การผสมพันธุ์ข้ามชนิดของกล้วยไม้ฟาแลนนอปซีสลูกผสมกับกล้วยไม้เขากวางอ่อน การงอกของเมล็ดลูกผสมในสภาพปลอดเชื้อ และการเจริญของต้นกล้วยไม้ลูกผสม
คำสำคัญ:
ปากเหลือง , ปากชมพู , ก้อนเรณู , ฝัก , โปรโตคอร์มบทคัดย่อ
การผสมพันธุ์กล้วยไม้ฟาเลนนอปซีสลูกผสมดอกสีขาวปากสีเหลือง และปากสีชมพู โดยผสมตัวเอง ผสมข้ามดอก และผสมข้ามชนิดกับกล้วยไม้เขากวางอ่อนที่มีลายบนกลีบดอกแตกต่างกันด้วยมือ ทั้งหมด 7 คู่ผสม สามารถผลิตกล้วยไม้ลูกผสมได้ 5 คู่ผสม คิดเป็นร้อยละ 71.43 โดยเกิดจากการผสมตัวเอง จำนวน 2 คู่ผสม การผสมข้ามดอก จำนวน 1 คู่ และผสมข้ามชนิด จำนวน 2 คู่ผสม อายุฝักแก่ของกล้วยไม้ลูกผสม เฉลี่ย 105 วัน หลังจากผสมพันธุ์ ฝักมีขนาดเฉลี่ยกว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 5.7 เซนติเมตร จากการศึกษาการงอกของเมล็ดลูกผสมในสภาพปลอดเชื้อ พบว่า เมล็ดกล้วยไม้ลูกผสม 5 คู่ผสมสามารถงอกเมื่อเพาะเลี้ยงบนอาหารแข็งสูตรดัดแปลง Vacin and Went (1949) ที่เติมน้ำมะพร้าว 150 มิลลิลิตรต่อลิตร น้ำตาล 20 กรัมต่อลิตร ปรับ pH 5.2 เพาะเลี้ยงในที่มืด ที่อุณหภูมิ 25±2 องศาเซลเซียส เฉลี่ย 13.6 วัน และโปรโตคอร์มสามารถเจริญเป็นต้น เมื่อเลี้ยงบนอาหารแข็งสูตรดัดแปลง Vacin and Went (1949) ที่เติมน้ำมะพร้าว 150 มิลลิลิตรต่อลิตร กล้วยหอม 100 กรัมต่อลิตร น้ำตาล 20 กรัมต่อลิตร ผงถ่าน 1 กรัมต่อลิตร และ pH 5.2 เพาะเลี้ยงเป็นเวลา 120 วันที่อุณหภูมิ 25±2 องศาเซลเซียส ให้แสง 16 ชั่วโมงต่อวัน เมื่อย้ายต้นกล้ากล้วยไม้ลูกผสมทั้ง 5 คู่ผสมปลูกในโรงเรือน มีการรอดชีวิตร้อยละ 100 สีของใบ ขนาดของใบ และความสูงของต้นเพิ่มขึ้น ความสำเร็จของการผสมข้ามชนิดระหว่างดอกกล้วยไม้ฟาแลนนอปซีสลูกผสมดอกขาวปากเหลือง และปากชมพูกับก้อนเรณูกล้วยไม้เขากวางอ่อนซึ่งเป็นกล้วยไม้ไทย สามารถพัฒนาเป็นกล้วยไม้กระถางขนาดเล็กได้
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 19-02-2024 (2)
- 29-04-2023 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื่อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการดีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น