ผลของขนาดกระถางแอร์พอตต่อการเจริญเติบโตทางด้านลำต้นของกัญชา

ผู้แต่ง

  • ทรงศักดิ์ ธรรมจำรัส คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
  • บุญชาติ คติวัฒน์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
  • นันท์นภัส สุวรรณสินธุ์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
  • กิตติศักดิ์ จันทร์สุข คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
  • นัฐพร ชะอุ่มฤทธิ์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี

คำสำคัญ:

กัญชา , กระถางแอร์พอต , การเจริญเติบโตทางด้านลำต้น

บทคัดย่อ

ขนาดของภาชนะปลูกที่แตกต่างกันย่อมส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืช แต่ยังไม่มีการศึกษาขนาดของกระถางแอร์พอตที่แตกต่างกันในกัญชา จึงทำการศึกษาผลของขนาดของกระถางแอร์พอต ที่แตกต่างกันต่อการเจริญเติบโตทางด้านลำต้นของกัญชาสายพันธุ์หางกระรอกภูพาน โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์มี 5 กรรมวิธี คือภาชนะปลูกกระถางแอร์พอต ขนาด 15x20, 20x20, 30x30, 40x40 และ 50x50 เซนติเมตร ทำ 4 ซ้ำ ๆ ละ 4 ต้น ปลูกในวัสดุผสมประกอบด้วย ดินร่วน: ขุยมะพร้าว: ปุ๋ยหมัก อัตราส่วน 2:1:1 บันทึกข้อมูลการเจริญเติบโตทางด้านลำต้นทุกสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 2 เดือน พบว่า ภาชนะปลูกขนาด 30x30, 40x40 และ 50x50 เซนติเมตร มีความสูงต้นมากที่สุด ภาชนะปลูกขนาด 30x30 และ 40x40 เซนติเมตร มีจำนวนใบมากที่สุด ภาชนะปลูกขนาด 40x40 เซนติเมตร มีความกว้างและยาวใบมากที่สุด ภาชนะปลูกขนาด 40x40 และ 50x50 เซนติเมตร มีขนาดเส้นรอบวงของลำต้น ความกว้างทรงพุ่ม ความยาวรากมากที่สุด ดังนั้นกระถางแอร์พอต ขนาด 50x50 เซนติเมตร น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการปลูกกัญชา เนื่องจากส่งผลให้ต้นกัญชามีแนวโน้มการเจริญเติบโตของลำต้นและรากที่ดี

References

พัทยา หวังสุข. (2566). การพัฒนาศักยภาพประชาชนที่สนใจปลูกกัญชากัญชงพืชเศรษฐกิจจังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ. 3(1): 204-219.

มงคล แช่หลิม, สายัณห์ สดุดี และสุภาณี ชนะวีระวรรณ. (2545) การควบคุมขนาดต้นและการใช้การปลูกระยะชิดในการผลิตลองกอง. รายงานการวิจัย. ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ สงขลา.

หนึ่ง เตียอำรุง, นันทกร บุญเกิด และพรรณลดา ติดตะบุตร. (2564) การผลิตและการใช้ประโยชน์จากกัญชา. รายงานการวิจัย. สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี นครราชสีมา.

อภิสิทธิ์ สมหวัง, กษิดิ์เดช อ่อนศรี, กัญตนา หลอดทองหลาง, เกศินี ศรีปฐมกุล, ธนัชยา เกณฑ์ขุนทด และอภิเดช เอมเอี่ยม. (2565). ผลของขนาดภาชนะปลูกต่อการเจริญเติบโตของผักสลัดเรดโอ๊ค. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 2 เรื่องสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรมเชิงพานิชย์ ครั้งที่ 2 27 กรกฎาคม 2565. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มหาสารคาม. หน้า 38.

Al-Menaie H.S., Al-Ragam O., Al Dosery N., Zalzaleh M., Mathew M. and Suresh N. (2012). Effect of pot size on plant growth and multiplication of water lilies (Nymphaea spp.). American-Eurasian Journal of Agriculture Environmental Science. 12(2): 148-153.

Boland A.M., Jerie P.H., Mitcchell P.D. and Goodwin I. (2000). Long-term effects of restricted root volume and regulated deficit irrigation on peach: growth and mineral nutrition. Journal American Society of Horticulture Science. 125(1): 135-142.

Mary H.M. and Bruce A.C. (2004). Effect of media porosity and container size on overwintering and growth of Ornamental Grasses. HortScience. 39(2): 248-250.

Otsoseng O., Pitso G., Christinah M. and Thembinkosi M. (2016). Effect of container size on the growth and development of tomato seedling. International Journal of Current Microbiology and Applied Sciences. 5(4): 890-896.

เผยแพร่แล้ว

09-04-2025

How to Cite

ธรรมจำรัส ท. ., คติวัฒน์ บ. ., สุวรรณสินธุ์ น., จันทร์สุข ก., & ชะอุ่มฤทธิ์ น. . (2025). ผลของขนาดกระถางแอร์พอตต่อการเจริญเติบโตทางด้านลำต้นของกัญชา. วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.อีสาน, 6(1), 14–21. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/261157