นวัตกรรมการจัดการศัตรูพืชแบบบูรณาการ: คอมพิวเตอร์บอร์ดเดี่ยวขนาดเล็กต้นทุนต่ำสำหรับการไล่หนูด้วยเสียง แสง และการสั่นสะเทือน

ผู้แต่ง

  • ปิยะวิชญ์ ปิยะวัฒน์ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย จังหวัดสงขลา
  • ธวัชชัย ปิยะวัฒน์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา (ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกษียณอายุราชการ)

คำสำคัญ:

คอมพิวเตอร์บอร์ดเดี่ยว, การขับไล่ศัตรูพืช, อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง, การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน, ราสเบอร์รี่พาย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต้นแบบและประเมินประสิทธิภาพของอุปกรณ์ขับไล่หนูแบบหลายประสาทสัมผัสที่ใช้เสียง แสง และการสั่น โดยเน้นถึงประโยชน์ของการใช้วิธีการผสมผสานซึ่งให้ผลดีกว่าการใช้วิธีขับไล่เพียงวิธีใดวิธีหนึ่ง อุปกรณ์พัฒนาขึ้นโดยใช้ Raspberry Pi ที่มีขนาดเล็กและต้นทุนต่ำ และได้รับการทดสอบในด้านประสิทธิภาพในการลดการบุกรุกของหนูโดยใช้การวิเคราะห์ทางสถิติแบบ One-Way ANOVA และ Tukey's HSD อีกทั้งใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ซึ่งพบว่า การผสมผสานเสียง แสง และการสั่นช่วยลดการบุกรุกของหนูและความเสียหายต่อพืชผลได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับการใช้วิธีใดวิธีหนึ่งเพียงอย่างเดียว ผลการศึกษาเน้นความสำคัญของการจัดการศัตรูพืชแบบบูรณาการ (Integrated Pest Management; IPM) ซึ่งสนับสนุนการผสมผสานวิธีการควบคุมศัตรูพืชที่หลากหลาย การรวมการขับไล่หลายประสาทสัมผัสเข้าด้วยกันสอดคล้องกับหลักการ IPM โดยการสร้างอุปสรรคที่ประสิทธิภาพสูงขึ้นในการป้องกันการปรับตัวของหนูและช่วยลดความเสี่ยงที่หนูจะชินต่อการขับไล่ และการพบความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างระยะเวลาการทำงานของอุปกรณ์กับความถี่การบุกรุกของหนู อาจบ่งชี้ถึงการปรับตัวของหนูเมื่อได้รับการขับไล่เป็นเวลานาน แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการใช้กลยุทธ์ IPM ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ เพื่อให้การขับไล่หนูมีประสิทธิภาพในระยะยาว ผลการวิจัยนี้ช่วยสนับสนุนการประยุกต์ใช้นวัตกรรมที่มีขนาดเล็กต้นทุนต่ำและกลยุทธ์การควบคุมศัตรูพืชเพื่อการพัฒนาต่อไปในด้านเทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืชแบบ IPM ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของการเกษตรที่ยั่งยืนและความมั่นคงทางอาหาร

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2567). ปลูกข้าว-ข้าวโพด ช่วงนี้เริ่มให้ผล ระวังหนูทำลายเสียหาย. ค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2567. https://doaenews.doae.go.th/archives/24307.

จักรพันธ์ นาน่วม. (2565). ความ (ไม่) ยั่งยืนของการทำนาข้าวในภาคตะวันออกของประเทศไทย. วารสารวิจัยสังคม. 45(2): 34-58.

พลากร ดวงเกตุ. (2565). หนี้สินครัวเรือนเกษตรของประเทศไทย: ความท้าทายที่ต่อเนื่อง. วารสารประชากรศาสตร์. 38(1): 60-71.

มาโนชญ์ แสงศิริ. (2562). Raspberry Pi คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กสำหรับด้านการศึกษา. ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2566. https://www.scimath.org/article-technology/item/9104-raspberry-pi.

สำนักระบาดวิทยา. (2567). รายงานโรคในระบบเฝ้าระวัง. ค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2567. http://doe.moph.go.th/surdata/506wk/y67/d43_2367.pdf.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช). (2563). Smart Farming การเกษตรอัจฉริยะ. ค้นเมื่อ 25 กันยายน 2566. https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/20200313-smart-farming.pdf.

Albanese A., Nardello M. and Brunelli D. (2021). Automated pest detection with DNN on the edge for precision agriculture. Accessed 6 August 2023. https://arxiv.org/abs/2108.00421.

Carman R.A., Quimby F.W. and Glickman G.M. (2007). The effect of vibration on pregnant laboratory mice. In INTER-NOISE and NOISE-CON Congress and Conference Proceedings. Istanbul, Turkey. 1722-1731.

Fernández-Juricic E. (2016). The role of animal sensory perception in behavior-based management. Accessed 20 September 2023. https://estebanfj.bio.purdue.edu/papers/Ch6ConservBehav.pdf.

Ghorse V., Kene J. and Agrawal R. (2022). Arduino based insect & rodent repeller for living & working spaces. Accessed 20 September 2023. https://www.researchgate.net/publication/368314978_Arduino_based_insect_rodent_repeller_for_living_working_spaces.

Jindarat S. and Wuttidittachotti P. (2015). Smart farm monitoring using Raspberry Pi and Arduino. In International Conference on Computer, Communications, and Control Technology (I4CT) Proceeding 2-4 September 2014. Kuching. Malaysia. 284-288.

Rahman W., Hossain E., Islam R. and Rashid H.A. (2020). Real-time and low-cost IoT based farming using Raspberry Pi. Indonesian Journal of Electrical Engineering and Computer Science. 17(1): 197-204.

Singleton G. (2003). Impacts of rodents on rice production in Asia. Accessed 15 November 2024. http://books.irri.org/971220183X_content.pdf.

United States Environmental Protection Agency (EPA). (2023). Integrated pest management (IPM) principles. Accessed 20 September 2023. https://www.epa.gov/safepestcontrol/integrated-pest-management-ipm-principles.

Young S.L. (2017). A systematic review of the literature reveals trends and gaps in integrated pest management studies conducted in the United States. Pest Management Science. 73(8): 1553-1558.

เผยแพร่แล้ว

09-04-2025

How to Cite

ปิยะวัฒน์ ป., & ปิยะวัฒน์ ธ. . (2025). นวัตกรรมการจัดการศัตรูพืชแบบบูรณาการ: คอมพิวเตอร์บอร์ดเดี่ยวขนาดเล็กต้นทุนต่ำสำหรับการไล่หนูด้วยเสียง แสง และการสั่นสะเทือน. วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.อีสาน, 6(1), 68–81. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/264207