การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไส้กรอกปลาอิมัลชันจากปลาน้ำจืด

ผู้แต่ง

  • กัญญา รัชตชัยยศ คณะเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
  • บำเพ็ญ นิ่มเขียน คณะเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
  • สุภัทรา กล่ำสกุล คณะเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
  • ประกาศ ชมภู่ทอง คณะเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี

คำสำคัญ:

ไส้กรอกปลา , ปลาน้ำจืด , โปรตีนถั่วเหลืองสกัด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ไส้กรอกปลาอิมัลชันจากปลาน้ำจืดและศึกษาชนิดของสารยึดเกาะที่เหมาะสม จากการผลิตไส้กรอกจากปลาน้ำจืด 5 ชนิด คือ ปลากราย ปลาช่อน ปลาดุก ปลานิล และปลาทับทิมผลการประเมินทางประสาทสัมผัสโดยใช้สเกลความชอบ 9 ระดับ พบว่า ไส้กรอกปลาช่อนมีคะแนนความชอบโดยรวมสูงสุด (7.17 คะแนน) เมื่อนำไปศึกษาชนิดของสารยึดเกาะที่เหมาะสมในการผลิตจากสารยึดเกาะ 5 ชนิด คือ แป้งมันสำปะหลัง แป้งข้าวโพด แป้งข้าวเจ้า แป้งสาลี และโปรตีนถั่วเหลืองสกัด พบว่า ไส้กรอกสูตรที่ใช้โปรตีนถั่วเหลืองสกัดและไส้กรอกสูตรที่ใช้แป้งมันสำปะหลังมีคะแนนความชอบโดยรวมสูงสุด (p≤0.05) มีคะแนนอยู่ในช่วง 7.72-7.73 ส่วนค่าแรงเฉือนและค่าความแน่นเนื้ออยู่ในช่วง 2.68-3.03 นิวตัน และ 0.35-0.38 นิวตัน ตามลำดับ ทุกสูตรการผลิตไส้กรอกมีค่าสี L*, a* และ b* ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงเลือกใช้โปรตีนถั่วเหลืองสกัดเนื่องจากมีปริมาณโปรตีนมากกว่าแป้งมันสำปะหลัง จากนั้นนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี พบว่า ไส้กรอกปลาช่อนที่ใช้โปรตีนถั่วเหลืองสกัดมีปริมาณความชื้น โปรตีน ไขมัน เถ้า เส้นใย และคาร์โบไฮเดรต เท่ากับ ร้อยละ 77.66, 15.30, 2.75, 1.92, 0.60 และ 1.77 ตามลำดับ คุณภาพด้านจุลชีววิทยาของผลิตภัณฑ์ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนเรื่องไส้กรอกปลา(มผช.143/2555)

References

กรมประมง. (2563). สถิติผลผลิตการเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ประจำปี 2561. ค้นเมื่อ 30 เมษายน 2567. https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20210310111203_new.pdf.

จักรินทร์ ตรีอินทอง. (2559). การปรับปรุงสมบัติิเชิงหน้าที่ของโปรตีนในลูกชิ้นจากปลาน้ำจืด. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ประมง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จักรี ทองเรือง. (2544). ซูริมิ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: กรุงเทพฯ.

จารุวรรณ วิชัยพรหม. (2564). ไส้กรอกปลา. ค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2566. https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20210503160448_1_file.pdf.

เฉลิมขวัญ แสงจันทร์. (2544). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไส้กรอกปลาอิมัลชัน. ปัญหาพิเศษ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันราชภัฏเพชรบุรี.

นฤมล จอมมาก, สวรักษ์ จันทรเทพธิมากุล และปัทมา ระตะนะอาพร. (2563). ผลของโปรตีนสกัดจากถั่วเหลืองและโซเดียมเคซีเนตในการทดแทนฟอสเฟตต่อคุณลักษณะทางกายภาพและทางประสาทสัมผัสของไส้กรอกหมูผสมไก่. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.กรุงเทพ. 1(2): 1-11.

นิธิยา รัตนาปนนท์. (2551). เคมีอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 3. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์: กรุงเทพฯ.

ประชาชาติธุรกิจ. (2562). CPF-เบทาโกร ระเบิดศึกตลาดไส้กรอก 3 หมื่นล้านเดือด. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์.

ประดิษฐ์ คำหนองไผ่. (2556). การผลิตไส้กรอกปลาดุกเพื่อสุขภาพ. สำนักพิมพ์ทริปเพิ้ลกรุ๊ป: กรุงเทพฯ.

รสจรินทร์ ปราบปรี. (2553). ผลของแป้งมันสำปะหลังและไฮโดรคอลลอยด์ต่อคุณภาพของไส้กรอกปลาสดและแช่แข็ง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วรางคณา สมพงษ์, จักรพงศ์ จิตรหนัก, หฤษฎ์ ปิ่นเย็น และภัทิรา สุดเลิศ. (2561). การผลิตแพตตี้ปลาดุกบิ๊กอุยเสริมว่านหางจระเข้. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 7(6): 560-569.

วลัย หุตะโกวิท, บุษรา สร้อยระย้า, ชญาภัทร์ สุทธิมิตร, น้อมจิตต์ สุธีบุตร, นพพร สกุลยืนยงสุข, เจตนิพัทธ์ บุณยสวัสดิ์ และธนภพ โสตรโยม. (2551). การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากปลาน้ำจืดเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ. รายงานการวิจัย. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระนคร กรุงเทพฯ.

วัชรี คงรัตน์ และจันทร์เพ็ญ ขำมิน. (2563). ซูริมิและปัจจัยที่มีผลต่อค่าความแข็งแรงของเจลจากซูริมิ. ค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2567. https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20201019155149_1_file.pdf

วัชรี คงรัตน์ และอรวรรณ คงพันธุ์. (2558). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากปลานวลจันทร์ทะเล. (Chanos chanos, Forskal): เอกสารวิชาการฉบับที่ 8/2558. กรมประมง กองวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ: กรุงเทพฯ.

วันเพ็ญ นภาทิวาอำนวย. (2560). ไส้กรอกปลาอิมัลชัน. ค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2566. https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=41048

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2555). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ไส้กรอกปลา. เอกสาร มผช.143/2555.

ค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2566. https://tcps.tisi.go.th/pub/tcps0143_55.pdf

สุทธินี สีสังข์. (2563). คุณสมบัติของแป้งที่มีผลต่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ. ค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2566. https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20200722153849_1_file.pdf

Akesowan A. (2008). Effect of soy protein isolate on quality of light pork sausages containing konjac flour. African Journal of Biotechnology. 7(24): 4586-4590.

AOAC. (2000). Official Methods of analysis. 16th Edition. Association Official analytical chemists: Washington. D.C.

Chuapoehuk P., Raksakulthai N. and Worawattanamateekul W. (2001). Process development of fish sausage. International Journal of Food Properties. 4(3): 523–529.

FDA. (2002). BAM chapter 4: Enumeration of Escherichia coli and the Coliform bacteria. Retrieved 10 April 2023. https://www.fda.gov/food/laboratory-methods-food/bam-chapter-4-enumeration-escherichia-coli-and-coliform-bacteria.

เผยแพร่แล้ว

31-08-2024