ไหมเคลือบซิงค์ออกไซด์พิลลาร์มอนต์มอริลโลไนต์ย้อมด้วยสีธรรมชาติจากใบข้าวไรซ์เบอรี่
คำสำคัญ:
ซิงค์ออกไซด์พิลลาร์มอนด์มอริลโลไนต์ , เส้นไหม , สารช่วยติดสี , ใบข้าวไรซ์เบอรี่บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เตรียมซิงค์ออกไซด์พิลลาร์มอนต์มอริลโลไนต์ (ZnO-MMT) ด้วยวิธีเอิบชุ่มและปฏิกิริยาไฮโดรเทอร์มอล โดยทำการเอิบชุ่มแร่ดินมอนต์มอริลโลไนต์ (MMT) ด้วยสารละลาย Zn(NO3)2·6H2O ที่ความเข้มข้น 9%, 11%, 13% และ 15% โดยมวลต่อปริมาตร นำเส้นไหมมาเคลือบ ZnO-MMT ที่ความเข้มข้นต่าง ๆ จากนั้นทดสอบสัณฐานวิทยาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด และพิสูจน์เอกลักษณ์ด้วยเครื่องฟูเรียร์ทรานฟอร์มอินฟราเรดสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ นำเส้นไหมที่เคลือบ ZnO-MMT มาย้อมด้วยสีธรรมชาติจากใบข้าวไรซ์เบอรี่ที่อุณหภูมิ 80°C เติมสารช่วยติดสี ได้แก่ คอปเปอร์ (II) ซัลเฟต เฟอร์รัสซัลเฟต โพแทสเซียมอะลัม และแคลเซียมไฮดรอกไซด์ วิเคราะห์ค่าความเข้มสีของเส้นไหม ทดสอบสมบัติการป้องกันรังสียูวี (Ultraviolet Protection Factor: UPF) ความคงทนของสีต่อแสงและการซักล้าง ผลการวิจัยพบว่า เส้นไหมที่ไม่เคลือบ ZnO-MMT มีผิวหน้าที่เรียบ ส่วนเส้นไหมที่เคลือบจะปรากฏอนุภาคนาโน ZnO-MMT ที่ผิวหน้า ซึ่งช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัสให้เส้นใยไหมดูดซับโมเลกุลสีย้อมได้มากขึ้น ความคงทนของสีต่อแสงของเส้นไหมที่ไม่เคลือบและเส้นไหมที่เคลือบด้วย ZnO-MMT เฉลี่ยอยู่ในระดับ 4-5 (ดีถึงดีมาก) และความคงทนของสีต่อการซักล้าง ครั้งที่ 10 อยู่ในระดับ 4 (ดี) เมื่อนำเส้นไหมไปทดสอบ UPF โดยปกติผ้าที่มี UPF สูงจะเป็นการบอกว่ามีความสามารถในการป้องกันยูวีได้ดีกว่าผ้าที่มีค่า UPF ต่ำ และเส้นไหมที่เคลือบด้วย 9ZnO-MMT มีความสามารถในการป้องกันรังสียูวี ได้ในระดับดีเยี่ยม โดยมีค่า UPF เท่ากับ 44.86
References
กิตติชัย ศรสำแดง, ภานุวัฒน์ ดวงรัศมี และมงคล นิ่มลมูล. (2558). การเตรียมซิงค์ออกไซด์พิลลาร์มอนต์มอริลโลไนต์สำหรับใช้ในการบำบัดน้ำเสีย. โครงงานพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพ.
ลักขณา เบ็ญจวรรณ์ และคณะ. (2553). คุณค่าทางโภชนาการและผลิตภัณฑ์จากน้ำคั้นใบข้าว. ค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2564. https://kukr.lib.ku.ac.th /kukr_es / index.php?/KPS/search_detail/result/309144.
ศศิธร โนนสังข์ และสุดาพร ตังควนิช. (2555). การพัฒนาสมบัติของเส้นไหมด้วยนาโนซิงค์ออกไซด์ย้อมด้วยสีธรรมชาติแบบผงจากใบสาบเสือ. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 13. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น. 393-400.
ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว. (2563). ข้าวไรซ์เบอรี่ (Ricrbery). ค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2563. https://dna.kps.ku.ac.th/index.php /articles- ricersc-rgdu-knowledge/29-2015-03-27-02-0415/53-riceberry.
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (2561). สร้างสรรค์คุณค่าข้าวไทยด้วยเกษตรกรปลอดภัยและนวัตกรรมที่ยั่งยืน. ค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2564. https://oer.learn.in.th/search_detail/result/117059.
Becheri A., Durr M., Nostro P.L. and Baglioni P. (2008). Synthesis and characterization of zinc oxide nanoparticles: application to textiles as UV-absobers. Journal of Nanoparticle Ressearch. 10: 679-689.
Chitchotpanya P. and Chayanisa C. (2017). Vitro assessment of sericin silver functionnalized silk fabrics for enhanced UV protection and antibacterial properties using experimental design. Coatings. 7(9): 1-17.
Dayioglu H., Kut D., Merdan N. and Canbolat S. (2015). The effect of dyeing properties of fixing agent and plasma treatment on silk fabric dyed with natural dye extract obtained from Sambucus ebulus L. plant. In World conference on technology, innovation and entrepreneurship. Procedia-Social and Behavioral Sciences. 195: 1609-1617.
El-Hady. A., Farouk A. and Sharaf S. (2013). Flame retardancy and UV protection of cotton based fabrics using nano ZnO and polycarboxylic acids. Carbohydrate polymers. 92(1): 400-406.
Francisco R., Valenzuela D. and Santo P.D.S. (2001). Studies on the acid activation of Brazilian smectitic clay. Quimica Nova. 24(3): 345-353.
Karimi L., Mirjalili M., Yazdanshenas M.E. and Nazari A. (2010). Effect of nano TiO2 on self-cleaning property of cross-linking cotton fabric with succinic acid under UV irradiation. Photochemistry and photobiology. 86(5): 1030-1037.
Khataee A., Kiransan M., Karaca S. and Arefi-Oskoui S. (2016). Preparation and characterization of ZnO/MMT nanocomposite for photocatalytic ozonation of a disperse dye. Turkish Journal of Chemistry. (40): 546-564.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 19-02-2024 (2)
- 30-08-2023 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื่อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการดีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น