การศึกษาความหลากหลายของพรรณไม้ นิเวศวิทยา เรณูวิทยา และฤทธิ์ในการต้านแบคทีเรียของต้นหยาดน้ำค้าง (Drosera burmanni Vahl) ในอำเภอเมืองและอำเภอกาญจนดิษฐ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • ปริญญา สุกแก้วมณี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • อารยา ปรานประวิตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

หยาดน้ำค้าง , นิเวศวิทยา, เรณูวิทยา , ฤทธิ์ในการต้านแบคทีเรีย

บทคัดย่อ

     งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายของพรรณไม้ นิเวศวิทยา เรณูวิทยาและฤทธิ์ในการต้านแบคทีเรียของต้นหยาดน้ำค้าง (Drosera burmanni Vahl) ในป่าดั้งเดิม และป่าที่ถูกคุกคามในอำเภอเมืองและอำเภอกาญจนดิษฐ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นพืชที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ (Least concern) ในฐานข้อมูล IUCN  โดยใช้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (LM) และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่งกราด (SEM) ผลการศึกษาพรรณไม้ต้นที่มีค่าดัชนีความสำคัญสูงสุด (IVI) คือ กระถิน (Leucaena leucocepphala (Lam.) de Wit) เสม็ดขาว (Melaleuca quinquenervia (Cav.) J.T. Blake) ปาล์มน้ำมัน Elaeis guineensis Jacq. จากการศึกษาค่าดัชนีความหลากหลายชนิดของชนิดพรรณไม้ (H) ไม้ต้น มีค่า 2.43 ในอำเภอเมือง และ 3.43 อำเภอกาญจนดิษฐ์ และค่าดัชนีความสม่ำเสมอของชนิดพรรณ (E) ไม้ต้น มีค่า 0.38 ในอำเภอเมือง และ 0.56 ในพื้นที่ป่าดั้งเดิมอำเภอกาญจนดิษฐ์ และจากการศึกษาเรณูวิทยา พบว่า ละอองเรณูต้นหยาดน้ำค้าง มีลักษณะเรณูเป็นเม็ดสี่เม็ดเรียงติดกัน ชนิดของช่องเปิดเป็นแบบกลมผสมรี จำนวน 3 ช่องเปิด (3-Colpate) มีลวดลายผนังชั้นนอกเป็นแบบ มีลักษณะผิวมีหนามแบบแหลม (Acuminate) มีลวดลายแบบตาข่าย (Reticulate) มีความหนา 1-2 ไมครอน ขนาดเรณูเฉลี่ย 35-50 ไมครอน นอกจากนั้นมีการศึกษาสารสกัดหยาบต้นหยาดน้ำค้างในเอทานอล ที่พบในจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีฤทธิ์ในการยั้งยั้งแบคทีเรีย Staphylococcus aureus โดยมีค่าเฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์กลางในการยับยั้งเชื้อเท่ากับ 10.33 ± 1.15 มิลลิเมตร ผลจากการศึกษานี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ของพืชพื้นถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานี

References

ดอกรัก มารอด. (2554). เทคนิคการสุ่มตัวอย่างและการวิเคราะห์สังคมพืช. คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นิวัติ คชานันท์. (2548). ความหลากชนิดของพรรณไม้และการใช้ประโยชน์ของชุมชนท้องถิ่น: กรณีศึกษาป่าชุมชนเขาสน อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร.

ราชันย์ ภู่มา และสมราน สดุดี. 2557. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันท์ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557). สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้พันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช. กรุงเทพมหานคร.

ประนอม จันทรโณทัย และพันธ์ทิวา กระจาย. (2555). เรณูของพืชดอก. ศูนย์วิจัยอนุกรมวิธานประยุกต์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา. ขอนแก่น.

วรดลต์ แจ่มจำรูญ. (2562). คู่มือจำแนกพรรณไม้ พิมพ์ครั้งที่ 3. บริษัทโอเมก้า พริ้นติ้ง จำกัด. กรุงเทพหมานคร.

สมศักดิ์ สุขวงศ์. (2550). การจัดการป่าชุมชน: เพื่อคนและเพื่อป่า. บริษัทวิวัฒน์การพิมพ์. กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานจัดการที่ดิน กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2565). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อมูลสภาพพื้นที่ป่าไม้ปี พ.ศ. 2565. สำนักงานจัดการที่ดิน กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานคร.

Adamczak A., Ożarowski, M. and Karpiński T.M. (2019). Antibacterial activity of some flavonoids and organic acids widely distributed in plants. Journal of clinical medicine. 9(1): 109.

Brewer J.S. (1998). Effect of competition and litter on a carnivorous plant, Drosera capillaries (Droseraceae). American Journal of Botany. 85(11): 1592-1596.

Chamchumroom V., Suphuntee N., Tetsana N., Poopath M. and Tanikkool S. (2017). Threatened plant in Thailand. Omega Printing Co., Ltd., Bangkok.

Erdtman G. (1972). Pollen morphology and plant taxonomy. Angiosperms (An introduction to Palynology), Hafner Publishing Company, New York.

Fleischmann A.S., Rakotoarivelo N.H., Roccia A., Gonella P.M., Andriamiarisoa R.L., Razanatsima A. and Rakotoarivony F. (2020). A news and endemic species of Drosera (Droseraceae) from Madagascar. Plant Ecology and Evolution. 153(2): 283-291.

Goswami R., Sinha T., and Ghosh K. (2019). Drosera sp: a critical review on phytochemical and ethnomedicinal aspect. International Journal of Pharmacy and Biological Sciences. 9(1): 596-601.

Kantachot C. (2016). Comparative anatomy and ecology of the threatened plant genus Drosera sp.(Droseraceae) in Ubon Ratchatthani University.

Kuprianaova L.A. (1973). Pollen morphology within the gems Drosera. Grana. 13: 103-107.

Larsen K. (1987). Droseraceae. In Smitinand, T and K, Larsen, Flora of Thailand. 5(1): 67-69.

Silaket P. and Pakdeedashakiat V. 2017. Application of antimicrobial compounds from lactic acid bacteria for inhibiting food borne pathogens. Journal of Science and Technology, Ubon Ratchathani University.19(Special issue): 51-61.

Somnath B. and Datta B.K. (2013). Pollen morphology of some carnivorous plants from Tripura, India. International Journal of Fundamental & Applied Sciences. 2(2): 36-38.

Sukkaewmanee P. (2019). Pollen morphology of native banana cultivar (Musa acuminata Colla) in SuratThani Province. International Journal of Pharma Medicine and Biological Science. 8(2). 40-52.

เผยแพร่แล้ว

26-04-2024