ความต้องการรับการบริการวิชาการด้านการเกษตรของเกษตรกร ในเขตอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

กนกพร นันทดี
พุฒิสรรค์ เครือคำ
อภิชนา วงศ์วารเตชะ
ปภพ จี้รัตน์
ธีร์ธวัช ปุรินทราภิบาล

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทด้านเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร 2) ศึกษา ความต้องการรับการบริการวิชาการด้านการเกษตรของเกษตรกร 3) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความ ต้องการรับการบริการวิชาการด้านการเกษตรของเกษตรกร 4) ศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ ในการทำเกษตรกรรมของเกษตรกร ซึ่งทำการศึกษาในเขตอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้ แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรตัวอย่างจำนวน 206 คน ในปีเพาะปลูก 2561/62 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์พหุถดถอยแบบคัดเลือกเข้า
     ผลการศึกษาบริบทของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 54 ปี มีสถานภาพสมรส ส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับประถมศึกษาตอนปลาย มีสมาชิกในครัวเรือน เฉลี่ย 4 คน เกษตรกรมีพื้นที่ในการทำการเกษตรเฉลี่ย 5.87 ไร่ต่อครัวเรือน ส่วนใหญ่มีลักษณะการทำเกษตรกรรมแบบปลูกพืชไร่เป็นหลัก มีรายได้ในครัวเรือนเฉลี่ย 119,264.42 บาทต่อปี มีจำนวนแรงงาน ในการทำเกษตรกรรมเฉลี่ย 3 คน เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีหนี้สินในครัวเรือน มีประสบการณ์ในการทำ เกษตรกรรมตํ่ากว่า 30 ปี ส่วนใหญ่ไม่มีตำแหน่งทางสังคม ไม่มีการเข้าร่วมกิจกรรมหรือประเพณีท้องถิ่น ในชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ส่วนใหญ่ไม่มีการเข้าร่วมอบรม ประชุม หรือศึกษาดูงานที่เกี่ยวข้องกับ การเกษตร มีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับด้านการเกษตรเฉลี่ย 26 ครั้งต่อเดือน ใช้แหล่งนํ้าในการทำ เกษตรกรรมจากคลองชลประทานเป็นหลัก เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีการผลิตสินค้าแปรรูปหรือผลิตภัณฑ์ จากการเกษตรในชุมชนและในครัวเรือน เกษตรกรมีความต้องการรับการบริการวิชาการด้านการเกษตร ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีระดับความต้องการในด้านการพัฒนาองค์ความรู้ทางการเกษตร มากที่สุด ในส่วนของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการรับการบริการวิชาการด้านการเกษตรของ เกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในเชิงบวก ได้แก่ อายุ และพื้นที่ทำการเกษตร ส่วนในเชิงลบ ได้แก่ รายได้จากการทำเกษตรกรรม
     สำหรับผลการศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการทำเกษตรกรรมของเกษตรกรที่สำคัญ ได้แก่ ราคา สินค้าเกษตรไม่แน่นอน การประสบปัญหาภัยแล้ง การมีปัญหาด้านสุขภาพจากการมีอายุเพิ่มมากขึ้น การขาดปัจจัยการผลิต อีกทั้งโครงการที่เข้ามาส่งเสริมส่วนมากเป็นโครงการที่มีการดำเนินงานระยะสั้น จึงขาดความต่อเนื่องและความชัดเจนในการสร้างผลกระทบแก่ชุมชนในระยะยาว เกษตรกรจึงมีข้อเสนอแนะ ต่อคณะผลิตกรรมการเกษตรว่า ควรส่งเสริมให้ความรู้ในการผลิตพืชให้ได้มาตรฐานตามหลักวิชาการ ส่งเสริมการวางแผนด้านการผลิตและการตลาดร่วมกับชุมชน ส่งเสริมการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานโดยเน้น การบริโภคอาหารที่ปลอดภัยแก่เกษตรกร และควรจัดทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่มีความ ต่อเนื่องในระยะยาว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรพงศ์ มานะดี และนิวัฒน์ มาศวรรณา. 2555. ความต้องการรับบริการส่งเสริมการเกษตรของเกษตรผู้ปลูกข้าวนาปรังในตำบลหนองหมื่นถ่าน อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 12 (3): 148-156.

คณะผลิตกรรมการเกษตร. 2561. ปรัชญาและปณิธาน. แหล่งที่มา http://www.ap.mju.ac.th/root/index.php?sub=1&content=sub1_about_02 (30 ตุลาคม 2562).

จิตร เกื้อช่วย และบำเพ็ญ เขียวหวาน. 2556. ความต้องการส่งเสริมอาชีพของเกษตรกรตำบลบางขุนทอง อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 5(2): 67-75.

จุฬาลักษณ์ ทิวกระโทก. 2558. ปัญหาและความต้องการพัฒนาการประกอบอาชีพปลูกผักของเกษตรกร ตำบลบึงบอน อำเภอหนองเสือจังหวัดปทุมธานี. Veridian E-Journal 8(1): 770-788.

ประชุม สุวัตถี. 2541. การสุม่ ตัวอย่างเพื่อการวิจัย. วารสารพัฒนาบริหารศาสตร์ 38(3): 103-130.

มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 2556. ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระยะ 15 ปี (พ.ศ. 2555-2569). แหล่งที่มา http://planning2.mju.ac.th/goverment/20111119104835_planning/File20130924155549_15994.pdf (30 ตุลาคม 2562).

วาโร เพ็งสวัสดิ์. 2553. สถิติประยุกต์ สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สุวีริยา สาส์น.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. 2556. การใช้สถิติในงานวิจัยอย่างถูกต้องและได้มาตรฐานสากล. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สามลดา.

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd. New york: Harper and Row Publication.