การจำลองสถานการณ์จัดเส้นทางการขนส่งและกระจายผักอินทรีย์ในชุมชน ตำบลกันตวจระมวล อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ศุภวิช นิยมพันธุ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • ธาริณี มีเจริญ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • ศิวพร แน่นหนา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • นิศานาถ แก้ววินัด คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • พงศ์ไกร วรรณตรง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • ชลิตา แก้วบุตรดี คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

การจัดเส้นทางการขนส่ง, วิธีเพื่อนบ้านที่ใกล้เคียงที่สุด , ปัญหาการเดินทางของพนักงานขาย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างตัวแบบสำหรับจัดเส้นทางการขนส่งและกระจายผักอินทรีย์ในชุมชน ตำบลกันตวจระมวล จังหวัดสุรินทร์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการขนส่งและกระจายผักอินทรีย์ในชุมชนที่มีระยะทางโดยรวมสั้นที่สุด โดยคณะผู้วิจัยประยุกต์ใช้วิธีการแก้ปัญหาการจัดเส้นทางการขนส่ง 2 วิธี ได้แก่ วิธีเพื่อนบ้านที่ใกล้เคียงที่สุด (Nearest Neighbor Heuristics: NNH) และวิธีการแก้ปัญหาการเดินทางของพนักงานขาย (Travelling Salesman Problem: TSP) ผลลัพธ์พบว่า การจัดเส้นทางการขนส่งและกระจายผักอินทรีย์ในชุมชนด้วยวิธีเพื่อนบ้านที่ใกล้เคียงที่สุด (Nearest Neighbor Heuristics: NNH) สามารถจัดเส้นทางการขนส่งได้ 10 เส้นทาง คิดเป็นระยะทางรวมทั้งสิ้น 9.88 กิโลเมตรต่อสัปดาห์ ซึ่งแต่ละรอบการขนส่งจะมีปริมาณผักอินทรีย์ไม่เกิน 40 กิโลกรัม ตามเงื่อนไขการบรรทุกของยานพาหนะ และมีปริมาณการขนส่งทั้งสิ้น 355 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ และจากการปรับปรุงคำตอบด้วยวิธีการแก้ปัญหาการเดินทางของพนักงานขาย(Travelling Salesman Problem: TSP) ผลลัพธ์พบว่า มีระยะทางการขนส่งและกระจายผักอินทรีย์ในชุมชนโดยรวมที่สั้นที่สุด 9.55 กิโลเมตร ลดลง 0.33 กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 3.34 ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางการจัดเส้นทางการขนส่งและกระจายผักอินทรีย์ในชุมชน จากงานวิจัยนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลเชิงนโยบายสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการบริโภคผักอินทรีย์ในชุมชนได้

References

กวีร์วรรธณ์ วิพัฒน์กิจไพศาล. (2558). การเพิ่มประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ กรณีศึกษา บริษัท XSquare จํากัด. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กลุ่มวิชาการจัดการโลจิสติกส์ กลุ่มวิชาการจัดการโลจิสติกส์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

กิติยวดี สีดา, ใจสะคราญ จารึกสมาน และสัญห์สรรป์ศร ยมสีดา. (2563). แนวทางการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์เพื่อสร้าง

สุขภาวะชุมชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลนางั่ว อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร. 22(1): 55-61.

เกศินี สือนิ. (2563). การจัดเส้นทางการขนส่งสินค้าโดยการเปรียบเทียบระหว่างการใช้วิธีเซฟวิ่งอัลกอริทึมและวิธีการเพื่อน

บ้านใกล้ที่สุด อัลกอริทึม. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 12(2): 1-14.

ณกร อินทร์พยุง. (2548). การแก้ปัญหาการตัดสินใจในอุตสาหกรรมการขนส่งและลอจิสติกส์. สำนักพิมพ์ซีเอ็ด : กรุงเทพฯ.

นคร ไชยวงศ์ศักดา, ประเวช อนันเอื้อ, นิเวศ จีนะบุญเรือง, เสกสรร วินยางค์กูล, ขวัญเรือน สินณรงค์, ธนากร จักรแก้ว, วุฒิชัย ใจบาล และณัฐวุฒิ ศรีสว่าง. (2558). การจัดเส้นทางการขนส่งโดยใช้เซฟวิ่งอัลกอริทึมและตัวแบบปัญหาการเดินทางของพนักงานขาย กรณีศึกษาโรงงานน้ำดื่ม. วารสารไทยการวิจัยดำเนินงาน 3(1): 51-61.

มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน. (2559). เกษตรอินทรีย์. ค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2566. http://www.sathai.org/autopagev4.

ลออรัตน์ จิตต์พงษ์, เบญญาภา กาลเขว้า และประทีป กาลเขว้า. (2562). พฤติกรรมการบริโภคผักให้อินทรีย์จาก

สารพิษของประชาชนบ้านแสนสำราญ ตำบลสามขา อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. 1(1): 53-60.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2561). ค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2566. https://www.thaihealth.or.th/.

ศิรดา หัสนันท์, สุริยันต์ จอมธนชัย, ธัญดา แสงวิไล และวชิราภรณ์ จันทร์โพธนุกุล. (2563). การจัดเส้นทางการเดินรถ: กรณีศึกษาบริษัทแปรรูปอาหารทะเล. ใน การประชุมวิชาการระดับนานาชาติและระดับชาติด้านบริหารธุรกิจและการบัญชี. 20-21 กุมภาพันธ์ 2563. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 139-143.

Calvo R.W. (2005). A new heuristic for traveling salesman problem with time windows. Transportation Science. (1): 113-124.

Cormen T.H. (2013). Algorithms unlocked. MIT Press: MA.

Goodrich M.T. and Tamassia R. (2014). Algorithm design and applications. 1st Edition. Wiley Publishing: Hoboken.

Lin Y., Li W., Qiu F. and Xu H. (2012). Research on optimization of vehicle routing problem for ride-sharing taxi. Procedia - Social and Behavioral Sciences. 43: 494–502.

Liu R., Xie X., Augusto V. and Rodriguez C. (2013). Heuristic algorithms for a vehicle routing problem with simultaneous delivery and pickup and time windows in home health care. European Journal of Operational Research. 230(3): 475-486.

Zanakis S.H. and Evans J.R. (1981). Heuristic optimization: why, when, and how to use it. Interfaces. 11(5): 84–91.

เผยแพร่แล้ว

26-04-2024