อิทธิพลของพาโคลบิวทราโซลต่อการเจริญเติบโตและวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี ของดอกสายหยุด

ผู้แต่ง

  • อนันต์ พิริยะภัทรกิจ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) จังหวัดปทุมธานี
  • พรกมล รูปเลิศ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) จังหวัดปทุมธานี
  • มารียาห์ แสนแก้ว ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) จังหวัดปทุมธานี
  • พัชรี เดชเลย์ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) จังหวัดปทุมธานี
  • นิรันดร์ วิพันธุ์เงิน วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

ดอกสายหยุด , พาโคลบิวทราโซล , การเจริญเติบโต , องค์ประกอบทางเคมี

บทคัดย่อ

การใช้สารพาโคลบิวทราโซลต่อการเจริญเติบโตเพื่อกระตุ้นตาดอก และให้จำนวนดอกดก และวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีในดอกสายหยุด โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มบล็อกสมบูรณ์ (Randomized complete block design: RCBD) ณ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ระหว่างเดือนกรกฎาคม-พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ประกอบด้วยระดับความเข้มข้นของสารพาโคลบิวทราโซล จำนวน 5 ระดับ ได้แก่ 0 5.5 6.5 7.5 และ 8.5 กรัมต่อลิตร โดยปลูกลงกระถางดำขนาด 20 นิ้ว ใช้วัสดุปลูก ได้แก่ มะพร้าวสับร่วมกับดินผสมใบก้ามปู อัตราส่วน 1:1 ราดสารพาโคลบิวทราโซลลงดินทุก 15 วันหลังปลูก บันทึกการเจริญเติบโตทุก 15 วัน เป็นเวลา 2 เดือน และบันทึกจำนวนดอกเป็นเวลา 3 เดือน จากการทดลอง พบว่า ต้นสายหยุดอายุ 2 เดือน ส่งผลให้ต้นควบคุมมีความสูงต้น จำนวนยอด ขนาดทรงพุ่ม มากที่สุด เท่ากับ 99.9 เซนติเมตร 11 ยอดต่อต้น 58.5 เซนติเมตร ส่วนจำนวนดอก และน้ำหนักสดดอก มีค่าเท่ากับ 85 และ 8.98 กรัม ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า การใช้สารพาโคลบิวทราโซลสามารถชะลอการเจริญเติบโต ทำให้พืชมีความสูง และความกว้างทรงพุ่มลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับต้นปกติ ส่วนสารที่เป็นองค์ประกอบของน้ำมันหอมระเหย พบว่า มีจำนวน 35 ชนิด เป็นองค์ประกอบหลัก ได้แก่ Asarone (50.50%) ᵦ-Asarone (16.65%) Isohomogenol (9.06%) 6-Epishyobunone (4.33%) (+)-2-Bornanone (1.98%) Trans-ᵦ-Ocimene (1.74%) 3-Carene (1.10%) และพบสารประกอบอื่นที่เป็นประโยชน์อีกหลายชนิด

Author Biography

พัชรี เดชเลย์, ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) จังหวัดปทุมธานี

ปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีการจัดการเกษตร

References

จารุวรรณ เฮียงมะณี. (2545). การใช้สารพาโคบิวทราโซลในการผลิตกุหลาบหนูเป็นไม้ดอกกระถางขนาด 4 นิ้ว. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ใจศิลป์ ก้อนใจ. (2542). การศึกษาอิทธิพลของสารพาโคลบิวทราโซลที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและการออกดอกของชวนชม. รายงานการวิจัย. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่.

ธนวดี พรหมจันทร์, กันยารัตน์ หรัถยา, พรนภา รุ่งสว่าง, อาริสา ทับทิม และพิมพ์ใจ มีตุ้ม. (2558). ผลของปริมาณการให้สารละลายพาโคลบิวทราโซลที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและการออกดอกของดาวเรืองพันธุ์ลูกผสมอเมริกัน. วารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 34(1): 26-37.

นิติพัฒน์ พัฒนฉัตรชัย. (2557). พาโคลบิวทราโซล : ผลต่อการเติบโตของทรงพุ่มและปริมาณคลอโรฟิลล์ของชวนชมพันธุ์ฮอลแลนด์. วารสารแก่นเกษตร. 42(1): 39-46.

ปิยะ เฉลิมกลิ่น, จิรพันธ์ ศรีทองกุล และอนันต์ พิริยะภัทรกิจ. (2548). ไม้ดอกหอมในป่าสะแกราช. สำนักพิมพ์สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย: กรุงเทพฯ.

พีรเดช ทองอำไพ. (2546). ฮอร์โมนพืชและสารสังเคราะห์กับการผลิตพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: กรุงเทพฯ.

เมธิน ผดุงกิจ. (2566). องค์ประกอบทางเคมีในพืชสมุนไพร. ค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2567. https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=1419

วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. (2542). สายหยุด. พจนานุกรมไม้ดอกไม้ประดับในเมืองไทย. สำนักพิมพ์อักษรพิทยา: กรุงเทพฯ.

องอาจ หาญชาญเลิศ. (2534). การใช้สารพาโคลบิวทราโซลเพื่อผลิตเบญจมาศพันธุ์เหลืองไต้หวันเป็นไม้ดอกกระถาง. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 29 รายงานผลการวิจัย 4-7 กุมภาพันธ์ 2534. สาขาพืชมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 595-601.

Chatpaisarn A., Laohakunjitn N. and Kerdchoechuen O. (2010). Identification of components Michelia alba DC. essential oil by solid-phase micro extraction head space gas chromatography mass spectrometry. Agricultural Science Journal. 41(3): 641-644.

Gad M., Schmidt G. and Gerzson L. (1997). Comparison of application methods of growth retardant on the growth and flowering of Fuchsia magellanica Lam. Hort Science. 29: 70-73.

Grzesik M., Joustra M.K. and Marczynski S. (1992). Effect of gibberellin GA3, paclobutrazol, chlormequat, and nutritional levels on the growth of rhododendron‘Baden Baden’. Gartenbauwissen Schaft. 57(1): 25-28.

Karaguzel O., Baktir I., Cakmakci S. and Ortacesme V. (2004). Growth and flowering responses of Lupinus varius L. to paclobutrazol. Journal of American Society for Horticultural Science. 39(7): 1659-1663.

Koutroubas S.D., Vassiliou G. Fotiadis S. and Alexoudis C. (2004). Response of sunflower to plant growth regulators. In New Directions for a Diverse Planet: In Proceedings 4th International Crop Science Congress. http://www.cropscience.org.au/icsc2004/poster/2/7/4/851_koutroubas.htm

Lee M.H., Chen Y.Y., Tsai J.W., Wang S.C., Watanabe T. and Tsai Y.C. (2011). Inhibitory effect of ᵦ-asarone, a component of Acorus calamus essential oil, on inhibition of adipogenesis in 3T3-L1 cells. Food Chemistry. 126(1): 1-7.

Mubarok A. (2008). Hopkins-Introduction to Plant Physiology. Accessed 27 March 2024. https://www.academia.edu/29758476/Hopkins_Introduction_to_Plant_Physiology_4th_ed.

Mansuroglu S., Karaguzel O., Ortacesme V. and Sayan M.S. (2009). Effect of paclobutrazol on flowering, leaf and flower colour of Consolida orientalis. Pakistan Journal of Botany. 41(5): 2323-2332.

Saenthongkham A., Neera S., Jogloy S. and Hongpakdee P. (2019). Effects of PBZ and MPC for control of growth and flowering of potted jerusalem artichoke (Helianthus tuberosus L.). King Mongkut's Agricultural Journal. 37(2): 200–211.

Sterrett J.P. (1985). Paclobutrazol: A promising growth in-hibitor for injection into woody plants. Journal of American Society for Horticultural Science. 110(1): 4-8.

เผยแพร่แล้ว

27-12-2024

How to Cite

พิริยะภัทรกิจ อ., รูปเลิศ พ. ., แสนแก้ว ม. ., เดชเลย์ พ., & วิพันธุ์เงิน น. . (2024). อิทธิพลของพาโคลบิวทราโซลต่อการเจริญเติบโตและวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี ของดอกสายหยุด. วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.อีสาน, 5(3), 59–66. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/263084