ผลของการจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพื้นที่ต่อผลผลิตข้าวและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ภุชงค์ สุภัควรางกูร คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • สำเนาว์ เสาวกูล คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • อัจฉราวดี เครือภักดี คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • นิอร งามฮุย คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

การจัดการธาตุอาหารพืช, ดินนา, ผลผลิตข้าวและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ

บทคัดย่อ

การจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพื้นที่เป็นเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง เนื่องจากช่วยลดต้นทุนการผลิตพืชได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมต่อการปลูกข้าวของพื้นที่ศึกษาโดยใช้สมบัติทางกายภาพและเคมีของดิน ใช้เทคโนโลยีการจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพื้นที่หรือปุ๋ยสั่งตัด และเพื่อศึกษาผลผลิตที่ได้จากการปลูกข้าวโดยใช้เทคโนโลยีการจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพื้นที่ ในพื้นที่ปลูกข้าวตำบลยาง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ โดยเก็บตัวอย่างดินจากพื้นที่นาข้าวจำนวน 50 แปลง วิเคราะห์สมบัติทางกายภาพและเคมีของดิน ได้แก่ เนื้อดิน ค่าความเป็นกรด-ด่าง ไนโตรเจนทั้งหมด ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อพืช โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ ผลผลิตข้าว ค่าใช้จ่ายและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ในปี 2564-2565 ผลการศึกษาพบว่า ดินเป็นชุดดินร้อยเอ็ด มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายแป้ง ประกอบด้วยอนุภาคทราย อนุภาคทรายแป้ง และอนุภาคดินเหนียว ร้อยละ 20.78, 70.09 และ 9.13 ตามลำดับ ปริมาณธาตุอาหารหลักในดินมีปริมาณต่ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช จึงต้องมีการจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพื้นที่ เพื่อปรับปรุงสมบัติเคมีของดินในการปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตสูงที่สุด ดังนั้นการใช้การจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพื้นที่ของปุ๋ยเคมีในการปลูกข้าวในพื้นที่ตำบลยาง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ส่งผลให้ผลผลิตข้าวสูงขึ้นร้อยละ 13.33 และลดต้นทุนการผลิตร้อยละ 11.95 หากเกษตรกรใช้การจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพื้นที่จะทำให้ดินมีปริมาณธาตุอาหารพืชที่เพียงพอ ส่งผลให้พืชสามารถให้ผลผลิตที่สูงขึ้น และเป็นการลดต้นทุนการผลิตเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างยั่งยืนต่อไป

References

กรมการข้าว. (2559). องค์ความรู้เรื่องข้าว การผลิตข้าวอินทรีย์. ค้นเมื่อ 31สิงหาคม 2566. http://www.ricethailand.go.th/rkb3/title-index.php-file=content.php&id=4-2.htm.

กรมการข้าว. (2561). คู่มือองค์ความรู้และวิธีการถ่ายถอดความรู้ ด้านเทคโนโลยีการผลิตข้าวด้านการจัดการดินและการใช้ปุ๋ยในนาข้าว. ค้นเมื่อ 2 กันยายน 2566. http://brpe.Ricethailand.go.th/images/PDF/handbook_5_bigfarm/3-.pdf.

กรมวิชาการเกษตร. (2566). ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าปุ๋ยเคมี. ค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2566. https://www.oae.go.th/view/1/ปัจจัยการผลิต/TH-TH.

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2542). การปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105. พิมพ์ครั้งที่ 2. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด: กรุงเทพฯ.

กอบเกียรติ ไพศาลเจริญ. (2558). โครงการวิจัยและพัฒนาด้านดิน น้ำและปุ๋ยอ้อย. กรมวิชาการเกษตร: กรุงเทพฯ.

จักรชัยวัฒน์ กาวีวงศ์. (2563). การจัดการธาตุในโตรเจนเพื่อการผลิตข้าวหอมนิลในชุดดินแม่ทะ. วารสารแก่นเกษตร. 48(1):189-200.

จักรพงษ์ ไชยวงศ์, สุนทร คำยอง, นิวัติ อนงค์รักษ์, ประสิทธิ์ วังภคพัฒนวงศ์ และสุภาพ ปารมี. (2563). ลักษณะของดินและการสะสมคาร์บอนในดินที่เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินต่างกันภายใต้ระบบนิเวศป่าเบญจพรรณ ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่. PSRU Journal of Science and Technology. 5(1): 41-51.

ชุติวัฒน์ วรรณสาย. (2547). การจัดการธาตุอาหารหลักในนาข้าว. ศูนย์วิจัยและพัฒนาข้าวพิษณุโลก สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 กรมวิชาการเกษตร: กรุงเทพฯ.

ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล. (2564). ราคาปุ๋ยเคมีไทย-โลกพุ่ง ผู้ค้าขอจับเข่าคุยพาณิชย์ไม่ให้ขยับ-ไม่นำเข้า. ฐานเศรษฐกิจ, p. 9. ค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2566. https://www.thansettakij.com/economy/501362.

ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ และประทีป วีระพัฒนนิรันดร์. (2558). ธรรมชาติของดินและปุ๋ย. ค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2566. https://drive.google.com/file/d/1lLUbDN52f6wIBoH_PEvdbOMKnYqeRsT9/edit.

นุชจรี กองพลพรหม, ฤทธิรงค์ จังโกฏิ และธวัดชัย ธานี. (2558). ผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง และปุ๋ยเคมีตามค่า

วิเคราะห์ดินที่มีผลต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตข้าวหอมมะลิ 105. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์. 15(1): 66-77.

ลิลลี่ กาวีต๊ะ, มาลี ณ นคร, ศรีสม สุวรรณวงศ์, สุริยา ตันติวิวัฒน์ และณรงค์ วงศ์กันทรากร. (2556). สรีรวิทยาของพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: กรุงเทพฯ.

วิมล สิงหะพล. (2558). โครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิต ปี 2558. ค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2566. https://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15250.

สุวรรณา ประณีตวตกุล และสมพร อิศวิลานนท์. (2553). การประเมินผลกระทบของโครงการการจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะ

พื้นที่เพื่อการผลิตพืชอย่างยั่งยืน. วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์. 31(2): 231-244.

อภิชญา ศรีแสงอ่อน, คณิตา ตังคณานุรักษ์, ดาวจรัส เกตุโรจน์สุธี และจรรยา สุทธิวงศ์. (2565). การลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการปลูกข้าวโดยใช้การจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพื้นที่และการใช้มูลไก่ร่วมกับปุ๋ยเคมี. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 22(1): 145-155.

Bray R.H. and Kurtz L.T. (1945). Determination of total, organic, and available forms of phosphorus in soils Soil Science. 59: 39-45.

Bremmer J.M. (1996). Nitrogen-Total. In: Sparks D.L., Pang A.L., Helmke P.A., Loeppert R.H., Soltanpour P.N., Tabatabai M.A., Johnston C.T, Sumner M., editors. Method of soil analysis part 3: Chemical method. Madison, Wisconsin. USA: Soil Science Society of America Journal.

Cao Y., Tian, Y., Yin B. and Zhu Z. (2013). Assessment of ammonia volatilization from paddy fields under crop management practices aimed to increase grain yield and N efficiency. Field Crops Research 147: 23-31.

Khamkaew W. (2020). FCS (Fertilizer Usage Calculator by Soil Analysis). Accessed 19 Apr. 2020. https://www.thailandtechshow.com/upload_technology/attachment/17.pdf.

Office of Agricultural Economics. (2019). Agricultural economics database: 2019. Accessed 29 Jul. 2019. http://www.oae.go.th/

Pratt P.F. (1965). Potassium. In: Norman AG, editors. Method of soil analysis Part 2: Chemical and Microbiology properties. Madison, Wisconsin. USA: American. Society. of Agronomy. Inc.; p.1022-1030.

เผยแพร่แล้ว

26-04-2024