การศึกษาอัตราการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตลำไยนอกฤดู
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาอัตราการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตลำไยนอกฤดู ทำการทดลองกับลำไยพันธุ์ดอ ณ ฟาร์ม ไม้ผล มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) มี 7 กรรมวิธีๆ ละ 5 ซํ้า ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 ถึง 4 คือ สูตรปุ๋ยตามคำแนะนำของบริษัทไทยเซ็นทรัลเคมี จำกัด (มหาชน) สูตรที่ 1 ถึง 4 กรรมวิธีที่ 5 คือ สูตรปุ๋ยที่ใช้เป็นตัวเปรียบเทียบ กรรมวิธีที่ 6 คือ สูตรปุ๋ยที่เกษตรกรใช้ และกรรมวิธีที่ 7 คือ ปุ๋ยสูตร “เสมอ” ผลการทดลองพบว่า การใส่ปุ๋ยทุกกรรมวิธีไม่มีผลต่อการออกดอก การติดผล และผลผลิต ตลอดจนคุณภาพของผลผลิตลำไย รวมทั้งความกว้างและความยาวของช่อดอก จำนวนช่อดอก ความกว้างและความยาวของช่อผล นํ้าหนักช่อผล และผลผลิตต่อต้น แต่พบว่า มีความ แตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญในด้านจำนวนผลต่อช่อ กับการใช้ปุ๋ยกรรมวิธีที่ 6 จำนวนผลต่อช่อ มากที่สุด คือ 32.20 ผล ซึ่งแตกต่างกับการใช้ปุ๋ยกรรมวิธีที่ 1, 3 และ 7 (22.53 ผล, 24.25 ผล และ 23.39 ผล ตามลำดับ) แต่ไม่แตกต่างกับการใช้ปุ๋ยกรรมวิธีที่ 2, 4 และ 5 (26.70 ผล, 30.57 ผล และ 29 ผล ตามลำดับ)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชิติ ศรีตนทิพย์ ยุทธนา เขาสุเมรุ และสันติ ช่างเจรจา. 2554. อิทธิพลของระดับไนโตรเจนที่ต่างกันต่อปริมาณคลอโรฟิลล์และไนโตรเจนในใบของลำไย. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 28(2): 19-24.
ยุทธนา เขาสุเมรุ ชิติ ศรีตนทิพย์ และสันติ ช่างเจรจา. 2544. รางงานฉบับสมบูรณ์โครงการแก้ปัญหาต้นโทรมของลำไยความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารในดินและต้นลำไยกับการแสดงอาการโทรม. รายงานต่อ สกว.ลำปาง: สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล.
ศรีสม สุวรรณวงศ์. 2547. การวิเคราะห์ธาตุอาหารพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2561. การผลิตลำไยของไทย ปี 2558-2560 ผลผลิตรายเดือนไตรมาส 4. แหล่งข้อมูล http://aginfo.oae.go.th/oae_today/report_product.php?product_name=lumyai.xls&fbclid=IR1m-dasehWXXDv8v5unIRNpwGjqZs50lBgA6GWriH1dxQSlpeclFb068wE (25 มีนาคม 2562).
Changthom, A. and S. Chaikul. 2016. Study on NPK fertilizer rate on flowering and yield of longan (Dimocarpus longan Lour.) in Chanthaburi province. J. Agri. Tech. 12(7.1): 1399-1408.
Khaosumaim, Y., C. Sritontip and S. Changjeraja. 2013. Effect of difference nitrogen fertilizer doses growth, leaf nutrient concentration, flowering and fruit quality in off-season longan. Acta Hort. 984: 271-274.
Li, Y. C., T. L. Davenport R. Rao and Q. Zheng. 2001. Nitrogen flowering and production of lychee in Florida. Acta Hort. 322: 37-44.
Rai, Mathura., P. Dey, K.K. Gangopadhyay, B. Das, V. Nath, N.N. Reddy and H.P. Singh. 2002. Influence of nitrogen, phosphorus and potassium on growth parameters, leaf nutrient composition and yield of litchi (Litchi chinensis). J.Agri. Sci 72(5): 267-70.
Senanan, C., S. Ongprasert, P. Manochai and S. Ussahatanonta. 2010. The response of longan trees to training ststem and fertilizer management. Acta Hort. 863: 351-356.
Yan, D. 2002. Longan improving yield and quality. N.P: Department of Primary Industries. Queensland Horticulture Institute.