การพัฒนาระบบรดน้ำเกษตรอัจฉริยะโดยใช้ Internet of Things

ผู้แต่ง

  • สุชาติ ดุมนิล คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

ระบบรดน้ำ , เกษตรอัจฉริยะ , อินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพ และประเมินคุณภาพของระบบรดน้ำเกษตรอัจฉริยะโดยใช้ Internet of Things และความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อพัฒนาระบบ กระบวนการวิจัยได้ดำเนินการผ่านการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน จากนั้นนำไปพัฒนาพัฒนาระบบรดน้ำเกษตรอัจฉริยะโดยใช้ Internet of Things การพัฒนาระบบรดน้ำเกษตรอัจฉริยะโดยใช้ Internet of Things นั้น สามารถช่วยแก้ปัญหาที่เกษตรกรพบเจอในปัจจุบัน คือ สามารถช่วยสั่งการรดน้ำได้สะดวก และรวดเร็วขึ้น สามารถช่วยควบคุมความชื้นในดินได้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช และสามารถช่วยกำหนดการตั้งเวลาในการทำงานของระบบน้ำเพื่อให้พืชได้น้ำที่ตรงเวลาและสม่ำเสมอตามที่พืชต้องการ จากผลการทดสอบหาประสิทธิภาพของระบบในภาพรวม มีระดับการทดสอบประสิทธิภาพคิดเป็นร้อยละ 100 ทั้งหมด ซึ่งเกินสมมติฐานที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การพัฒนาระบบรดน้ำเกษตรอัจฉริยะโดยใช้ Internet of Things ที่พัฒนาขึ้น สามารถช่วยประหยัดเวลา และแรงงาน สร้างความสะดวกสบายและแบ่งเบาภาระของเกษตรกรในการควบคุมสั่งการเปิด-ปิดการให้น้ำในการปลูกพืชผ่านทางสมาร์ทโฟนจากทุกที่ทุกเวลา และยังสามารถช่วยควบคุมความชื้นในดิน และเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้อย่างมีคุณภาพ

References

จตุรภัทร วาฤทธิ์, โชติพงษ์ กาญจนประโชติ, ทัดพงษ์ อวิโรธนานนท์, อุกฤษณ์ มารังค์, สมนึก สินธุปวน, อลงกต กองมณี และ นนท์ ปิ่นเงิน. (2561). องค์ความรู้ระบบ MJU Smart Farm and Solutions. พิมพ์ครั้งที่ 1. โรงพิมพ์ หจก.วนิดาการพิมพ์:เชียงใหม่.

ชัชชัย คุณบัว. (2562). IoT: สถาปัตยกรรมและการสื่อสาร Internet of Things. โรงพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น: กรุงเทพฯ.

ณัฏฐกิตติ์ ปัทมะ. (2563). การพัฒนาระบบเกษตรอัจฉริยะของประเทศไทย. กลุ่มงานวิจัยและข้อมูลสำนักวิชาการ. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา: กรุงเทพฯ

ถิรพิรุฬห์ ทองคำวิฑูรย์. (2559). เทคโนโลยี Internet of Things และข้อเสนอแนะในการบริหารคลื่นความถี่ในประเทศไทย. วารสารกสทช: 167-194.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 17. โรงพิมพ์บิสซิเนสอาร์ แอนด์ดี: กรุงเทพฯ.

ปวันนพัสตร์ ศรีทรงเมือง, ชาญณรงค์ ศรีทรงเมือง, สุมนา บุษบก, ชุติกานต์ หอมทรัพย และศุภกาญจน์ คงสมแสวง. (2563). การพัฒนารูปแบบระบบควบคุมฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือนปลูกพืชโดยใช้คอมพิวเตอร์แบบฝัง. ค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2565. https://shorturl.asia/uPnrt.

มนตรี สังข์ทอง. (2557). หลักสถิติ. โรงพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น: กรุงเทพฯ.

วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2558). อินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง (Internet of Things) กับการศึกษา Internet of Things on Education. ค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2565. https://shorturl.asia/P1kNu.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2558). การนำเทคโนโลยีสู่ห้องเรียนและโรงเรียนในศตวรรษที่ 21. ค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2565. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/43757.

สาขาออกแบบและเทคโนโลยี. (2554). กระบวนการเทคโนโลยี. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. จังหวัดกรุงเทพมหานคร. 3-5.

สุมาลี จันทร์ชลอ. (2542). การวัดและประเมินผล. โรงพิมพ์ หจก.สุเมตรฟิล์ม:กรุงเทพฯ.

สุปรียา มะโนมั่น และไพสิฐ มูลเพิ่ม. (2553). เครื่องรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ. ค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2565. http://sutir.sut.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/7303.

เผยแพร่แล้ว

29-04-2023 — Updated on 19-02-2024

Versions