การเพาะพันธุ์ปลาซิวหนวดยาว
คำสำคัญ:
ปลาซิวหนวดยาว, การเพาะพันธุ์, อัตราส่วน, คัพภะบทคัดย่อ
การศึกษาอัตราส่วนเพศในการเพาะพันธุ์ปลาซิวหนวดยาว โดยการฉีดฮอร์โมนกระตุ้นการวางไข่ที่ระดับความเข้มข้นของฮอร์โมน Suprefact 15 ไมโครกรัม ร่วมกับ Motilium 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักแม่พันธุ์ปลา 1 กิโลกรัม และความเข้มข้นของฮอร์โมน Suprefact 7.5 ไมโครกรัม ร่วมกับ Motilium 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักพ่อพันธุ์ปลา 1 กิโลกรัม แบ่งการทดลองออกเป็น 3 กลุ่มการทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ ได้แก่ อัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียเท่ากับ 1:1, 2:1 และ 3:1 พบว่า อัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียที่เหมาะสม เท่ากับ 1:1 แม่พันธุ์ปลาวางไข่เฉลี่ย 1,688±114.71 ฟอง และมีอัตราการฟักสูงสุดเท่ากับ 88.51±1.22 เปอร์เซ็นต์ (p<0.05) การศึกษาความเข้มข้นของฮอร์โมนที่เหมาะสมในการเพาะพันธุ์ปลาซิวหนวดยาว แบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มการทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ โดยการฉีดฮอร์โมนกระตุ้นการวางไข่ของแม่พันธุ์ปลาที่ระดับความเข้มข้นของSuprefact ต่างกันคือ 5, 10, 15 และ 20 ไมโครกรัม ร่วมกับ Motilium 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักแม่พันธุ์ปลา 1 กิโลกรัม และใช้ความเข้มข้นของ Suprefact ครึ่งหนึ่งของแม่พันธุ์ คือ 2.5, 5, 7.5 และ 10 ไมโครกรัม ร่วมกับ Motilium 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักพ่อพันธุ์ปลา 1 กิโลกรัม ส่วนกลุ่มควบคุมไม่มีการฉีดฮอร์โมน พบว่า การใช้ฮอร์โมน Suprefact 20 ไมโครกรัม ร่วมกับ Motilium 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมของแม่พันธุ์ปลา และ Suprefact 10 ไมโครกรัม ร่วมกับ Motilium 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมของพ่อพันธุ์ปลา ทำให้แม่พันธุ์ปลาวางไข่เฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 1,938±211.56 ฟอง (p<0.05) และพบว่า ความเข้มข้นของฮอร์โมนที่แตกแตกต่างกันไม่มีผลต่ออัตราการฟักไข่ และอัตรารอดของลูกปลาที่ 24 ชั่วโมง (p>0.05) และไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้วจะพัฒนาคัพภะจนกระทั่งฟักเป็นตัวใช้ระยะเวลา 14 ชั่วโมง
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 19-02-2024 (2)
- 31-12-2022 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื่อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการดีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น