ระบบชลประทานน้ำหยดเพื่อรับมือกับภัยแล้ง: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลออนใต้ จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ชลประทานน้ำหยด , ภัยแล้ง , การจัดการความรู้ , การมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
การจัดการความรู้ระบบชลประทานน้ำหยดเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและการรับมือกับภัยแล้งให้แก่เกษตรกรออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ โดยศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลระหว่างระบบชลประทานน้ำหยด (เทปน้ำหยด) และระบบร่องคูเล็ก (วิธีดั้งเดิม) ในการปลูกพริกระดับแปลงสาธิต ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการที่สำคัญต่อความสำเร็จของการจัดการความรู้ ได้แก่ 1) การระบุปัญหาและความรู้ที่เกษตรกรต้องการนำมาปรับใช้ 2) การคัดเลือกองค์ความรู้และเทคนิคที่เหมาะสมในการจัดการความรู้ 3) การสร้างความรู้และการปรับใช้เทคโนโลยีแบบมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน และ 4) การรวบรวมและจัดเก็บความรู้อย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ยังพบปัจจัย (6 ประเด็น) ที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการจัดการความรู้การปลูกพริก พบว่า การใช้น้ำของระบบเทปน้ำหยดมีค่าเฉลี่ย 0.59-0.79 ลิตร/ต้น/เดือน ส่วนการใช้น้ำของระบบร่องคูเล็กมีค่าเฉลี่ย 1.62-2.72 ลิตร/ต้น/เดือน การให้น้ำแบบเทปน้ำหยดส่งผลให้ความสูงและจำนวนใบต่อต้นของพริกมากกว่าการให้น้ำแบบร่องคูเล็กร้อยละ 25.15 และ ร้อยละ 121.10 อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ระบบเทปน้ำหยดให้ผลผลิตพริก (นอกฤดู) สูงกว่าระบบร่องคูเล็กเฉลี่ย 2.3 เท่า ระยะเวลาในการคืนทุนของระบบเทปน้ำหยดและระบบร่องคูเล็กเฉลี่ย 0.19 ปี และ 0.35 ปี ตามลำดับ ประเด็นความพึงพอใจในการขยายผล ได้แก่ การประหยัดน้ำ การประหยัดเวลา การสร้างรายได้เสริม ความมั่นคงด้านอาหาร รวมทั้งการผ่อนแรงเกษตรกรผู้สูงอายุ
References
จักรกฤษณ์ มีใย. (2551). การจัดการการผลิตอ้อยระบบน้ำหยดใต้ดิน : กรณีศึกษา ไร่ตั้งจิตรพืชผล ตำบลบ้างดุง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี. รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจเกษตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชมภูนุช หุ่นนาค, ศิริวัฒน์ เปลี่ยนบางยาง และวรรณารัตน์ อัศวเดชาชาญยุทธ์. (2560). การสร้างชุมชนเข้มแข็งด้วยกระบวนการจัดการความรู้ในการทำเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 28(2): 58-166.
เทศบาลตำบลออนใต้. (2566). ข้อมูลและสภาพทั่วไป. ค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2566. https://www.ontai.go.th/.
บัญจรัตน์ โจลานันท์ และมนฤดี ม่วงรุ่ง. (2557). การเสริมสร้างความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของชุมชนเกษตรกรออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก. 7(2): 14-22.
ปาริชาติ คุณปลื้ม. (2560). การพัฒนากระบวนการจัดการความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น: กรณีศึกษากลุ่มโอทอปภาคตะวันออก. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย. 9(3): 273-295.
เยาวรัชย์ พรประสิทธิ์, เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์ และสุรพร เสี้ยนสลาย. (2567). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการจัดการความรู้ของกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษา สำนักงานเขตกลุ่มกรุงเทพใต้. วารสารการจัดการสมัยใหม่. 12(1): 50-61.
ระวิน สืบค้า. (2557). การให้น้ำแบบหยดแก่ไม้ผลที่ปลูกเชิงแถบอนุรักษ์ในระบบเกษตรน้ำฝนบนที่ลาดชัน. วารสารนเรศวรพะเยา. 7(3): 233-241.
วีระ ภาคอุทัย และเยาวรัตน์ ศรีวรานนท์. (2557). พริก ปลูกอย่างไรในภาวะโลกกำลังร้อน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย: กรุงเทพฯ.
วิจารณ์ พานิช. (2549). การจัดการความรู้: ฉบับนักปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. สำนักพิมพ์สุขภาพใจ. สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กระทรวงอุตสาหกรรม: กรุงเทพฯ.
ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ กรมชลประทาน. (2567). สรุปสถานการณ์น้ำ. ค้นเมื่อ 9 มกราคม 2567. http://water.rid.go.th/flood/plan.html.
สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน). (2566). คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ. ค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2566. https://www.hii.or.th/.
สุพจน์ ทนทาน. (2560). การจัดการความรู้เพื่อพัฒนากลยุทธ์การจัดการพลังงานชุมชนในเขตภาคเหนือตอนบน. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
สุเมษย์ หนกหลัง. (2561). การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง การใช้ประโยชน์จากต้นจากในชุมชนเกาะหยงสตาร์ จังหวัดตรัง. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง. 7(1): 179-208.
สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร. (2557). ระบบให้น้ำพืช. ค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2557. www.agriqua.doae.go.th.
อำนาจ วัดจินดา. (2560). การพัฒนาการองค์กรแห่งการเรียนรู้. ค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2560. www.hrcenter.co.th.
Watkins K. (2006). Human development report 2006 - beyond scarcity: power, poverty and the global water crisis. Accessed 15 May 2015. http://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=2294691.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.อีสาน

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื่อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการดีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น