ผลของการใช้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในการเพาะเลี้ยงเห็ดถั่งเช่าสีทอง

ผู้แต่ง

  • อรลัดา เจือจันทร์ คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • นิภาวรรณ์ จิตโสภากุล คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • อุไรลักษณ์ พงษ์เกษ คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • หยาดนภา เจนรอบ สำนักงานวิทยาเขตสุรินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

เห็ดถั่งเช่าสีทอง, แกลบ , น้ำมะพร้าวแก่ , น้ำมะพร้าวอ่อน , ดักแด้ไหม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อศึกษาสูตรอาหารเลี้ยงเชื้อแข็งที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ดถั่งเช่าสีทอง และปริมาณที่เหมาะสมของแกลบและน้ำมะพร้าวในสูตรอาหารเพาะเลี้ยงเห็ดถั่งเช่าสีทอง พบว่า สูตรอาหารแข็งที่ให้การเจริญของเส้นใยเห็ดถั่งเช่าสีทองดีที่สุดคือ สูตรที่ 6 โดยใช้ไข่ไก่ผสมกับน้ำมะพร้าวร้อยละ 5 ต่อปริมาตรน้ำ 100 มิลลิลิตร ให้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นใยเห็ดถั่งเช่าสีทองมากที่สุด 4.73 เซนติเมตร ซึ่งมากกว่า (p≤0.05) สูตรควบคุม (PDA) และสูตรอื่น ๆ การใช้แกลบปริมาณร้อยละ 0.83, 1.67, 2.50, 3.33 และ 4.17 ในอาหารเพาะเลี้ยงเห็ดถั่งเช่าสีทองไม่มีความแตกต่าง (p>0.05) ในจำนวนก้านดอก น้ำหนักสด และน้ำหนักแห้ง แต่การใช้แกลบร้อยละ 2.50 ให้ความยาวของดอกเห็ดมากที่สุด (7.19 เซนติเมตร) แตกต่าง (p≤0.05) จากสูตรที่เติมแกลบในปริมาณน้อยกว่า ในงานวิจัยนี้พบว่า การเติมน้ำมะพร้าวแก่ให้ปริมาณก้านดอกเห็ด ความยาว และน้ำหนักมากกว่าการเติมน้ำมะพร้าวอ่อน นอกจากนี้ยังพบว่า การใช้น้ำมะพร้าวแก่ร้อยละ 33.33 และ 41.67 ให้จำนวนก้านดอกเห็ดสูงสุดเท่ากับ 19.67 และ 19.33 ก้าน ตามลำดับ (p>0.05) และให้น้ำหนักมากที่สุดแตกต่างจากตัวอย่างอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะเห็นได้ว่าการใช้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรทั้งแกลบและน้ำมะพร้าว มีผลต่อการเจริญเติบโตของเห็ดถั่งเช่าสีทอง ซึ่งน้ำมะพร้าวแก่ช่วยให้การเจริญเติบโตของเห็ดถั่งเช่าสีทองดีกว่าน้ำมะพร้าวอ่อน นับเป็นการนำวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์และมีมูลค่าเพิ่มขึ้น

References

จิราภา เฉียงพิมาย, เดือนเพ็ญ วงค์สอน, ภาวรินทร์ เพิ่มขุนทด และนิตยา ปิติวิทยากุล. (2564). ผลของเมล็ดธัญพืชต่อการสร้างเส้นใยและการสร้างดอกเห็ดถั่งเช่าสีทอง. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ราชมงคลสุรินทร์ ครั้งที่ 12 “วิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจวิถีใหม่” 16-17 กันยายน 2564. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์. F609-F615.

ณัฐพงษ์ สิงห์ภูงา, พีระศักดิ์ ฉายประสาท และบุญส่ง แสงอ่อน. (2559). ผลของสูตรอาหารเทียมต่อการเกิดดอกและการผลิตสารสำคัญทางยาของเห็ดถั่งเช่าสีทอง. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์. 3(ฉบับพิเศษ III): 34-46.

แพททริค เทรล์. (2566). แกลบ ประโยชน์ 10 ประการเพื่อการเกษตร. ค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2566. https://www.echocommunity.org/th/ resources/9f9bcb3a-ed2e-4209-bf90-38a759ff3340.

ศิวเรศ อารีกิจ. (2564). สายพันธุ์มะพร้าวไทย. บรรยายในงานมหกรรมในหลวงรักเรา ภูมิพลังแผ่นดิน. วันที่ 4 ธันวาคม 2564. ม.ป.ท. 1-6.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2566). สถานการ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์. ค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2566. https://www.oae.go.th/view/1/TH-TH.

อุไรลักษณ์ พงษ์เกษ, นิภาวรรณ์ จิตโสภากุล, อรลัดา เจือจันทร์ และหยาดนภา เจนรอบ. (2564). ผลของชนิดและพันธุ์ข้าวพื้นเมืองสุรินทร์ต่อผลผลิตเห็ดถั่งเช่าสีทอง. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ราชมงคลสุรินทร์ ครั้งที่ 12 “วิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจวิถีใหม่” 16-17 กันยายน 2564. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์. F861-F867.

Akter M., Halawani R.F., Aloufi F.A., Taleb M.A., Akter S. and Mahmood S. (2022). Utilization of agro-industrial wastes for the production of quality oyster mushrooms. Sustainability. 14(2): 1-10.

Baysal E., Peker H., Yalinkiliç M.K. and Temiz A. (2003). Cultivation of oyster mushroom on wastepaper with some added supplementary materials. Bioresource Technology. 89(1): 95-97.

Bonatti M., Karnoppa P., Soaresb H.M. and Furlana S.A. (2004). Evaluation of Pleurotus ostreatus and Pleurotus sajor-caju nutritional characteristics when cultivated in different lignocellulosic wastes. Food Chemistry. 88: 425-428.

Fonseca A.M., Monte F.J.Q., Maria da Conceição F., de Mattos M.C., Cordell G.A., Braz-Filho R. and Lemos T.L. (2009). Coconut water (Cocos nucifera L.)-A new biocatalyst system for organic synthesis. Journal of Molecular Catalysis B: Enzymatic. 57(1-4): 78-82.

Frimpong-Manso J., Obodai M., Dzomeku M. and Apetorgbor M.M. (2011). Influence of rice husk on biological efficiency and nutrient content of Pleurotus ostreatus (Jacq. ex. Fr.) Kummer. International Food Research Journal. 18: 249-254.

Gregori A. (2014). Cordycepin production by Cordyceps militaris cultivation on spent brewery grains. Acta Biological Slovenica. 57(2): 45-52.

Iruoma A.C. and Nduka D.E. (2013). Comparison of sawdust and rice husk as casing materials for Pleurotus pulmonarius propagation on cassava peel substrate. Agriculture and Biology Journal of North America. 4: 552-554.

Jacob J.K.S., Kalaw S.P. and Reyes R.G. (2015). Mycelial growth performance of three species of Pleurotus on coconut water gelatin. Current Research in Environmental & Applied Mycology. 5(3): 263-268.

Juliano B.O. and Tuaño A.P.P. (2019). Gross structure and composition of the rice grain. In rice (pp. 31-53). AACC International Press.

Kim Y.S., Lim J.M., Ku B., Cho H. and Choi J. (2021). Alteration in ginsenoside and cordycepin content by solid-state fermentation of red ginseng with Cordyceps militaris. Accessed 23 Oct. 2023. https://scite.ai/reports/10.17221/149/2020-cjfs.

Nguyen M.P. (2020). Synergistic effect of acoustic and vacuum drying to antioxidant attributes of Cordyceps militaris. Accessed 23 Oct. 2023. https://scite.ai/reports/10.9734/jpri/2020/v32i230399.

Obodai M., Cleland-Okine J. and Vowotor K.A. (2003). Comparative study on the growth and yield of Pleurotus ostreatus mushroom on different lignocellulosic by-products. Journal of Industrial Microbiology and Biotechnology. 30: 146-149.

Oei P. (1996). Mushroom cultivation with special emphasis on appropriate techniques for developing countries. Tool Publications. Leiden. The Netherlands. pp 155.

Osazuwa O.E. and Ahonkhai I. (1989). Coconut water as growth medium for micro-organisms. Nigerian Journal of Palms Oil Seeds. 10(11): 91-95.

Prades A., Dornier M., Diop N. and Pain J.P. (2012). Coconut water uses, composition and properties: a review. Fruits. 67(2): 87-107.

Pramith P. (1998). Oil separation from coconut water by microfiltration method. Rep. No. 62 17. National Food Research Institute. Tsukuba Ibaraki Japan.

Santoso U., Kubo K., Ota T., Tadokoro T. and Maekawa A. (1996). Nutrient composition of kopyor coconuts (Cocos nucifera L.). Food chemistry. 57(2): 299-304.

Shashidhar G.M., Kumar S.S., Giridhar P. and Manohar B. (2017). Antioxidant and cholesterol esterase inhibitory properties of supplementation with coconut water in submerged cultivation of the medicinal Chinese caterpillar mushroom, Ophiocordyceps sinensis CS1197 (Ascomycetes). International Journal of Medicinal Mushrooms. 19(4): 337-345.

Takahashi J.A., Barbosa B.V.R., Martins B.D.A., Guirlanda C.P. and Moura M.A.F.E. (2020). Use of the versatility of fungal metabolism to meet modern demands for healthy aging, functional foods, and sustainability. Accessed 23 Oct. 2023. https://scite.ai/reports/10.3390/jof6040223.

Tan Y.H. and Wahab M.N. (1997). Extracellular enzyme production during anamorphic growth in the edible mushroom, Pleurotus sajor-caju. World Journal of Microbiology and Biotechnology. 13: 613-617.

Thongklang N. and Luangharn T. (2016). Testing agricultural wastes for the production of Pleurotus ostreatus. Mycosphere. 7(6): 766-772.

Ukoima H.N., Ogbonnaya L.O., Arikpo G.E. and Ikpe F.N. (2009). Cultivation of mushroom (Volvariella volvacea) on various farm wastes in obubra local government of cross river state, Nigeria. Pakistan Journal of Nutrition. 8(7): 1059-1061.

Walter E.H.M., Nascimento M.S. and Kuaye A.Y. (2009). Efficacy of sodium hypochlorite and peracetic acid in sanitizing green coconuts. Letters in Applied Microbiology. 49: 366-371.

Wazir S.K.S. (1997). Technologies on environment–friendly young tender coconuts. in Proceeding COCOTECH Meeting. Asia-Pacific Coconut Community. Manila. Philippines.

Xie C.Y., Gu Z.X. and Fan G.J. (2009). Production of cordycepin and mycelia by submerged fermentation of Cordyceps militaris in mixture natural culture. Applied Biochemistry and Biotechnology. 158: 483-492.

เผยแพร่แล้ว

27-12-2024

How to Cite

เจือจันทร์ อ., จิตโสภากุล น. ., พงษ์เกษ อ. ., & เจนรอบ ห. . (2024). ผลของการใช้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในการเพาะเลี้ยงเห็ดถั่งเช่าสีทอง. วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.อีสาน, 5(3), 89–100. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/262237