รูปแบบระบบหมุนเวียนน้ำต่อการเพาะพันธุ์ปลาในบ่อดินด้วยไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์

ผู้แต่ง

  • ศตพร โนนคู่เขตโขง คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม จังหวัดนครพนม
  • วิจิตรตา อรรถสาร คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม จังหวัดนครพนม
  • อดิเทพชัยย์การณ์ ภาชนะวรรณ คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม จังหวัดนครพนม
  • วัลจิราพร รอดชุม คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม จังหวัดนครพนม

คำสำคัญ:

พลังงานแสงอาทิตย์, ระบบหมุนเวียนน้ำ, การเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ

บทคัดย่อ

การใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำถือเป็นการลดข้อจำกัดด้านพลังงานและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงโดยตรงซึ่งต้องการคุณภาพน้ำที่ดีสำหรับพัฒนาการของปลาวัยอ่อน ผู้วิจัยจึงใช้ระบบหมุนเวียนน้ำจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่แตกต่างกันมาใช้เพาะพันธุ์สัตว์น้ำโดยมีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการใช้งาน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ระบบหมุนเวียนน้ำแบบเหนือน้ำและใต้น้ำ แล้วใช้ระบบดังกล่าวในการเพาะพันธุ์ปลาตะเพียนขาวขนาด 172.6±113.7 กรัม ทำการทดลองทั้งหมด 3 ซ้ำ เก็บข้อมูลปริมาณไข่ทั้งหมด จำนวนไข่ดี อัตราการปฏิสนธิ จำนวนลูกปลาและอัตราการฟักเป็นตัว ผลการศึกษาระบบหมุนเวียนน้ำทั้งสองแบบพบว่า จำนวนไข่ทั้งหมด จำนวนไข่ดี และอัตราการปฏิสนธิไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) จำนวนลูกปลาพบว่ามีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ส่วนด้านอัตราการฟักมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (p<0.01) นอกจากนี้ยังพบว่าคุณภาพน้ำทุกค่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) แม้ว่าข้อมูลของการศึกษานี้จะสรุปได้ว่าระบบหมุนเวียนน้ำแบบเหนือน้ำให้ผลที่ดีกว่าแบบใต้น้ำ แต่ข้อมูลค่าจำนวนไข่ดี อัตราการปฏิสนธิ จำนวนลูกปลาและอัตราการฟักเป็นตัวอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำเมื่อเทียบกับการศึกษาอื่นซึ่งอาจเกิดจากอัตราการไหลของน้ำที่มากเกินไปจนไข่ปลาเกิดความเสียหาย การปรับลดความแรงของน้ำหรือเพิ่มช่องทางออกของท่อน้ำจึงอาจช่วยทำให้ผลการศึกษามีความชัดเจนมากขึ้น

References

กรมประมง. (2562). คู่มือการวิเคราะห์น้ำ เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการตรวจมาตรฐานฟาร์ม. กองพัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานสินค้าประมงและหลักฐานเพื่อการสืบค้น. กรมประมง: กรุงเทพฯ.

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2562). การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ การถ่ายทอดและการเผยแพร่การใช้พลังงานแสงอาทิตย์. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน: กรุงเทพฯ.

ชุมพล ศรีทอง, ทินวุฒิ ล่องพริก และยนต์ มุสิก. (2559). ผลของการใช้ระบบหมุนเวียนน้ำในการอนุบาลปลานิลแดง (Oreochromis niloticus X O. mossambicus). ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 54 2-5 กุมภาพันธ์ 2559 กรุงเทพฯ. 958-967.

ฐาปนพันธ์ สุรจิต และเรืองวิชญ์ ยุ้นพันธ์. (2552). การศึกษาเปรียบเทียบระบบการเพาะพันธุ์ปลานิล (Oreochromis niloticus, Linn) ในบ่อดิน บ่อซีเมนต์ และกระชังแขวนลอยในบ่อดิน เพื่อผลิตลูกปลานิลเชิงพาณิชย์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นิพนธ์ ตังคณานุรักษ์ และคณิตา ตังคณานุรักษ์. (2550). หลักการการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำทางเคมี. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

บัณฑิตา ภู่ทรัพย์มีโปณะทอง, เอกวิทย์ แก้วกอง, พงษ์พันธ์ ราชภักดี และฉัตรพล พิมพา. (2566). การพัฒนาระบบการเลี้ยงปลาดุกแบบหมุนเวียนน้ำโดยพลังงานแสงอาทิตย์ กรณีศึกษา ชุมชนบ้านนาไม้ไผ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 13(1): 97-110.

ปกรณ์ อุ่นประเสริฐ. (2532). การเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืด. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: กรุงเทพฯ.

มนตรี พิรุณเกษตร. (2552). กลศาสตร์ของไหล. ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: กรุงเทพฯ.

มานพ ตั้งตรงไพโรจน์, สมศักดิ์ ล้วนปรีดา, สุจินต์ หนูขวัญ และวิสุทธิ์ ศรีชุมพวง. (2531). การอนุบาลปลาตะเพียนขาวใน

บ่อดิน. สถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติ: กรุงเทพฯ.

วรัณยู ขุนเจริญ, อนุวัติ อุปนันไชย และจิระภา โพธิศรี. (2551). ประสิทธิภาพการฟักไข่ปลากดแก้วโดยใช้วิธีฟักไข่ที่แตกต่างกัน. เอกสารวิชาการฉบับที่ 7/2551. สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด. กรมประมง: กรุงเทพฯ.

วริทธิ์ อึ๊งภากรณ์. (2556). การออกแบบระบบท่อภายในอาคาร. พิมพ์ครั้งที่ 6. วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์: กรุงเทพฯ.

วิมล จันทรโรทัย, ประเสริฐ สีตะสิทธิ์, ศิริมล ซุ่มสูงเนิน และสมฤกษ์ ชินมุข. (2535). อาหารที่ระดับโปรตีนต่างกันแต่พลังงานคงที่ต่อการเจริญเติบโตและไขมันสะสมในปลาสวาย. เอกสารวิชาการฉบับที่ 124. สถาบันวิจัยประมงน้ำจืด กรมประมง: กรุงเทพฯ.

วิรัช จิ๋วแหยม. (2540). คุณภาพน้ำสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและวิธีวิเคราะห์. ภาควิชาประมง คณะเกษตรศาสตร์. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น: ขอนแก่น.

ศิริภรณ์ โคตะมี, อุไรวรรณ เปียสูงเนิน และชิตพล คงศิลา. (2566). ผลของจำนวนหัวฉีดท่อปล่อยน้ำระบบหมุนเวียนและรูปทรงถาดฟักไข่ต่ออัตราการรอดตายของลูกปลานิลในระยะฟักเป็นตัว. วารสารแก่นเกษตร. 51(3): 499-511.

ศิศีโรตม์ เกตุแก้ว, พรชัย วงศ์วาสนา และมณี อัชวรานนท์. (2563). การประยุกต์ใช้แสงอาทิตย์สำหรับการจ่ายไฟฟ้าในฟาร์มกวาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารวิจัยรามคำแหง. 23(1): 72-82.

สุบัณฑิต นิ่มรัตน์, และวีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย. (2552). การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน : บทบาทของจุลินทรีย์และการประยุกต์ใช้. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: กรุงเทพฯ.

สุทธินี ลิ้มธรรมมหิศร, พุทธ ส่องแสงจินดา, ชัยวุฒิ สุดทองคง และคมสัน ทองแถม. (2564). โครงการลดต้นทุนการผลิตกุ้งทะเลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในอุตสาหกรรมกุ้งทะเลอย่างยั่งยืน ปี 2564. เอกสารประกอบโครงการวิจัย. กรมประมง.

สุรศักดิ์ แสนทวีสุข, นิกร สุขปรุง และวิชุดา ภาโสม. (2558). การใช้เซลล์แสงอาทิตย์กับเครื่องเติมอากาศแบบ ศทม. สำหรับบ่อเลี้ยงปลา. เอกสารประกอบโครงการวิจัย. ศูนย์เทคโนโลยีที่เหมาะสม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2545). ถาม-ตอบ เกี่ยวกับเซลล์แสงอาทิตย์.โครงการศูนย์เทคโนโลยีพลังงาน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ: กรุงเทพฯ.

Basak S.K., Basak B., Gupta N. and Rahman S.M.M. (2014). Embryonic and larval development of Silver Barb (Barbodes gonionotus) in a mobile hatchery under laboratory condition. Journal of Agriculture and Veterinary Science. 7(4): 81-90.

Culberson S.D. and Piedrahita R.H. (1996). Aquaculture pond ecosystem model: temperature and dissolved oxygen prediction-mechanism and application. Ecological modeling. 89(1): 231-258.

Parker N.C. and Suttle M.A. (1987). Design of airlift pumps for water circulation and aeration in aquaculture. Aquacultural Engineering. 6(2): 97-110.

Rusda Y., Prayitno S.B. and Hastuti S. (2023). Effect of soaking Java Barb (Baryoniums gonionotus) eggs in jatropha leaf solution (Jatropha curcas L.) on their hatching and survival rate. Omni Akuatika. 19(2): 115-125.

เผยแพร่แล้ว

31-08-2024