This is an outdated version published on 29-04-2023. Read the most recent version.

การเปลี่ยนแปลงสีและองค์ประกอบของน้ำสกัดใบไชยาที่สัมพันธ์กับอุณหภูมิ และระยะเวลาการเก็บรักษา

ผู้แต่ง

  • ศศิมล มุ่งหมาย คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
  • วีรเวทย์ อุทโธ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
  • วัชรพงษ์ วัฒนกูล คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
  • ทิตา สุนทรวิภาต คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
  • อดุลย์ อภินันทร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

ใบไชยา , น้ำสกัดใบไชยา , จลนพลศาสตร์, คลอโรฟิลล์ทั้งหมด , กรดแอสคอร์บิก

บทคัดย่อ

น้ำสกัดจากใบไชยาเป็นสารเติมแต่งส่วนของอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติและสีเขียว ซึ่งมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงในระหว่างการเก็บรักษา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสีและองค์ประกอบบางประการของน้ำสกัดใบไชยาเก็บรักษาที่อุณหภูมิระหว่าง 5-25˚C เป็นเวลา 10 วัน ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ค่าสี a* ปริมาณคลอโรฟิลล์ทั้งหมด และกรดแอสคอร์บิกของน้ำสกัดลดลงจากค่าเริ่มต้นอย่างต่อเนื่องตลอดอายุการเก็บรักษา และเกิดการเปลี่ยนแปลงได้เร็วขึ้น เมื่อเก็บตัวอย่างที่อุณหภูมิสูงขึ้นน้ำสกัดที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25˚C มีอายุการเก็บรักษาเพียง 3 วัน เนื่องจากการเน่าเสียของน้ำสกัด ซึ่งสามารถสังเกตได้จากการเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มและการตกตะกอน ผลของการศึกษาจลนพลศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงของลักษณะทางคุณภาพข้างต้น พบว่า การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในระหว่างการเก็บรักษาของแต่ละอุณหภูมิเป็นปฏิกิริยาอันดับ 1 และสามารถทำนายได้ดีด้วยแบบจำลองคณิตศาสตร์ First-order fractional conversion (FOFC) โดยมีค่า R2 0.63-0.99 และค่า Root mean square of error (RMSE) <2 ยกเว้นค่า RMSE ของการเปลี่ยนแปลงค่าสี a* ที่อุณหภูมิ 10 และ 25˚C ซึ่งมีค่าสูงกว่า 2 อัตราเร็วของจลนพลศาสตร์การเปลี่ยนแปลงที่ได้จากการประมาณโดยแบบจำลองคณิตศาสตร์ FOFC มีค่าเพิ่มขึ้นที่สัมพันธ์กับอุณหภูมิแบบเอกซ์โปแนนเชียล ความสัมพันธ์ดังกล่าวทำนายได้ดีด้วยแบบจำลองคณิตศาสตร์อารีเนียส (Arrhenius) มีค่า R2 0.76-0.99 และ RMSE <2

เผยแพร่แล้ว

29-04-2023

Versions