การประเมินผลผลิตและคุณภาพมะเขือเทศสายพันธุ์ที่รายงานความต้านทานโรค ในสภาพโรงเรือน

ผู้แต่ง

  • ชัชวาล แสงฤทธิ์ คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม จังหวัดนครพนม
  • ศุลีพร พิมพ์กลาง คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม จังหวัดนครพนม
  • ธัญญารัตน์ ตาอินต๊ะ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การคัดเลือก, ต้านทานโรค, ไลโคพีน, โรงเรือน, เมล็ดพันธุ์

บทคัดย่อ

โรคพืชเป็นปัญหาหลักในการผลิตมะเขือเทศ (Solanum lycopersicum) ที่ส่งผลให้ผลผลิตและคุณภาพลดลง โดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนและร้อนชื้นรวมทั้งประเทศไทย การใช้พันธุ์มะเขือเทศต้านทานต่อโรคจะช่วยเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน ด้านการผลิตให้แก่เกษตรกรได้ การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเมินผลผลิตและคุณภาพสายพันธุ์มะเขือเทศที่มียีนความต้านทานโรคในสภาพโรงเรือนตาข่ายมุงด้วยพลาสติก (Plastic-net house) จำนวนทั้งหมด 23 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ทดสอบ 19 สายพันธุ์ และพันธุ์ต้านทานเปรียบเทียบ 4 พันธุ์ คือ HAWAII 7996, R3034-3-10-N-UG, Ty52 และ CXD227 โดยทำการทดสอบในฤดูหนาวระหว่าง เดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึง มีนาคม พ.ศ. 2565 ที่แปลงทดลอง สาขาพืชศาสตร์ คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม วางแผนการการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อค (Randomized Complete Block Design; RCBD) จำนวน 3 ซ้ำ ๆ ละ 5 ต้น ทำการทดสอบมะเขือเทศ จำนวน 23 พันธุ์/สายพันธุ์ จากการศึกษา พบว่า มะเขือเทศพันธุ์ที่ทดสอบให้ผลผลิตต่อต้นสูง จำนวน 2 สายพันธุ์ คือ CLN2777-168-27-2-7-8-8 และ KKU-T47-1 (ผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 2,253.7 และ 2,1576 กรัมต่อต้น ตามลำดับ) และสำหรับสายพันธุ์ที่มีจำนวนผลต่อต้นสูง คือ TML46-N-12-N-early-NT, CLN2768-69-23-30-30-27-9 และ KKU-T47-10 มีจำนวนผลเฉลี่ย 67.4, 53.5, 50.7 ผลต่อต้น ตามลำดับ สำหรับปริมาณของแข็งที่ละลายได้ TSS (องศาบริกซ์) พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างสายพันธุ์ทดสอบเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4-6 องศาบริกซ์ และสายพันธุ์ที่มีจำนวนเมล็ดต่อผลค่อนข้างสูงสุด (มากกว่า 100 เมล็ด)
คือ สายพันธุ์ KKU-T47-10, CLN2777-168-27-2-7-8-8, CLN3087F1-12-34-29-7-8-5-0, KKU-T47-1, KKU-T47-5 และ TML46-N-12-N-early-NT (116.3, 113.8, 111.8, 106.1, 102.4 และ 101.1 เมล็ดต่อผล ตามลำดับ) ดังนั้นสามารถนำมะเขือเทศสายพันธุ์ดังกล่าวมาเผยแพร่สำหรับเป็นพันธุ์การค้า หรือเชื้อพันธุกรรมสำหรับการพัฒนาพันธุ์ที่ดีต่อไป

References

กรมส่งเสรมการเกษตร. (2562). มะเขือเทศ. ค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2566. http://www.agriman.doae.go.th/home/news/2562/47-48.pdf.

กวิน กุมปรุ, สุชีลา เตชะวงค์เสถียร และชานนท์ ลาภจิตร. (2561). การประเมินสายพันธุ์มะเขือเทศที่มีประสิทธิภาพการให้ผลผลิตและความต้านทานต่อ โรคไวรัสใบหงิกเหลืองมะเขือเทศในสภาพแปลงปลูกที่จังหวัดขอนแก่น. วารสารแก่นเกษตร. 10(พิเศษ)(1): 10-17.

ชัชวาล แสงฤทธิ์. (2558). ความสามารถในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของความต้านทานโรคเหี่ยวเขียว. ดุษฎีนิพนธ์ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชัชวาล แสงฤทธิ์, ญาณิศา แสงสอดแก้ว, Tsai W.S. และสุชีลา เตชะวงค์เสถียร. (2559). การประเมินพันธุ์มะเขือเทศต้านทานต่อโรคไวรัสใบหงิกเหลือง. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์. 3(พิเศษ)(3): 66-72.

บุญส่ง เอกพงษ์ และกรุง สีตะธนี. (2557). การประเมินพันธุ์มะเขือเทศต้านทานโรคใบหงิกเหลืองมะเขือเทศในสภาพแปลงปลูกในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารแก่นเกษตร. 42(พิเศษ)(3): 718-724.

ปราโมทย์ พรสุริยา, ประพฤติ พรหมสมบูรณ์ และหนูจันทร์ ศิริสุวรรณ. (2563). การประเมินสายพันธุ์ข้าวโพดเทียนที่คัดเลือกจากพันธุ์พื้นเมือง. วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี. 3(1): 22-32.

พัชราภรณ์ สุวอ, มณทินี ธีธารักษ์, ธวัชชัย มยศิริยานันท์, นครินทร์ จี้อาทิตย์ และสุชีลา เตชะวงศ์เสถียร. (2561).

การประเมินพันธุ์มะเขือเทศรับประทานสดผลเล็กต้านทานโรคไวรัสใบหงิกเหลืองสายพันธุ์ไทย (TYLCTHV) และตรวจสอบยีนต้านทาน Ty-2 และ Ty-3 ด้วยเครื่องหมายโมเลกุล. วารสารแก่นเกษตร. 46(5): 965-974.

สุชีลา เตชะวงค์เสถียร. (2562.) การจัดการเชื้อพันธุ์กรรม และการพัฒนาพันธุ์มะเขือเทศ. ค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2566.

http://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2019/20191003-germplasm- management-and-breeding-tomatoes-v4.pdf.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2566). มะเขือเทศ: เนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ พันธุ์ โรงงานและบริโภค ปี 2564. ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2566. http://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/.

สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร. (2566.) ปริมาณและมูลค่าการส่งออกเมล็ดพันธุ์ควบคุม. ค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2566. http://www.doa.go.th/ard/wp-content/uploads/2023/07/.

Carmeille A., Caranta C., Dintinger J., Pror P., Luiesetti J. and Baesse P. (2006). Identification of QTLs for Ralstonia solanacearum race 3-phylotype II resistance in tomato. Theory Application Genetics.113(1): 110-121.

Danesh D. and Young N.D. (1994). Partial resistance loci for tomato bacterial wilt show differential race specificity. Tomato Genetics Cooperative Report. 44(2): 12-13.

Deberdt P., Oliveier J., Thoquet P., Queneheve P. and Prior P. (1999). Evaluation of bacterial wilt resistance in tomato lines nearly isogenic for the Mi gene for resistance to root-knot. Plant pathology. 48(3): 415-424.

FAOSTAT. (2023.) Food and Agriculture Organization of the United Nations. Data from 2020. Accessed 20 Aug. 2023. http://www.fao.org/faostat/en/#data/QC.

Hong Hai T.T., Esch E. and Wang J.-F. (2008). Resistance to Taiwanese race1 strains of Ralstonia solanacearum in wild tomato germplasm. Europe Journal Plant Pathology. 122(4): 471-479.

Huang C.C. and Lindhout P. (1997). Screening for resistance in wild Lycopersicon species to Fusarium oxysporum f. sp. Lycopersici race 1 and 2. Euphytica. 93(3): 145-153.

Langlois R.W. (2017). Evaluation of rootstocks for grafted plants as a strategy to manage Southern Blight in tomato (Solanum lycopersicum). The thesis of Master of Science. Auburn University. United States of America.

Mangin B., Thoquet P., Olivier J. and Grimsley N.H. (1999). Temporal and Multiple Quantitative Trait Loci Analyses of Resistance to bacterial Wilt in Tomato permit the Resolution of Linked loci. Genetics. 151(3): 1165-1172.

Mioa L., Shou S., Cai J., Jiang F. and Zhu Z. (2007). Identification of two AFLP markers linked to bacterial wilt resistance in tomato and conversion to SCAR marker. Molecular biology Report. 39(3): 479-489.

Moiones E. and Navas-Catillo J. (2000). Tomato yellow leaf curl virus, an emerging virus complex causing epidemics worldwide. Virus Resistance. 71(1-2): 123-134.

Scott J.W. and Hutton S.F. (2015). Fla. 8638B and Fla. 8624 tomato breeding lines with Begomovirus resistance genes ty-5 plus Ty-6 and Ty-6, respectively. HortScience. 50(9): 1405-1407.

Scott J.W., Somodi G.C. and Jonoed J.B. (1993). Testing tomato genotypes and breeding for resistance to bacterial wilt in Florida. In ACIAR Proceeding 28-31 October 1992. Kaohsiung. Taiwan. 126-131.

Vidavski F., Czosnek H., Gazit S., Levy D. and Lapidot M. (2008). Pyramiding of genes conferring resistance to tomato yellow leaf curl virus from different wild tomato species. Plant Breeding 127(6): 625-631.

เผยแพร่แล้ว

26-04-2024 — Updated on 26-04-2024

Versions