การยอมรับเทคโนโลยีการปลูกลำไยของเกษตรกรในตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ธีร์ธวัช ปุรินทราภิบาล
พุฒิสรรค์ เครือคำ
ภรณ์ปวีร์ คำอุด
สุจิวรรณ โกติแพง
สุชาดา ปงกา
อารียา สุฤทธิ์
ปภพ จี้รัตน์

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของ เกษตรกรผู้ปลูกลำไย 2) ศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกลำไยของเกษตรกร 3) ศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกลำไยของเกษตรกร และ 4) ศึกษาปัญหา และ ข้อเสนอแนะของเกษตรกรในการปลูกลำไยในพื้นที่ตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ รวบรวม ข้อมูลจากเกษตรกรผู้ปลูกลำไย จำนวน 132 คน โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนาและการวิเคราะห์พหุถดถอย
     ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 57 ปี จบการศึกษาระดับ ประถมศึกษา มีสถานภาพสมรส มีพื้นที่ในการปลูกลำไยเฉลี่ย 3 ไร่ต่อครัวเรือน มีรายได้จากการปลูกลำไย เฉลี่ย 59,295 บาทต่อครัวเรือนต่อปี มีจำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2 คน ส่วนใหญ่เกษตรกรเป็น สมาชิกของสถาบันทางการเกษตร มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี ได้รับ ข่าวสารด้านการเกษตรเฉลี่ย 22 ครั้งต่อเดือน มีประสบการณ์ในการปลูกลำไยเฉลี่ย 17 ปี มีประสบการณ์ ในการศึกษาดูงานหรือฝึกอบรมด้านการเกษตรเฉลี่ย 1 ครั้งต่อปี เกษตรกรมีการยอมรับเทคโนโลยี การปลูกลำไยอยู่ในระดับมาก สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกลำไยอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ได้แก่ เพศ และการได้รับข่าวสารด้านการเกษตร
     ผลการศึกษาปัญหา ในการปลูกลำไยของเกษตรกรที่สำคัญ คือ การปลูกลำไยมีต้นทุนสูง ราคาลำไย ตกตํ่า และประสบกับปัญหาภัยแล้งที่ยาวนาน ซึ่งเกษตรกรมีข้อเสนอแนะว่า เกษตรกรต้องการให้หน่วยงาน ภาครัฐควรผลักดันให้ลำไยมีราคาจำหน่ายที่สูงขึ้น ควรมีมาตรการที่ทำให้สารเคมีที่ใช้มีราคาตํ่าลงเพื่อ ลดต้นทุนในการปลูกลำไย ส่งเสริมให้ความรู้คำแนะนำเกี่ยวกับการปลูกลำไยคุณภาพเพิ่มมากขึ้นและควรมีการเตรียมการรับมือกับสภาวะภัยแล้ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชิติ ศรีตนทิพย์. 2556. การผลิตลำไยนอกฤดู. พิมพ์ครั้งที่ 2. ลำปาง: โรงพิมพ์ศิลปการพิมพ์.

พัชราภรณ์ เพ็ชรทอง และจิตผกา ธนปัญญารัชวงศ์. 2552. การยอมรับการปฏิบัติตามระบบการผลิตทางการเกษตรที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับเงาะ ของเกษตรกร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี 3(2): 109-162.

พาวิน มะโนชัย วรินทร์ สุทนต์ ธีรนุช เจริญกิจ จิรนันท์ เสนานาญ พิชัย สมบูรณ์วงค์ ยุทธนา เขาสุเมรุ จริยา วิสิทธิ์พานิช และชาตรี สิทธิกุล. 2560. คู่มือ การผลิตลำไยคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 12. เชียงใหม่: โรงพิมพ์ยูเนี่ยนออฟเซต.

พิชญ์ภาส เอี่ยมสะอาด. 2556. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานของเกษตรกรในอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

วนิดา วาดีเจริญ รังสรรค์ เลิศในสัตย์ และสมบัติ ทีฆทรัพย์. 2560. ระเบียบวิธีวิจัย จากแนวคิด ทฤษฎี สูภ่ าคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. 2553. สถิติประยุกต์ สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2561. ลำไย: เนื้อที่ยืนต้น เนื้อที่ให้ผล ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ปี 2560 แหล่งที่มา http://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/longan60.pdf?fbcl (15 พฤษภาคม 2562).

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1. 2559. สารสนเทศ สศท.1 จัดทีมสำรวจลำไยพร้อมติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง ในเขตพื้นที่ตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ แหล่งที่มา http://www3.oae.go.th/zone1/ind

สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 เชียงใหม่. 2561. เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง อ.จอมทอง แหล่งที่มา https://region3.prd.go.th/ct/news/viewnews.php?ID=190501174341 (15 พฤษภาคม 2562).

สุชาติ ประสิทธ์ิรัฐสินธุ์. 2545. การใช้สถิติในงานวิจัยอย่างถูกต้องและได้มาตรฐานสากล. กรุงเทพฯ: เฟื่องฟ้า พริ้นติ้ง.

Yamane T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row Publication.