ผลของเชื้อราอาบัสคูลาร์ไมคอไรซ่าที่มีต่อการเจริญเติบโตและ ผลผลิตมันฝรั่งหัวพันธุ์หลัก (G0) พันธุ์แอตแลนติก

Main Article Content

ศิริลักษณ์ อินทะวงศ์
โสพิศ อินขัติ
สิทธิโชค ปราระมียอง

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของเชื้อราอาบัสคูลาร์ไมคอไรซ่าต่อการเจริญเติบโตและ ผลผลิตของมันฝรั่ง G0 พันธุ์ Atlantic ในโรงเรือนกันแมลงของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเชียงใหม่ ตำบลโป่งนํ้าร้อน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม พ.ศ. 2562 โดยวางแผน การทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ (RCBD) ประกอบด้วย 6 กรรมวิธี 4 ซํ้า ได้แก่ การผสมเชื้อราอาบัส คูลาร์ไมคอไรซ่าปริมาณ 0, 1, 2, 3, 4 และ 5 กรัมต่อวัสดุปลูก 1 กิโลกรัม ก่อนนำไปปลูกหัวพันธุ์มันฝรั่ง G0 พบว่า ความสูงต้น จำนวนกิ่งแขนง และขนาดทรงพุ่ม เมื่อมันฝรั่งอายุ 60 วันหลังปลูก ในทุกกรรมวิธี ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ส่วนความยาวราก พบว่า การใส่เชื้อราอาบัสคูลาร์ไมคอไรซ่าปริมาณ 5 กรัมต่อวัสดุปลูก 1 กิโลกรัม ต้นมันฝรั่งมีความยาวรากมากที่สุด คือ 31.13 เซนติเมตร สำหรับข้อมูล ทางด้านผลผลิตของมันฝรั่ง G0 ที่อายุ 90 วัน พบว่า นํ้าหนักต่อหัว เส้นผ่าศูนย์กลางหัว นํ้าหนักหัวต่อต้น และความแน่นเนื้อ ในทุกกรรมวิธีไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ส่วนจำนวนหัวต่อต้น พบว่า การใส่เชื้อ ราอาบัสคูลาร์ไมคอไรซ่าปริมาณ 3, 4 และ 5 กรัมต่อวัสดุปลูก 1 กิโลกรัม มีจำนวนหัวมากที่สุด คือ 3.88, 3.50 และ 3.62 หัว ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การปลูกมันฝรั่งโดยไม่ใส่เชื้อราอาบัสคูลาร์ไมคอไรซ่าเลย พบว่ามีจำนวนหัวน้อยที่สุด คือ 2.13 หัว

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สถาบันวิจัยพืชสวน. 2559. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการสินค้ามันฝรั่ง. เอกสารประกอบการประชุม ปรึกษาหารือร่างยุทธศาสตร์สินค้ากระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่ และมันฝรั่งสถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร.

สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร. 2562. มันฝรั่ง. แหล่งข้อมูล http://www.agriman.doae.go.th/home/news/2562/49-50.pdf (29 สิงหาคม 2562).

Chen, B.D., X.L. Li, H.Q. Tao, P. Christie and M.H. Wong. 2003 The role of arbuscular mycorrhiza in zinc uptake by red clover growing in a calcareous soil spiked with various quantities of zinc. Chemosphere. 50(6): 839-846.

Gallou, A., H.P.L. Mosquera, S. Cranenbrouck, J.P. Suarez and S. Declerck. 2011. Mycorrhiza induced resistance in potato plantlets challenged by Phytophthora infestans. Physiol. Mol. Pl. Pathol. 76: 20-27.

Graham, S.O., N.E. Green and J.W. Hendrix. 1976. The influence of vesicular–arbuscular mycorrhizae on growth and tuberization of potatoes. Mycologia. 68: 925-929.

Lone, R., R. Shuab, V. Sharma, V. Kumar, R. Mir and K.K. Koul. 2015. Effect of arbuscular mycorrhizal fungi on growth and development of potato (Solanum tuberosum) plant. Asian J. Crop Sci. 7(3): 233-243.

Marschner, H. and B. Dell. 1994. Nutrient uptake in mycorrhizal symbiosis. Plant Soil. 159: 89-102.

McArthur, D.A.J. and N.R. Knowles. 1993. Influence of species of vesicular arbuscular mycorrhizal fungi and phosphorus nutrition on growth, development, and mineral nutrition of potato (Solanum tuberosum L.). Plant Physiol. 102: 771-782.

Vosatka, M. and M. Gryndler. 2000. Response of micropropagated potatoes rans planted to peat media to post-vitro inoculation with arbuscular mycorrhizal fungi and soil. Appl. Soil Ecol. 15: 145-152.

Yao, M.K., R.J. Tweddell and H. Desilets. 2002. Effect of two vesicular-arbuscular mycorrhizal fungi on the growth of micropropagated potato plantlets and on the extent of disease caused by Rhizoctonia solani. Mycorrhiza. 12: 235-242.