การยอมรับเทคโนโลยีการปลูกข้าวนาปรังของเกษตรกรในเขตเทศบาลตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

พนิดา สาลีอาจ
สายสกุล ฟองมูล
พุฒิสรรค์ เครือคำ
ปภพ จี้รัตน์

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกข้าวนาปรัง 2) ศึกษาปัจจัย ที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกข้าวนาปรัง และ 3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกร เกี่ยวกับการปลูกข้าวนาปรัง ในเขตเทศบาลตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยใช้แบบสอบถาม ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปรังจำนวน 237 ราย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบคัดเลือกเข้า


     ผลการศึกษาพบวา่ เกษตรกรผูป้ ลูกข้าวนาปรังส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 55 ปี จบการศึกษา ในระดับประถมศึกษาตอนต้น มีสถานภาพสมรส มีพื้นที่ในการปลูกข้าวนาปรัง เฉลี่ย 13.6 ไร่ มีรายได้ จากการปลูกข้าวนาปรังเฉลี่ย 74,206.7 บาทต่อปี มีภาระหนี้สินเฉลี่ย 127,333.3 บาทต่อครัวเรือน มีจำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2 คน ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกของสถาบันทางการเกษตร มีการติดต่อกับ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 1 ครั้งต่อปี ได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการปลูกข้าวนาปรังจากสื่อมวลชน เป็นหลัก ได้แก่ โทรทัศน์ วิทยุ และสิ่งพิมพ์ มีประสบการณ์ในการปลูกข้าวนาปรังเฉลี่ย 12 ปี มีประสบการณ์ ในการศึกษาดูงานด้านการเกษตรเฉลี่ย 3 ครั้งต่อปี มีการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกข้าวนาปรังอยู่ในนระดับ มากที่สุด และปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกข้าวนาปรังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทางบวก ได้แก่ อายุ พื้นที่ในการปลูกข้าวนาปรัง ภาระหนี้สินและการได้รับข่าวสารด้านการเกษตร ส่วนใน ทางลบ ได้แก่ รายได้จากการปลูกข้าวนาปรัง และประสบการณ์ในการปลูกข้าวนาปรัง


     ปัญหาที่เกษตรกรประสบในการปลูกข้าวนาปรัง คือ 1) การขาดองค์ความรู้ในการเตรียมพร้อมรับมือ กับสภาวะภัยแล้งในระยะยาว 2) การทวีความรุนแรงและขยายวงกว้างของการระบาดของโรค วัชพืช และ แมลงศัตรูพืชในข้าว และ 3) การแบกรับภาระต้นทุนการผลิตข้าวที่สูงขึ้น โดยเกษตรกรมีข้อเสนอแนะต่อ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน คือ 1) ควรมีการสนับสนุนปัจจัยการผลิตที่สำคัญ ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ และวัสดุสำหรับการบำรุงและดูแลรักษาต้นข้าว 2) ควรมีการจัดโครงการฝึกอบรมเกี่ยวกับการลดต้นทุน ในการผลิตข้าวนาปรัง โดยเฉพาะในขั้นตอนการป้องกันและกำจัดโรค วัชพืช และแมลงศัตรูพืช และ 3) ควรมีดำเนินการส่งเสริมการผลิตข้าวนาปรังโดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการกำหนดแผน และจัดทำโครงการให้มากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจริญ ดาวเรือง ชวสรรค์ เครือคำ พหล ศักดิ์คะทัศน์ และนคเรค รังควัต. 2559. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร ผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ ในอำเภอสังข์ทอง นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 11(2): 51-66.

ณัฐวุฒิ จั่นทอง และพหล ศักดิ์คะทัศน์. 2561. การยอมรับการผลิตข้าวโพดตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ของเกษตรกรในจังหวัดอ่างทอง. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 35(3): 54-63.

เบญจวรรณ ฤกษ์เกษม. 2561. วิทยาการข้าวไทย. เชียงใหม่: ศูนย์บริหารงานวิจัย คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พัชราภรณ์ เพ็ชรทอง และจิตผกา ธนปัญญารัชวงศ์. 2552. การยอมรับการปฏิบัติตามระบบการผลิตทางการเกษตรที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับเงาะ ของเกษตรกรอำเภอบ้านนาสารจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี 3(2): 29-44.

ยุพิณพรรณ ศิริวัธนนุกูล ยุทธนา ศิริวัธนนุกูล มงคล หลิม และอำมร อินนุรักษ์. 2550. การยอมรับเทคโนโลยีด้านการจัดการสวนลองกองของเกษตรกรในอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ 10(2): 32-49.

วนิดา สุจริตธุรการ และจิตผกา ธนปัญญารัชวงศ์. 2553. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ของเกษตรกรในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี 4(1): 29-44.

วัลย์ลิกา พลเสน ทิพวรรณ ลิมังกูร และสมศักดิ์ คูหาสวรรค์เวช. 2560. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับนวัตกรรมการผลิตข้าวไรซ์เบอรี่ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 35 (1): 11-24.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. 2553. สถิติประยุกต์ สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. สุวีริยาสาส์น: กรุงเทพฯ.

สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย. 2562. รายงานสถานการณ์ส่งออกข้าว แนวโน้มและทิศทางการส่งออกข้าวไทย ปี 2562. แหล่งข้อมูล http://www.thairiceexporters.or.th/Press%20release/2019/TREA%20Press%20Release%20Thai%20Rice%20Situation%20&%20Trend%20Year%202019-30012019.pdf (20 เมษายน 2562).

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2561. ข้าวนาปรัง: เนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยวผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ปี 2560 ณ ความชื้น 15 %. แหล่งข้อมูล http://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/production/secondrice.pdf (20 เมษายน 2562).

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2562. สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. 2545. การใช้สถิติในงานวิจัยอย่างถูกต้องและได้มาตรฐานสากล. กรุงเทพฯ: เฟื่องฟ้า พริ้นติ้ง.

อรอนงค์ นัยวิกุล. 2560. ข้าว: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd. New York: Harper and Row Publication.