พัฒนาการของผลและปริมาณความร้อนสะสมของลำไยพันธุ์ดอ ในจังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระยะพัฒนาการของผลและปริมาณความร้อนสะสม สำหรับเก็บ เกี่ยวลำไยพันธุ์ดอนอกฤดูในเดือนมกราคม ดำเนินการโดยการเก็บข้อมูลพัฒนาการของผลระยะต่างๆ 11 ระยะ โดยเริ่มตั้งแต่ 144-179 วันหลังดอกบาน ผลการศึกษาพบว่าลำไยหลังดอกบานตั้งแต่ 144-179 วัน มีลักษณะการพัฒนาการของผลแบ่งเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงที่ลักษณะการพัฒนาที่เร็ว (144-158 วันหลังดอก บาน) และช่วงที่ชะลอการเจริญเติบโต (162-179 วันหลังดอกบาน) ส่วนการสะสมปริมาณของแข็งที่ละลาย นํ้าได้เพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลาพัฒนาการ แต่ลดลงเล็กน้อยในระยะสุดท้ายที่ศึกษา (179 วันหลังดอกบาน) จากคุณภาพผลที่ได้พบว่า ระยะที่เหมาะสมสำหรับเก็บเกี่ยวลำไยพันธุ์ดอนอกฤดูคือช่วงอายุ 172-176 วัน หลังดอกบาน โดยมีปริมาณความร้อนสะสมที่คำนวณได้อยู่ในช่วง 2,330-2,366 GDD และพบว่าความ สัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการของผล (y, นํ้าหนักผล) กับปริมาณความร้อนสะสม (x, GDD) สามารถอธิบาย ตามสมการ y = -0.00002(x)2 + 0.1205(x) - 141.67 โดยมีค่า R2 = 0.97
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ทรงศักดิ์ ธรรมจำรัส ธีรนุช เจริญกิจ พาวิน มะโนชัยและเสกสันต์ อุสสาหตานนท์. 2552. การหาดัชนีการเก็บเกี่ยวลำไยนอกฤดูโดยวิธีการคำนวณปริมาณความร้อนสะสม. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 40(พิเศษ)(3): 194-197.
บรรณราศี โพธิพฤกษ์. 2546. อุณหภูมิที่ทำให้ลำไยหยุดการเจริญเติบโต หน่วยความร้อนสะสมระหว่างการเจริญเติบโตของผลลำไยและผลของการวางเมล็ดในวัสดุเพาะและระยะเวลาการเก็บรักษาเมล็ดต่อการงอกของเมล็ดลำไย. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี ภาควิชาพืชสวน,คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,เชียงใหม่.
บุญชนะ วงศ์ชนะ และมนตรี อิสรไกรศีล. 2551. การเติบโตและพัฒนาของผลลำไยพันธุ์ดอในภาคใต้. หน้า 86. ใน: บทคัดย่อ การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 7 พืชสวนไทยใต้ร่มพระบารมี. 26-30 มิถุนายน 2551 ณ โรงแรมอมรินทร์ลากูน อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก.
บุญชนะ วงศ์ชนะ และมนตรี อิสรไกรศีล. 2552. การเติบโตและพัฒนาของผลลำไยพันธุ์ดอในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการเกษตร 27(2): 151-158.
บุญชาติ คติวัฒน์. 2551. ผลของสารโพแทสเซียมคลอเรตต่อการออกดอกและติดผลของลำไยพันธุ์อีดอในรอบปี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.
Diczbalis, Y. and J. Drinnan. 2007. FloralManipulation and Canopy Management in Longan and Rambutan (RIRDC Publication no 07/031). The Rural Industries Research and Development Corporation, Australian Government,Kington Australia.
Jaroenkit, T., S. Ussahatanonta, S. Thamjumrat and C. Sritontip. 2014. Determination of longan (Dimocarpuslongan ‘Daw’) baseline temperaturein Thailand. Acta Hort. 1029: 163-168.
Raghavendraprasad, G. C., P. H. Ashok. and N. Adivappar. 2004. Heat unit as a maturity index for certain mango cultivars. Karnataka. Journal of Hort.1(1): 73-76.
Salazar, D. M., P. Melgarejo, R. Martinez, J. J. Martinez, F. Hernandez and M. Burguera. 2006. Phenological stages of the guava tree (Psidium guajava L). Scientia Hort. 108: 157-161.