This is an outdated version published on 30-08-2023. Read the most recent version.

การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ขี้ซีชันไม้จิกกับฟิล์มพลาสติกหลายชั้นสำหรับเป็นวัสดุของซองควบคุม การปล่อยไอระเหยเอทานอลในบรรจุภัณฑ์แอคทีฟ

ผู้แต่ง

  • หทัยพร กัมพวงค์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
  • ฤทธิรงค์ พฤฑฒิกุล ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) จังหวัดปทุมธานี
  • วีรเวทย์ อุทโธ ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จังหวัดกรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

ซองควบคุมการปล่อยไอระเหยเอทานอล, ขี้ซีชันไม้จิก, บรรจุภัณฑ์แอคทีฟ, ฟิล์มพลาสติกหลายชั้น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้ขี้ซีชันไม้จิก (วัสดุ KC) กับฟิล์มพลาสติกหลายชั้นสำหรับเป็นวัสดุของซองควบคุมการปล่อยไอระเหยเอทานอลในบรรจุภัณฑ์แอคทีฟ การวิจัยนี้พัฒนาฟิล์มพลาสติกหลายชั้นต้นแบบ
โดยการทาสารละลายขี้ซีชันไม้จิกลงบนผิวหน้าของฟิล์ม Ethylene vinyl acetate (EVA) จากนั้นเชื่อมประกบฟิล์มพลาสติก Low density polyethylene (LDPE) ทั้งสองด้านโดยเทคนิคการปิดผนึกด้วยความร้อน ต้นแบบฟิล์มแอคทีฟ KC (LDPE/KC/EVA/LDPE) ได้นำไปพัฒนาเป็นซองควบคุมฯ (KC sachet) ซึ่งมีผนังเป็นฟิล์มอะลูมิเนียมลามิเนตและฟิล์มแอคทีฟ KC โดยมีกระดาษกรองที่เอิบชุ่มด้วยเอทานอลเหลวอยู่ภายในซองควบคุมฯ การวิจัยได้ศึกษาการปลดปล่อยไอระเหย
เอทานอลจากซองควบคุมฯ (KC sachet) ในบรรจุภัณฑ์อะลูมิเนียมลามิเนตปริมาตร 250 ml ความเข้มข้นไอระเหยเอทานอลในบรรจุภัณฑ์ได้รับการวิเคราะห์ด้วยเครื่อง Flame-ionized detector gas chromatogram (FID-GC) ในระหว่างการเก็บรักษา 17 วัน ที่อุณหภูมิ 25°C และเปรียบเทียบกับความเข้มข้นของไอระเหยเอทานอลซึ่งปลดปล่อยจากซองควบคุมฯ ทำจากฟิล์ม LDPE (LDPE sachet) และฟิล์มหลายชั้นที่ไม่มีวัสดุ KC (2LDEVA sachet) ผลการทดลองแสดงให้ทราบว่าความเข้มข้นของไอระเหยเอทานอลในทุกสิ่งทดลองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องในช่วง 7 วันแรก จากนั้นการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นเกิดขึ้นช้าลงและมีแนวโน้มคงที่ ความเข้มข้นไอระเหยเอทานอลสูงสุดพบในสิ่งทดลอง KC sachet ในขณะที่ค่าต่ำสุดพบในสิ่งทดลอง 2LDEVA sachet แบบจำลองคณิตศาสตร์ประเภท First-order kinetic reaction สามารถทำนายการระดับและการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของไอระเหยเอทานอลได้ดี (R2 เท่ากับ 0.99) อัตราเร็วที่สูงของการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นฯ ในสิ่งทดลอง KC sachet ได้ตั้งสมมติฐานว่าอาจเกิดจากปรากฏการณ์พลาสติไซเซชันในโครงสร้างของฟิล์มพลาสติกโดยมีสาเหตุจากทั้งโมเลกุลเอทานอลและสารประกอบอินทรีย์ของขี้ซีชันไม้จิกที่เกิดการซึมผ่านภายในชั้นฟิล์มอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้
ไอระเหยของขี้ซีชันไม้จิกได้ถูกปลดปล่อยออกมาร่วมกับไอระเหยเอทานอลโดยประเภทของไอระเหยดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิสูจน์ทราบเพื่อการพัฒนาซองควบคุมฯ KC ต่อไป

เผยแพร่แล้ว

30-08-2023

Versions