ผลของการใช้สีน้ำเทียม (ชนิดสี และระดับความเข้มข้น) ต่อการลดอัตราการตาย เนื่องจากการกินกันเองของลูกปูม้า (Portunus pelagicus) ระยะ First crab

ผู้แต่ง

  • ชลดา ลีอร่าม คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  • รุ่งทิวา คนสันทัด คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  • วาสนา อากรรัตน์ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  • วุฒิชัย อ่อนเอี่ยม คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

คำสำคัญ:

ปูม้า, อัตราการตาย, สีน้ำเทียม

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มี 2 วัตถุประสงค์ คือ ศึกษาผลของการใช้สีน้ำเทียมต่อการลดอัตราการตายเนื่องจากการกินกันเองของลูกปูม้า (Portunus pelagicus) ระยะ First crab โดยแบ่งเป็น 3 ชุดการทดลอง ได้แก่ ชุดควบคุม คือ ไม่ใส่สีน้ำเทียม (T0), ใส่สีน้ำเทียมสีเขียว (T1), และสีน้ำตาล (T2) ที่ความเข้มข้น 1 ส่วนในล้านส่วน และศึกษาระดับความเข้มข้นของสีน้ำเทียมสีน้ำตาลที่เหมาะสมสำหรับการอนุบาลลูกปูม้าโดยแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ชุดควบคุม คือ 1 ส่วนในล้านส่วน (T0), 25 ส่วนในล้านส่วน (T1), และ 50 ส่วนในล้านส่วน (T2) ผลการศึกษาผลของการใช้สีน้ำเทียมต่ออัตราการตายเฉลี่ย พบว่า ลูกปูม้าที่เลี้ยงในชุดการทดลอง T2 มีอัตราการตายเฉลี่ยต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) กับชุดการทดลอง T0 และ T1 โดยมีค่าอัตราการตายเฉลี่ยเท่ากับ 4.62±1.48, 9.75±2.39 และ 11.85±3.31 เปอร์เซ็นต์ต่อวัน ตามลำดับ ส่วนผลการใส่สีน้ำเทียมสีน้ำตาลที่ระดับความเข้มข้นต่างกันนั้น พบว่า ลูกปูม้าในชุดการทดลอง T1 และ T2 นั้น มีอัตราการตายเฉลี่ยต่ำกว่า (p<0.05) ชุดการทดลอง T0 โดยมีค่าอัตราการตายเฉลี่ย เท่ากับ 14.91±3.19, 18.13±9.71 และ 32.00±2.52 เปอร์เซ็นต์ต่อวัน ตามลำดับ ดังนั้นผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การอนุบาลลูกปูม้าระยะ First crab ด้วยการใส่สีน้ำเทียมสีน้ำตาลจะสามารถลดการกินกันเองของลูกปูม้าได้ดีที่สุด และระดับความเข้มข้นของสีน้ำเทียมสีน้ำตาลที่เหมาะสม คือ 25 ส่วนในล้านส่วน เป็นระดับที่ช่วยลดอัตราการตายของลูกปูม้าและคุ้มค่า

References

กรมประมง. (2564). สถิติการประมงแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2562. เอกสารวิชาการฉบับที่ 2/2564. กรมประมง: กรุงเทพฯ

ชนกันต์ จิตมนัส, น้ำเพชร ประกอบศิลป์, ประจวบ ฉายบุ, วิญญู บุญประเสริฐ, สุฤทธิ์ สมบูรณ์ชัย และอานุภาพ วรรณคนพล. (2562). ผลของสีน้ำต่อการเจริญเติบโตและสีผิวของปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch 1790) ที่เลี้ยงในระบบอควาโปนิกส์. วารสารแก่นเกษตร. 47(1): 1337-1344.

วิญญู บุญประเสริฐ, ประจวบ ฉายบุ, เกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน, จงกล พรมยะ และชนกันต์ จิตมนัส. (2561). ผลของสีน้ำต่อการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายของปลากะพงขาววัยรุ่นที่เลี้ยงในระบบหมุนเวียนน้ำแบบอควาโปนิกส์. วารสารวิจัยเทคโนโลยีการประมง. 12(1): 11-22.

วิญญู บุญประเสริฐ, ประจวบ ฉายบุ, เกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน, จงกล พรมยะ และชนกันต์ จิตมนัส. (2562). ผลของสีน้ำทียมต่อกิจกรรมของเอนไซม์ อัตราส่วนระหว่างทริปซินไคโมทริปซิน (T/C ratio) และการเจริญเติบโตของปลากะพงขาววัยรุ่นที่เลี้ยงในระบบน้ำหมุนเวียน. วารสารวิจัยเทคโนโลยีการประมง. 13(2): 11-24.

วุฒิชัย อ่อนเอี่ยม, เทพบุตร เวชกามา และโสภี วิชัยเมือง. (2552). อัตรารอดตายของลูกปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758) ที่ได้จากพ่อแม่พันธุ์ในบ่อดิน. ใน การประชุมทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 47 (สาขาประมง) 17-20 มีนาคม 2552. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 381-387.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2564). การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการบริโภค มาตรฐานเลขที่ มกษ.7436(G)-2564. เล่มที่ 138 ตอนพิเศษ 196 ง.

อัครพงษ์ มหาสินไพศาล, เอกภพ งิ้วลาย, สุธัญญา พูลเกษม, เจนจิรา กรุดทอง, ทัตมาพร ชนะสงคราม, วาสนา อากรรัตน์ และรุ่งทิวา คนสันทัด. (2565). ผลกระทบของระดับความเข้มข้นของสีน้ำเทียมต่อการพัฒนาการและอัตรารอดตายของลูกปูม้า (Portunus Pelagicus) ระยะซูเอี้ย 1 ถึง 4. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ และเทคโนโลยี ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคราม 27 กรกฎาคม 2022. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคราม. มหาสารคราม. 19-29.

Alimuddin, Karim M.Y. and Tahya A.M. (2019). Survival rate of mud crab Scylla olivacea larvae reared in coloured tanks. Aquaculture, Aquarium, Conservation and Legislation Bioflux. 12(4): 1040-1044.

American Public Health Association, American Water Works Association and Water Environment Federation. (2023). Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater, 24th Edition. American Public Health Association, Washington.

Aréchiga-Palomera M.A., Vega-Villasante F., Montoya-Martínez C., Mendoza-González A. and Badillo-Zapata D. (2018). Background color effect on the pigmentation of prawn Macrobrachium tenellum. Latin American Journal of Aquatic Research. 46(3): 610-614.

Bastos A.M., Lima J.F. and Tavares-Dies M. (2019). Effect of environmental light colors on the larviculture of the amazon river prawn Macrobrachium amazonicum. Aquaculture International. 27: 1525-1534.

Boaventura T.P., Pedras P.P.C., Santos F.A.C., Ferreira A.L., Favero G.C., Palheta G.D.A., Melo N.F.A.C. and Luz R.K. (2021). Cultivation of juvenile Colossoma macropomum in different colored tanks in recirculating aquaculture system (RAS): Effects on performance, metabolism and skin pigmentation. Aquaculture. 532: 736079.

Chen S., Shi C., Migaud H., Song C., Mu C., Ye Y., Wang C. and Ren Z. (2022). Light spectrum impacts on growth, molting and oxidative stress response of the mud crab Scylla paramamosain. Aquatic Physiology. 9: 1-14.

Ferosekha S., Saho S.K., Radhakrishnan K., Velmurugan P., Shamna N., Giri S.S. and Pillai B.R. (2020). Influence of rearing tank colour on Asian catfish, magur (Clarias magur) and pangas (Pangasius pangasius) larval growth and survival. Aquaculture. 521: 735080.

Kawamura G., Yong A.S.K., Roy D.C. and Lim L.S. (2020). Shelter colour preference in the purple mud crab Scylla tranquebarica (Fabricius). Applied Animal Behaviour Science. 225: 104966.

Krasteva V., Zaikov A. and Yankova M. (2020). Effect of different tank colours on some productive parameters of European catfish (Silurus glanis L.) fingerlings. Agricultural Sciences and Technology. 12(1): 19-23.

Ikhwanuddin M., Ahmad-Fadzil N.S., Mohamad S. and Abol-Munafi A.B. (2019). Growth and survival of blue swimming crab, Portunus pelagicus larvae at different photo period and light intensity. Asian Journal of Biological Sciences. 12(2): 199-203.

Marshall S., Warburton K., Paterson B. and Mann D. (2005). Cannibalism in juvenile blue-swimmer crab Portunus pelagicus (Linnaeus, 1766): effects of body size, moult stage and refuge availability. Applied Animal Behaviour Science. 90: 65-82.

Muthmainnah M., Karim M.Y. and Achmad M. (2020). Effect of basin color on the performance of blue swimming crab (Portunus pelagicus). Torani Journal of Fisheries and Marine Science. 4: 50-57.

Ninwichian P., Phuwan N. and Limlek P. (2022). Effects of tank color on the growth, survival rate, stress response, and skin color of juvenile hybrid catfish (Clarias macrocephalus × Clarias gariepinus). Aquaculture. 554: 738129.

Roy P., Chandan C.S.S., Roy N.C. and Islam I. (2020). Feed types affect the growth survival and cannibalism in early juvenile of striped snakehead (Channa striata Bloch.). Egyptian Journal of Aquatic Research. 46: 377–382.

Sanda T., Shimizu T., Dan S. and Hamasaki K. (2021). Effect of body size on cannibalism in juvenile mud crab Scylla serrata (Decapoda: Brachyura: Portunidae) under laboratory conditions. Aquatic Animals. 50: 87–93.

Supriyono E., Rasul, Budiardi T. and Pujihastuti Y. (2021). A study on the effect of different colours of culture tanks in nursery, on the production performance, biochemical composition of flesh and physiological responses of white leg shrimp (Litopenaeus vannamei). Aquaculture Research 52(4): 4086-4093.

Thien F.Y., Hamasaki K., Shapawi R., Kawamura G., Cruz-Huervana J.D.L. and Yong A.S.K. (2022). Effect of background tank color in combination with sand substrate and shelters on survival and growth of Scylla tranquebarica instar. Egyptian Journal of Aquatic Research. 48(3): 241-246.

Wang J., Peng K., Lu H., Li R., Weiwei S., Liu L., Wang H., Wang C. and Shi C. (2019). The effect of tank colour on growth performance, stress response and carapace colour of juvenile swimming crab Portunus trituberculatus. Aquaculture Research. 50: 2735-2742.

Wang K., Li K., Li L., Tanase C., Mols R. and Meer M. (2023). Effects of light intensity and photoperiod on the growth and stress response of juvenile Nile tilapia (Oreochromis niloticus) in a recirculating aquaculture system. Aquaculture and Fisheries. 8(1): 85-90.

Wei J., Tian L., Wang Y., Yu L. and Zhu X. (2021). Effects of salinity, photoperiod, and light spectrum on larval survival, growth and related enzyme activities in the giant freshwater prawn, Macrobrachium rosenbergii. Aquaculture. 53: 735794.

Zhang X., Zhang Y., Zhang Q., Liu P., Guo R., Jin S., Lin J., Chen L., Ma Z. and Liu Y. (2020). Evaluation and analysis of water quality of marine aquaculture area. International Journal of Environmental Research and Public Health. 17(4): 1-15.

เผยแพร่แล้ว

31-08-2024