การประเมินสายพันธุ์และเปรียบเทียบพันธุ์ถั่วแดงหลวง ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง

Main Article Content

ณรงค์ จันทร์โลหิต
วีรพันธ์ กันแก้ว
วิมล ปันสุภา
สัมพันธ์ ตาติวงค์
พุฒิสรรค์ เครือคำ

บทคัดย่อ

     การทดลองในครั้งนี้ดำเนินการวิจัยโดยการประเมินประชากรถั่วแดงหลวงจำนวน 137 สายพันธุ์ โดยได้ทำการประเมินค่าความดีเด่นของสายพันธุ์ต่างๆ ในลักษณะลำต้นและผลผลิต ซึ่งพบว่า สายพันธุ์ No. 026 มีความสูงต้นมากที่สุด ส่วนสายพันธุ์ No. 091 มีจำนวนข้อมากที่สุด สายพันธุ์ No. 037 มีจำนวนกิ่งมากที่สุด สายพันธุ์ No. 074 มีจำนวนฝักมากที่สุด สายพันธุ์ No. 031 มีจำนวนเมล็ดต่อต้นมากที่สุดอย่างไรก็ตาม สายพันธุ์ No. 053 มีนํ้าหนักเมล็ดต่อต้นมากที่สุด ผลการปลูกทดสอบผลผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วแดงหลวงพันธุ์หมอกจ๋าม จำนวน 15 รหัสสายพันธุ์ ต้นถั่วแดงหลวงปลูกที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง รหัส KW-3-9 และ KW-5-9 มีความสูงต้นที่มีค่ามาก และรหัส KW-1-9 มีจำนวนข้อ จำนวนกิ่ง จำนวนฝักต่อต้น จำนวนเมล็ดต่อต้น และนํ้าหนักเมล็ดต่อต้นมีค่ามาก ผลของความแตกต่างของสภาพ พื้นที่ปลูกในการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วแดงหลวงพันธุ์หมอกจ๋าม แสดงความสูงของลำต้นถั่วแดงหลวงที่ปลูก ในแต่ละพื้นที่ไม่มีความแตกต่างกัน ต้นถั่วแดงหลวงปลูกที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวางและศูนย์พัฒนา โครงการหลวงแม่ลาน้อย ให้ผลผลิตได้ลักษณะดีกว่าต้นถั่วแดงหลวงที่ปลูกที่สถานีเกษตรหลวงปางดะ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษฎา สัมพันธารักษ์. 2531. ปัญหาและความสำเร็จในการพัฒนาพันธุ์พืช. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 21(2): 107-117.

วีรพันธ์ กันแก้ว สุทัศน์ จุลศรีไกวัล สุรัตน์ นักหล่อ พิชัย สุรพรไพบูลย์ พรรณธิภา ณ เชียงใหม่ วิมล ปันสุภา และสุมินทร์ สมุทคุปติ์. 2554.การคัดเลือกถั่วแดงหลวงสายพันธุ์ดี. วารสารแก่นเกษตร 39(ฉบับพิเศษ)(3): 335-341.

สุมินทร์ สมุทคุปติ์. 2538. การวิจัยและพัฒนาถั่วแดงหลวง. รายงานการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง การพัฒนาการผลิตและการตลาดถั่วแดงหลวง วันที่ 14 มกราคม 2538. มูลนิธิโครงการหลวง, เชียงใหม่.

สุมินทร์ สมุทคุปติ์. 2543. แนวทางการวิจัยเพื่อปรับปรุงพันธุแ์ ละพัฒนาการผลิตพืชตระกูลถั่วบนพื้นที่สูง. โครงการวิจัยและพัฒนาถั่วที่สูง, มูลนิธิโครงการหลวง, เชียงใหม่.