การศึกษาคุณสมบัติการบดอัด และค่า ซี บี อาร์ ของดินถมลาดคันทางที่ผสมเส้นใย จากกระสอบป่าน

ผู้แต่ง

  • ชลธิชา จีบตะคุ คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • ลาวัลย์ ขันเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • สมใจ ยุบลชิต คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

เส้นใยกระสอบป่าน , ลาดดินถมคันทาง , การทดสอบซีบีอาร์

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติการบดอัด และค่า ซี บี อาร์ ของดินถมลาดคันทางที่ผสมเส้นใยกระสอบป่านในห้องปฏิบัติการ โดยแต่ละตัวอย่างได้เพิ่มปริมาณเส้นใยกระสอบป่านที่ 0, 25, 50 และ 75 กรัม ต่อดิน 7,000 กรัม นำไปทดสอบการบดอัดเพื่อหาค่าปริมาณน้ำที่เหมาะสม และทดสอบแคลิฟอร์เนียแบริ่งเรโช จากผลการทดสอบพบว่า เมื่อเพิ่มปริมาณเส้นใยกระสอบป่านค่าความหนาแน่นแห้งจะมีค่าลดลงเป็น 2.100, 2.052, 2.029 และ 2.015 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ค่าการบวมตัวของดินมีค่าเพิ่มขึ้นเท่ากับร้อยละ 0.4, 0.9, 1.8 และ 2.3 ตามลำดับ และผลของค่า ซี บี อาร์ เท่ากับร้อยละ 14.2, 19.2, 20.9 และ 13.9 การเพิ่มปริมาณเส้นใยกระสอบป่านส่งผลให้ค่าความหนาแน่นแห้งลดลง และค่าการบวมตัวของดินเพิ่มขึ้นซึ่งจะทำให้ความสามารถในการรับน้ำหนักของดินลดลง ดังนั้นอัตราส่วนที่เหมาะสมคือการเพิ่มปริมาณของเส้นใยกระสอบป่านที่ร้อยละ 0.71 ของน้ำหนักดิน โดยจะได้ค่า ซี บี อาร์ สูงสุดที่ร้อยละ 20.9 ค่าการบวมตัวร้อยละ 1.8 และค่าความหนาแน่นแห้ง 2.029 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร

References

สถิต ชินอ่อน (2556). คุณสมบัติการบดอัดและค่า ซี บี อาร์ (C.B.R.) ของดินถมคันทาง. หลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาตรมหาบัณฑิตการบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภค. สาขาวิศวกรรมโยธา. สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

สยาม ยิ้มศิริ (2558). ผลกระทบของความชื้นในการบดอัดต่อกำลังรับแรงเฉือนของดินในสภาพไม่อิ่มตัวด้วยน้ำ. รายงานการวิจัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.

ยิ่งยศ บุณยานันต์ (2556). การประยุกต์ใช้วัสดุสังเคราะห์ในการเพิ่มเสถียรภาพของคันทางถนนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. หลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาตรมหาบัณฑิตการบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภค. สาขาวิศวกรรมโยธา. สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

วิมลลักษณ์ สุตะพันธ. (2558). การศึกษาผลการดัดแปรด้วยความร้อนต่อลักษณะจำเพาะของเส้นใยป่านศรนารายณ์ที่ปลูกในนครราชสีมา. รายงานการวิจัย. สาขาวิศวกรรมพอลิเมอร์. สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. นครราชสีมา.

กรมทางหลวงชนบท. (2545). มทช. 220-2545. มาตรฐานงานถมคันทาง (Embankment: Construction).

Standard Test Method for Particle-Size Analysis of Soils. (2002). ASTM D 422 – 63.

Standard Test Method for Laboratory Compaction of soil using Modified Effort. (2014). ASTM D1557-07.

Standard Test Method for C.B.R. (California Bearing Ratio) of Laboratory-Compacted Soils. (2016). ASTM D1883-14.

เผยแพร่แล้ว

29-04-2023 — Updated on 19-02-2024

Versions