ชุดสาธิตการส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าแบบไร้สาย

ผู้แต่ง

  • บุญทัน สนั่นน้ำหนัก คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดสุรินทร์
  • อดิศร นวลอ่อน คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดสุรินทร์
  • สรายุตร์ สวัสดิ์วงษ์ชัย คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดสุรินทร์
  • วันทนา ศุขมณี คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดสุรินทร์
  • บุญยัง สิงห์เจริญ คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดสุรินทร์
  • สันติ สาแก้ว คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดสุรินทร์
  • พงสกร ตอรบรัมย์ คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

เรโซแนนซ์ , ประสิทธิภาพ, ฟลูบริดร์คอนเวอร์เตอร์

บทคัดย่อ

ชุดสาธิตการส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าแบบไร้สาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการส่งกำลังไฟฟ้าแบบไร้สาย และทดลองหาประสิทธิภาพของชุดสาธิตการส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าแบบไร้สาย ซึ่งใช้หลอดไฟฟ้าขนาด 220 โวลต์100 วัตต์ ในการทดลองหลักการทำงานของชุดสาธิตการส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าแบบไร้สาย คือ การส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าแบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำ จากขดลวดภาคส่งไปยังขดลวดภาครับเพื่อจ่ายพลังงานให้กับหลอดไฟฟ้า ผลการทดลองหาประสิทธิภาพการส่งกำลังไฟฟ้าแบบไร้สายของชุดสาธิตการส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าแบบไร้สายปรากฏว่า ประสิทธิภาพสูงสุดของชุดสาธิตการส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าแบบไร้สายระยะที่ 9 เซนติเมตร บรรลุประสิทธิภาพร้อยละ 56.33  ได้กำลังไฟฟ้า 318.99 วัตต์ และประสิทธิภาพต่ำสุดของชุดสาธิตการส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าแบบไร้สายระยะที่ 40 เซนติเมตร บรรลุประสิทธิภาพร้อยละ 0.12 กำลังไฟฟ้า 0.78 วัตต์

References

จาตุรงค์ ขาวสุข และทศพล สาระนิม. (2554). เครื่องส่งกำลังไฟฟ้าโดยการเหนี่ยวนำแม่เหล็ก.ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ภัทรธร เผ่าจินดา, ภาณุ มัทธวรัตน์, ภูธร สุขวณิช และราชการ สุวจสุวรรณ. (2556). การส่งกำลังไฟฟ้าผ่านอากาศสำหรับ รถยนต์ไฟฟ้า. ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ยุทธภูมิ ชุมภักดี และสุรศักดิ์ เทียบโฮม. (2555). เครื่องส่งกำลังไฟฟ้าโดยการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า.ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พิชัย ใจจิต, จิรโชติ กุญแจทอง, และวิษณุ ปัญญา. (2551). การส่งกำลังไฟฟ้าไร้สายในบ้านพักอาศัย. ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง.

วัชระ อมศิริ, พัฒนวี โพธิ์ทอง, ธนสร ภิญญธนาบัตร และวันชัย ไพจิตโรจนา. (2560). ระบบรักษาประสิทธิภาพการส่งพลังงานไฟฟ้าไร้สายด้วยการปรับความถี่เรโซแนนซ์อัตโนมัติ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 25(5): 870-879.

วิชเยนทร์ มหาวงศ์ และอาณัฐ หมดเบ็ญหมด. (2557). เครื่องส่งกำลังไฟฟ้าแบบไร้สายสำหรับชาร์จประจุไฟฟ้าแบตเตอรี่กรณีศึกษาในรถบังคับวิทยุ. ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

วีระเชษฐ์ ขันเงิน. (2555). ระบบส่งกำลังไฟฟ้าแบบไร้สาย. สำนักพิมพ์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง: กรุงเทพฯ.

สารานุกรมเสรี. (2561). รถยนต์พลังงานไฟฟ้า. ค้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2562 . https://th.wikipedia.org.

อาทิตย์ ฤทธิแผลง. (2558). การเพิ่มประสิทธิภาพระบบส่งพลังงานไฟฟ้าแบบไร้สายโดยออกแบบ โครงสร้างให้เหมาะสมและใช้ค่าตัวเก็บประจุปฐมภูมิที่แม่นยำ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เผยแพร่แล้ว

30-08-2023 — Updated on 19-02-2024

Versions