โรงเรือนเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดระบบปิดโดยใช้เทคโนโลยีทางสถาปัตยกรรมเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตจิ้งหรีดนอกฤดูกาลสำหรับวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการเชิงพาณิชย์จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • อาณัฐพงษ์ ภาระหัส คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จังหวัดสกลนคร
  • สิทธิรักษ์ แจ่มใส คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จังหวัดสกลนคร
  • กิตติวัฒน์ จีบแก้ว คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จังหวัดสกลนคร
  • กฤษฎา พรหมพินิจ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จังหวัดสกลนคร
  • ภัทราวุธ ศรีคุ้มเก่า คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จังหวัดสกลนคร
  • ฟุ้งศรี ภักดีสุวรรณ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จังหวัดสกลนคร
  • จตุรงค์ ศรีทอง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จังหวัดสกลนคร
  • ลลินี ทับทิมทอง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จังหวัดสกลนคร
  • ภาคภูมิ ซอหนองบัว คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ:

โรงเรือนอัจฉริยะ, สถาปัตยกรรม, สภาพอากาศ , จิ้งหรีด, อินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาโรงเรือนเลี้ยงจิ้งหรีดระบบอัจฉริยะ โดยใช้หลักการออกแบบทางสถาปัตยกรรมเพื่อประหยัดพลังงาน สร้างสภาวะที่เหมาะสมต่อการขยายพันธุ์ของจิ้งหรีด เพิ่มผลผลิตนอกฤดูกาล และให้ได้มาตรฐาน GAP ร่วมกับการพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) เพื่อควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือนอัจฉริยะ การออกแบบโรงเรือนเน้นการควบคุมสภาพแวดล้อมด้วยการติดตั้งเซนเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้น พัดลมดูดพัดลมเป่า ปั๊มน้ำพ่นหมอก และระบบแสงสว่าง ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าระบบสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมในโรงเรือนและปรับตั้งค่าการทำงานผ่านหน้าจอควบคุมและโทรศัพท์มือถือได้ นอกจากนี้ยังช่วยในการรับรู้ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว กลุ่มเป้าหมายคือเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงจิ้งหรีดในตำบลนาแก้ว อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร จากการทดลองเลี้ยงจิ้งหรีดในโรงเรือนต้นแบบ พบว่า ในช่วงฤดูร้อนอุณหภูมิภายในโรงเรือนจะสูงกว่าอุณหภูมิภายนอก ข้อมูลก่อนการติดตั้งระบบควบคุมอุณหภูมิ พบว่า อุณหภูมิต่ำสุดอยู่ที่ 22.13°C และสูงสุดที่ 42.92°C การควบคุมด้วยมือแสดงให้เห็นถึงช่วงเวลาทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งแตกต่างจากการควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติ โดยการควบคุมด้วยแอปพลิเคชัน Blynk สามารถควบคุมพัดลมและปั๊มพ่นละอองหมอกได้ดี การถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับกลุ่มเกษตรกรเน้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการเลี้ยงจิ้งหรีด การใช้เครื่องมือทันสมัยในการควบคุมอุณหภูมิ เพิ่มประสิทธิภาพในการเลี้ยงจิ้งหรีด และแนะนำเรื่องการจัดการธุรกิจและการตลาดสินค้า การพัฒนานี้เชื่อมโยงกับแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยสร้างชุมชนที่มีการแลกเปลี่ยนความรู้และสนับสนุนนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตของกลุ่มเลี้ยงจิ้งหรีดในระยะยาว

References

ชลดา ยอดยิ่ง. (2561). การออกแบบและพัฒนาโครงสร้างโลกอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจกโดยการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นอัตโนมัติเพื่อใช้ในการผลิตอาหารแหงเพื่อการพาณิชย์. รายงานการวิจัย. คณะ เทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มหาสารคาม.

ชลดา ยอดยิ่ง. (2562). การออกแบบและพัฒนาเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับผลิตผลทางการเกษตร. รายงานการ วิจัย. คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มหาสารคาม.

บงกช ประสิทธ์ และสุขฤดี นาถกรณกุล. (2550). การใช้เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบอุโมงค์แปรรูปผลิตผลทาง การเกษตร. วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก.

บริษัท เอ็นโซล จำกัด. (2554). โครงการสนับสนุนการลงทุนติดตั้งใช้งานระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์. กระทรวงพลังงาน: กรุงเทพฯ.

รจเรศ พรจันทร์. (2563). การศึกษาและพัฒนาโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับการแปรรูปอาหาร. วารสารวิจัย การเกษตรไทย. 10(1): 45-52.

วีรญา นาคพนม. (2565). การศึกษาผลกระทบของการใช้ระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ต่อคุณภาพผลิตผลทางการเกษตร. วารสารเกษตรกรรมไทย. 14(3): 123-130.

สุจิตรา พันธุ์ทอง. (2567). การประเมินประสิทธิภาพของระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบดัดแปลง. วารสารพลังงาน ทดแทน. 11(2): 85-92.

อนุสรณ์ แสงเจริญ. (2558). การพัฒนาระบบควบคุมการทำงานของโรงอบแห้งแสงอาทิตย์แบบเรือนเรือนกระจกหลังคา รูปทรงคาโบลา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อนุสรณ์ แสงเจริญ. (2561). การพัฒนาระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้น. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ ภาควิชาฟิสิกส์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Ahmad I., Chen K., Wang Y. and Ullah I. (2020). Smart farming: Internet of things (IoT)-based sustainable agriculture. Agriculture. 12(10): 1745. https://doi.org/10.3390/agriculture12101745.

Liu Y., Shen Y. and Wu Z. (2021). Internet of things for the future of smart agriculture: A comprehensive survey of emerging technologies. Journal of Agricultural Systems. 15(1): 23-135. https://doi.org/10.1109/JAS.2021.3051174.

Chen Y., Wang H. and Zhou X. (2019). IoT applications in agriculture: Sustainable resource management in farming. Journal of Smart Agriculture. 9(4): 395-420. https://doi.org/10.1016/j.compag.2017.09.015

Wang X., Zhao L. and Tao W. (2020). Internet of things (IoT) for sustainable smart agriculture. Transactions on Agricultural Systems. 20(7): 189-205. https://doi.org/10.1109/TAS.2020.106352.

เผยแพร่แล้ว

09-04-2025

How to Cite

ภาระหัส อ. ., แจ่มใส ส., จีบแก้ว ก., พรหมพินิจ ก., ศรีคุ้มเก่า ภ. ., ภักดีสุวรรณ ฟ., ศรีทอง จ. ., ทับทิมทอง ล. ., & ซอหนองบัว ภ. . (2025). โรงเรือนเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดระบบปิดโดยใช้เทคโนโลยีทางสถาปัตยกรรมเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตจิ้งหรีดนอกฤดูกาลสำหรับวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการเชิงพาณิชย์จังหวัดสกลนคร. วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.อีสาน, 6(1), 110–124. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/264858