การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬาจังหวัดบุรีรัมย์ด้วยนวัตกรรมท่องเที่ยวอัจฉริยะ บนฐานนโยบายประเทศไทย 4.0
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยวเชิงกีฬา, จังหวัดบุรีรัมย์, นวัตกรรมท่องเที่ยว, การแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวส่วนบุคคล, แชตบอตการท่องเที่ยวบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีนวัตกรรมท่องเที่ยวอัจฉริยะการท่องเที่ยวเชิงกีฬาจังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีกระบวนการวิจัย คือ 1) เก็บรวบรวมความต้องการ/การมีส่วนร่วมกำหนดรูปแบบและการใช้งานนวัตกรรม 2) วิเคราะห์และออกแบบระบบด้วยหลักการเชิงวัตถุ และใช้แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ 3) พัฒนานวัตกรรมในรูปแบบของเว็บแอปพลิเคชัน และ 4) ศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีของนักท่องเที่ยวในการใช้นวัตกรรม ผลการวิจัยพบว่า นวัตกรรมท่องเที่ยวอัจฉริยะการท่องเที่ยวเชิงกีฬาจังหวัดบุรีรัมย์ ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ ส่วนแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวโดยรวม ส่วนจัดการข้อมูลท่องเที่ยว ส่วนจัดการสมาชิก ส่วนแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวส่วนบุคคล และแชตบอตส่งเสริมการท่องเที่ยว ผลการประเมินความสามารถในการใช้งานได้ของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x= 4.26, S.D. = 0.54) โดยมีความพึงพอใจด้านความยืดหยุ่นของการใช้งานมากที่สุด ( x= 4.45, S.D. = 0.57) รองลงมาคือ ด้านความสามารถในการเรียนรู้ได้ ( x= 4.40, S.D. = 0.64) ด้านประสิทธิผล ( x= 4.27, S.D. = 0.47) ด้านประสิทธิภาพของการใช้งาน ( x= 4.13, S.D. = 0.65) และด้านความพึงพอใจของผู้ใช้งาน ( x= 4.07, S.D. = 0.39) ตามลำดับ ผลการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีตามแบบจำลองการยอมรับเทคโนโลยี พบว่า นักท่องเที่ยวมีการยอมรับเทคโนโลยีโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( x= 4.08, S.D. = 0.72) โดยด้านที่มีระดับการยอมรับเทคโนโลยีสูงที่สุด คือ การรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับ ( x= 4.15, S.D. = 0.66) รองลงมาคือ การเข้าถึงบริการ ( x= 4.11, S.D. = 0.70) การรับรู้ความง่ายในการใช้งาน ( x= 4.08, S.D. = 0.74) และสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้งาน ( x= 3.97, S.D. = 0.80)
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). โครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬา. รายงานฉบับสมบูรณ์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา: กรุงเทพฯ.
กรมการท่องเที่ยว. (2561). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยว พ.ศ. 2561 - 2564 ของกรมการท่องเที่ยว. วีไอพีก๊อปปี้ปริ้น: กรุงเทพฯ.
ขวัญชัย สุขแสน, ณัฐวุฒิ มูลศาสตร์ และมนัสนันท์ จันโท. (2557). ระบบมัคคุเทศก์พกพาสำหรับการท่องเที่ยว. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 10 8-9 พฤษภาคม 2557. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมพระนครเหนือ. ภูเก็ต. 276-280.
จิติมนต์ อั่งสกุล, สุรชัย กมลลิ้มสกุล และธรา อั่งสกุล. (2562). โปรแกรมประยุกต์สำหรับวางแผนการท่องเที่ยวภายใต้ข้อบังคับด้านความปลอดภัย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 38(3): 316-329.
ณัฏฐนันท์ พิธิวัตโชติกุล. (2560). การยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ: กรุงเทพฯ.
นุชรัตน์ นุชประยูร และจิตตภู พูลวัน. (2565). การพัฒนาโมบายแอพพลิเคชันวางแผนการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาแบบมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยวในอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. รายงานการวิจัย. คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ นนทบุรี.
ประภัสสร มีน้อย. (2560). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬาของภูมิภาคตะวันตกเพื่อรองรับการเข้าสู่ประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุธาสินี ตุลานนท์ (2562). การยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุนิสา ศรแก้ว. (2561). การยอมรับเทคโนโลยี Chatbot ในธุรกิจธนาคารในประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุณิสา ตรงจิตร์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านช่องทางตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace). การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานจังหวัดบุรีรัมย์. (2563). แผนพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์. ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2565. http://www.buriram.go.th/web3/ index.php/province-development/plan-developement.
Battleson B., Booth A. and Weintrop J. (2001). Usability testing of an academic library web site: A case study. Journal of Academic Librarianship. 27(3): 188-198.
Davis F.D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly. 13(3): 319-339.
Nielsen J. (1993). Usability Engineering. Academic press: San Diego, CA.Ooi K.B. and Tan G. W-H. (2016). Mobile technology acceptance model: An investigation using mobile users to explore smartphone credit card. Journal of Expert Systems with Applications. 59: 33-46.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื่อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการดีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น