมันสำประหลัง:น้ำ) มาผสมในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน 5 อัตราส่วน (ผงถ่าน:แป้งมัน:น้ำ) ได้แก่ 10.0:1.0:3.5, 10.0:1.5:4.0,10.0:2.0:4.5, 10.0:2.5:5.0 และ 10.0:3.0:5.5 กิโลกรัมต่อลิตร ตามลำดับ แล้วนำไปอัดให้เป็นแท่งโดยใช้เครื่องอัดถ่านแบบเกรียว เมื่อผ่านกระบวนการทำแห้ง นำถ่านอัดแท่งมาทดสอบหาสมบัติของถ่านอัดแท่ง และนำมาเปรียบเทียบกับมาตรฐาน มผช. 238/2547 เพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการผลิตถ่านอัดแท่งจากไม้ไผ่พบว่า ถ่านอัดแท่งอัตราส่วน 10.0:1.0:3.5, 10.0:1.5:4.0 และ 10.0:2.0:4.5, 10.0:2.5:5.0 สามารถขึ้นรูปได้ ผลการทดสอบสมบัติของถ่านอัดแท่ง พบว่า เมื่อสัดส่วนของตัวประสานเพิ่มขึ้น ค่าความหนาแน่น ค่าความชื้น ปริมาณสารระเหย ปริมารสารที่เผาไหม้ได้ และปริมาณเถ้า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ค่าความร้อน และปริมาณคาร์บอนคงตัว มีแนวโน้มลดลง ถ่านอัดแท่งอัตราส่วน 10.0:1.0:3.5 มีประสิทธิภาพการใช้งานมากที่สุด คือ 32.263 เปอร์เซ็นต์ ถ่านอัดแท่งอัตราส่วนอัตราส่วน 10.0:1.0:3.5, 10.0:1.5:4.0, 10.0:2.0:4.5 และ 10.0:2.5:5.0 ไม่เกิดควันและสะเก็ดไฟ และผลการเปรียบเทียบกับ มาตรฐาน มผช. 238/2547 พบว่า ถ่านอัดแท่งทั้ง 4 อัตราส่วนผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มผช. 238/2547 โดยอัตราส่วนของผงถ่านจากไม้ไผ่ต่อตัวประสานที่มีคุณภาพดีที่สุด คือ อัตราส่วน 10.0:1.0:3.5

References

จุฬารัตน์ ชาวกำแพง. (2554). การศึกษาและพัฒนาถ่านอัดแท่งจากวัสดุเกษตรเพื่ออุตสาหกรรมในครัวเรือน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชุติมาภรณ์ อินตา, ธนพล เจาะดี และอรญา บุราคร. (2561). การศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างผงถ่านจากหญ้าเนเปียร์กับตัวประสานในการผลิตถ่านอัดแท่ง. รายงานการวิจัยครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

รุ่งโรจน์ พุทธีสกุล. (2553). การผลิตถ่านอัดแท่งจากถ่านกะลามะพร้าวและถ่านเหง้ามันสำปะหลัง. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2547). รายชื่อมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ประกาศใช้. ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2564. http://tcps.tisi.go.th/pub/tcps238_47.Pdf

เอกลักษณ์ กิติภัทร์ถาวร. (2556). เชื้อเพลิงอัดแท่งจากตะกอนเปียกอุตสาหกรรม ผลิตเอธานอลและชีวมวล. วารสารวิจัยพลังงาน. 10(3): 9-17.

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022 — Updated on 19-02-2024

Versions