ประสิทธิภาพของวัสดุปรับปรุงดินต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีบางประการของดินใต้ทรงพุ่มทุเรียนในชุดดินท่าใหม่
คำสำคัญ:
วัสดุปรับปรุงดิน, สมบัติทางเคมี, ทุเรียน, ชุดดินท่าใหม่บทคัดย่อ
การศึกษาประสิทธิภาพของวัสดุปรับปรุงดินต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีดินใต้ทรงพุ่มทุเรียนในชุดดินท่าใหม่ ทำการศึกษาระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ 2566-มกราคม 2567 โดยวัสดุปรับปรุงดินที่ใช้ในการทดลองมีส่วนประกอบหลัก ได้แก่ แกลบเผา (จากโรงไฟฟ้าชีวมวล) มูลไส้เดือน มูลโค มูลไก่ ขุยมะพร้าว และแกลบดิบ ในอัตราส่วน 2:1:1:1:1:1 ทำการเก็บตัวอย่างดินที่ระดับความลึก 15 เซนติเมตร วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) ประกอบด้วย 6 กรรมวิธี ดังนี้ 1) ควบคุม (ไม่ใส่วัสดุปรับปรุงดิน) 2-6) ใส่วัสดุปรับปรุงดินใน อัตรา 2.5, 5, 10, 15 และ 20 กิโลกรัมต่อต้น ตามลำดับ จากนั้นศึกษาสมบัติทางเคมีบางประการของวัสดุปรับปรุงดินและดินใต้ทรงพุ่มทุเรียนก่อนและหลังการใส่วัสดุปรับปรุงดิน เป็นระยะเวลา 6 เดือน ผลการทดลองพบว่า ภายหลังการใส่วัสดุปรับปรุงดินที่ระยะเวลา 6 เดือน ในอัตรา 20 กิโลกรัมต่อต้น ทำให้ค่าความเป็นกรด-ด่างในดินเพิ่มสูงขึ้นจาก 4.2 เป็น 6.0 อย่างมีนัยสำคัญ(p<0.05) และยังส่งผลให้ปริมาณอินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก ทองแดง และสังกะสีเพิ่มขึ้นด้วย แต่ปริมาณทองแดง แมงกานีส และสังกะสีที่แลกเปลี่ยนได้ในดินไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) โดยผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า การใช้วัสดุปรับปรุงดินในอัตรา 20 กิโลกรัมต่อต้น สามารถปรับปรุงค่าความเป็นกรด-ด่าง และเพิ่มปริมาณธาตุอาหารในดินภายใต้ทรงพุ่มทุเรียนได้
References
กรมพัฒนาที่ดิน. (2551). การใช้สารปรับปรุงดินในพื้นที่เกษตรกรรม. สำนักนิเทศและถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์: กรุงเทพฯ.
กรมพัฒนาที่ดิน. (2553). คู่มือการปฏิบัติงานกระบวนการวิเคราะห์ตรวจสอบดินทางเคมี. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์: กรุงเทพฯ.
เกศวดี พึ่งเกษม, สมชัย อนุสนธิ์พรเพิ่ม, ศุภิฌา ธนะจิตต์, เอิบ เขียวรื่นรมย์ และปรีชา เพชรประไพ. (2561). ผลของขี้เถ้าแกลบและโพแทสเซียมต่อสมบัติดินและมันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 80 ที่ปลูกในชุดดินสตึก. วารสารแก่นเกษตร. 46(5): 911-920.
จรัณธร บุญญานุภาพ, กัญจน์ชญา เม้าสิ้ว, ปฑมกร มูลทะสิทธิ์ และทยุต สุทำแปง. (2565). การประเมินความยั่งยืนเชิงเปรียบเทียบระหว่างระบบสวนทุเรียนพื้นเมืองแบบวนเกษตรและสวนทุเรียนผสมเชิงพาณิชย์บริเวณพื้นที่ต้นน้ำ ตำบลบ้านด่านนาขาม จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์. 4(1): 13-31.
จีราภรณ์ อินทสาร, ธัญจิตรา สุวรรณ์พิงคา และฉัตรปวีณ์ เดชจิรรัตนสิริ. (2566). ผลของกากตะกอนอ้อยต่อสมบัติทางเคมีดินบางประการในกลุ่มชุดดินที่ 35 ของจังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตร. 39(1): 59-70.
คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. (2548). ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: กรุงเทพฯ.
นิรันดร ทังสฤดี. (2556). ทดสอบการปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองในระบบเกษตรอินทรีย์ของจังหวัดตราด. รายงานการวิจัย. สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 2 กรมพัฒนาที่ดิน ตราด.
ปิยะ ดวงพัตรา. (2553). สารปรับปรุงดิน. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: กรุงเทพฯ.
พัชรี ธีรจินดาขจร. (2549). การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยการวิเคราะห์ดิน. มหาวิทยาลัยขอนแก่น: ขอนแก่น.
ศิราณี วงศ์กระจ่าง และบัญชา รัตนีทู. (2556). การจัดการดินทรายเพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตร. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 5: 184-194.
สุทธิภัทร แซ่ย่าง และจีราภรณ์ อินทสาร. (2563). ผลของวัสดุปรับปรุงดินต่อสมบัติทางกายภาพของดินบางประการใต้ทรงพุ่มมะม่วงอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี. วารสารวิจัยและส่งเสริมการเกษตร. 37(3): 9-17.
อภิศรา เตชะเชวงกุล และคณิตา ตังคณานุรักษ์. (2565). การใช้ประโยชน์มูลสัตว์เพื่อเป็นทางเลือกของการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเข้มข้นในการเกษตรของชุดดินรือเสาะ. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 22(1): 156-167.
Ankerman D. and Large R. (1988). Agronomy handbook. In Ankerman D. and Large R., Editor. Soil and plant analysis. Midwest Laboratories: Omaha. 110-132.
Bouajila K. and Sanaa M. (2011). Effects of organic amendments on soil physico-chemical and biological. Journal of Materials and Environmental Science. 2(1): 485-490.
Bray R.H. and Kurtz L.T. (1945). Determination of total organic and available form of phosphorus in soils. Soil Science. 59: 39-45.
Chittamart N., Inkam J., Ketrot D. and Darunsontaya T. (2016). Geochemical fractionation and adsorption characteristics of zinc in Thai major calcareous soils. Communications in Soil Science and Plant Analysis. 47(20): 2348-2363.
Dee B.M., Haynes R.J. and Meyer J.H. (2002). Sugar mill wastes can be important soil amendments. Proceedings of South African Sugar Technologists Association. 76: 51-60.
Jindo K., Mizumoto H., Sawada Y., Sanchez-Monedero M.A. and Sonoki T. (2014). Physical and chemical characterization of biochars derived from different agricultural residues. Biogeosciences. 11(23): 6613-6621.
Rana G.K., Singh Y., Mishra S.P. and Rahangdale H.K. (2018). Potential use of banana and its byproducts: A review. International Journal of Current Microbiology and Applied Sciences. 7(6): 1827-1832.
Rastija D., Zebec V. and Rastija M. (2014). Impacts of liming with dolomite on soil pH and phosphorus and potassium availabilities. Environmental Science, Agricultural and Food Sciences. 63: 193-196.
Srinarong S. and Panchaban S. (2003). Effect of filter cake, sludge cake and chemical fertilizer on growth and yield of five rice cultivars (Oryza sativa L.) grown on saline soil. Pakistan Journal of Biological Sciences. 6(5): 432-436.
Walkley A.J. and Black I.A. (1934). Estimation of soil organic carbon by the chromic acid titration method. Soil Science. 37: 29-38.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.อีสาน

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื่อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการดีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น