ทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อการทำเกษตรกรรมตามแนวทาง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเขตเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

Main Article Content

ปภพ จี้รัตน์
พุฒิสรรค์ เครือคำ
พหล ศักดิ์คะทัศน์
สายสกุล ฟองมูล

บทคัดย่อ

     การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของ เกษตรกร 2) เพื่อศึกษาทัศนคติที่มีต่อการทำเกษตรกรรมตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3) เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติในการทำเกษตรกรรมตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ 4) เพื่อ ศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการสร้างทัศนคติในการทำเกษตรกรรมตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของเกษตรกรในเขตเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน กลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ เกษตรกรที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน จำนวน 272 คนซึ่งได้จาก การสุ่มตัวอย่าง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิง พรรณนา ประกอบด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอย พหุคูณแบบขั้นตอน
     ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 61 ปี อยู่ในสถานภาพสมรส สำเร็จ การศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาหรือตํ่ากว่า มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2 คน มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 3.56 ไร่ มีรายได้ในภาคการเกษตรเฉลี่ย 86,234.30 บาทต่อปี มีประสบการณ์ในการทำการเกษตรเฉลี่ย 28 ปี เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มทางการเกษตรในชุมชนเฉลี่ย 3 กลุ่ม ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ทางการเกษตรเฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี เข้าร่วมฝึกอบรมหรือดูงานด้านการเกษตร เฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี เข้าร่วมกิจกรรมหรือประเพณีเกี่ยวกับการเกษตรเฉลี่ย 3 ครั้งต่อปี ได้รับข้อมูลข่าวสาร จากสื่อต่างๆ เกี่ยวกับการทำเกษตรกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเฉลี่ย 27 ครั้งต่อเดือน เกษตรกร มีความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรกรรมตามแนวทางปรัชญาพอเพียงอยู่ในระดับมาก มีทัศนคติต่อการทำ เกษตรกรรมตามแนวทางปรัชญาพอเพียงอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อ ทัศนคติเกี่ยวกับการทำเกษตรกรรมตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ การติดต่อกับเจ้าหน้าที่การเกษตร มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในที่ระดับ 0.05 ส่วน การเข้าร่วมฝึกอบรมหรือดูงานด้านการเกษตร และความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรกรรมในระดับครัวเรือน ตามแนวทางปรัชญาพอเพียง มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในที่ระดับ 0.01
     สำหรับข้อเสนอแนะต่อการสร้างทัศนคติในการทำเกษตรกรรมตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของเกษตรกรที่สำคัญคือ ควรมีการส่งเสริมและถ่ายทอดแนวทางการปรับใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการทำเกษตรกรรมให้เกิดผลรูปธรรม ควรเน้นการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการรับมือกับ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการผันผวนของภาวะ เศรษฐกิจที่กระทบต่อภาคการเกษตร ควรมีการสร้างกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ครัวเรือนเกษตรกรมีส่วนร่วมในการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ และควรมีการส่งเสริมการปลูกฝังจิตสำนึกในการดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงให้แก่บุตรหลานเกษตรกร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. 2554. ชุมชนท้องถิ่น น่าอยู่อย่างเพียงพอด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน. สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, กรุงเทพฯ.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2559. แผนพัฒนาการเกษตรในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564).

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.บุษกร คำโฮม และศุภกัญญา จันทรุกขา. 2558.แบบจำลองการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษา คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารปัญญาภิวัฒน์ 7(พิเศษ): 86-98.

ประชุม สุวัตถี. 2541. การสุม่ ตัวอยา่ งเพื่อการวิจัย. วารสารพัฒนาบริหารศาสตร์ 38(3): 103-130.

ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). (2561, 13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนที่ 82 ก. หน้า 1-72.

วนิดา วาดีเจริญ รังสรรค์ เลิศในสัตย์ และสมบัติ ทีฆทรัพย์. 2560. ระเบียบวิธีวิจัย จากแนวคิด ทฤษฎี สู่ภาคปฏิบัติ. ซีเอ็ดยูเคชั่น, กรุงเทพฯ.

วัลลภ จันดาเบ้าสุวัฒน์ ธีระพงษ์ ธนากร และภูมิศักดิ์ อินทนนท์. 2556. การจัดการพัฒนารูปแบบวนเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาเกษตรกรใน 4 อำเภอของจังหวัดอุดรธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 4(2): 131-150.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. 2553. สถิติประยุกต์ สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. สุวีริยาสาส์น, กรุงเทพฯ.

ศศิกาญจน์ สกุลปัญญวัฒน์ และอรนันท์ หาญยุทธ. 2560. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอกชน. วารสารพยาบาลตำรวจ 9(1): 144-186.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. 2545. การใช้สถิติในงานวิจัยอย่างถูกต้องและได้มาตรฐานสากล. เฟื่องฟ้า พริ้นติ้ง, กรุงเทพฯ. หิรัณย์ กุลเรืองทรัพย์. 2559. ฝ่าวิกฤติยุคเศรษฐกิจผันผวน: ด้วยแนวทางการทำเกษตรแบบทฤษฎีใหม่ มุ่งสู่การเพิ่มศักยภาพเกษตรกรยุคใหม่. วารสารเศรษฐกิจการเกษตร 62(719): 5.

อรุณวดี ล้อมรื่น. 2555. ศักยภาพการจัดทำบัญชีครัวเรือนเพื่อเกษตรกรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารจันทรเกษมสาร 18(34): 97-105.

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd. Harper and Row Publication, New york.