การพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อตรวจหาเชื้อ ไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (M. tuberculosis) จากเสมหะด้วยวิธีการตรวจ Acid-Fast Bacillus (AFB)

ผู้แต่ง

  • ปัณณธร ขุนโหร โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยชลบุรี จังหวัดชลบุรี
  • ปีระกา พวงทอง โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยชลบุรี จังหวัดชลบุรี
  • วิเชียร ดอนแรม โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยชลบุรี จังหวัดชลบุรี
  • แธนธรรพ์ แสงภู่ โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ระยอง จังหวัดระยอง

คำสำคัญ:

ปัญญาประดิษฐ์, ไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส, Acid-Fast Bacillus, โมเดลโครงข่ายประสาทเทียม, ชุดข้อมูล

บทคัดย่อ

วัณโรคปอดเป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium tuberculosis) ซึ่งในประเทศไทยนิยมตรวจวัณโรคด้วยวิธีการตรวจเสมหะ Acid-Fast Bacillus (AFB) เนื่องด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ำ ทว่าในการตรวจหาเชื้อวัณโรคสำหรับแพทย์นั้นมีระยะเวลาที่นาน การวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ในการตรวจหาเชื้อวัณโรคเพื่อสนับสนุนแพทย์ โดยในขั้นตอนการพัฒนา ผู้วิจัยได้เริ่มจากการรวบรวมภาพเสมหะจาก Kaggle และ ZNSM-iDB รวมทั้งสิ้น 1,952 ภาพ นำภาพเหล่านั้นไปทำความสะอาดและปรับแต่งภาพ โดยการกลับภาพ หมุนภาพ ปรับความความสว่าง ความคมชัด และค่าสีของภาพเพื่อเพิ่มชุดจำนวนข้อมูลภาพ และฉลากเชื้อวัณโรคภายในทุกภาพเพื่อนำไปเทรนโมเดลทั้งหมด 8 โมเดล ประกอบด้วย Yolov5n, Yolov5s, Yolo5m, Yolo5l, Yolo5n6, Yolo5s6, Yolo5m6 และ Yolo5l6 จากนั้นจึงนำแต่ละโมเดลที่เทรนไปประเมินและเปรียบเทียบประสิทธิภาพเพื่อหาโมเดลที่ดีที่สุดสำหรับการตรวจหาเชื้อวัณโรค ซึ่งจากผลการพัฒนาพบว่า ในการตรวจภาพเบื้องต้นซึ่งคัดกรองภาพเสมหะว่ามีเชื้อวัณโรคหรือไม่ โมเดล Yolov5s มีประสิทธิภาพมากที่สุดซึ่งให้ค่าความไว ความจำเพาะ F1-score และระยะเวลาเฉลี่ยในการตรวจจับเชื้อต่อ 1 ภาพ คือ 0.9802, 0.9647, 0.9727 และ 11.1 มิลลิวินาที ตามลำดับ และในขั้นตอนการตรวจจับวัตถุซึ่งระบุตำแหน่งของเชื้อวัณโรคทั้งหมดภายในภาพ โมเดล Yolov5n6 มีความแม่นยำที่สุดซึ่งมีค่า Precision, Recall และ [email protected] อยู่ที่ 0.673, 0.761 และ 0.727 ตามลำดับ โดยสรุปแล้วระบบปัญญาประดิษฐ์นี้สามารถตรวจหาเชื้อวัณโรคได้อย่างอัตโนมัติด้วยความแม่นยำที่สูง และใช้เวลาที่รวดเร็วในการตรวจ

References

กรมควบคุมโรค. (2561). การคัดกรองเพื่อค้นหาวัณโรคและวัณโรคดื้อยา (Systematic screening for active TB and drug-resistant TB). พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์: กรุงเทพฯ.

Iglovikov V. (2023). Albumentations. Accessed 20 Aug 2022. https://albumentations.ai/

Jocher G. (2020). YOLOv5. Accessed 20 Aug 2022. https://github.com/ultralytics/yolov5

Panicker R.O., Kalmady K.S., Rajan J. and Sabu M.K. (2018). Automatic detection of tuberculosis bacilli from microscopic sputum smear images using deep learning methods. Biocybernetics and Biomedical Engineering. 38(3): 691–699.

Priya E. and Rajinikanth V. (2021). Signal and image processing techniques for the development of intelligent healthcare systems. 1st Edition. Springer: Singapore.

Python. (2022). Download the latest version for Windows. Accessed 20 Aug 2022. https://www.python.org/downloads/

Roboflow. (2022). Overview - Roboflow. Accessed 20 Aug 2022. https://docs.roboflow.com/

Uddin S. (n.d.). Tuberculosis Image Dataset. Accessed 8 Sep 2022. https://www.kaggle.com/datasets/saife245/tuberculosis-image-datasets

Serrão M.K.M., Costa M.G.F., Fujimoto B.L., Ogusku M.M. and Filho C.F.F.C. (2020). Automatic Bacillus detection in light field microscopy images using convolutional neural networks and mosaic imaging Approach. In the 42nd Annual International Conference of the IEEE Engineering in Medicine & Biology Society (EMBC). The Institute of Electrical and Electronics Engineers: Montreal, QC, Canada. 1903-1906.

Shah M.I., Mishra S., Yadav V.K., Chauhan A., Sarkar M., Sharma S.K. and Rout C. (n.d.). Tuberculosis Image. Accessed 28 Dec 2022. http://14.139.240.55/znsm/

World Health Organization. (2021). Global tuberculosis report 2021. Accessed 20 Aug 2022 https://www.who.int/publications/i/item/9789240037021

เผยแพร่แล้ว

26-04-2024