ปัจจัยที่สัมพันธ์กับทัศนคติต่อการถ่ายทอดนวัตกรรม จากภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกรชนเผ่าบนพื้นที่สูง ในพื้นที่โครงการหลวง

Main Article Content

พุฒิสรรค์ เครือคำ
ทวีชัย คำทวี
ปภพ จี้รัตน์

บทคัดย่อ

     การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติที่มีต่อการถ่ายทอดนวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ของเกษตรกรชนเผ่าบนพื้นที่สูงในพื้นที่โครงการหลวง และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติ ต่อการถ่ายทอดนวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกรชนเผ่าบนพื้นที่สูงในพื้นที่โครงการหลวง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ เกษตรกรชนเผ่าบนพื้นที่สูงในพื้นที่โครงการหลวงจำนวน 231 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน (Two-stage sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าตํ่าสุด ค่าสูงสุด ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการวิเคราะห์พหุถดถอย ผลการศึกษาพบว่า ทัศนคติที่มีต่อการถ่ายทอดนวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกรชนเผ่า บนพื้นที่สูงในพื้นที่โครงการหลวงโดยรวมมีระดับทัศนคติอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการสร้าง ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ 2) ด้านการสร้างความมั่งคั่งทางสังคม และ 3) ด้านการสร้างความยั่งยืนทาง สิ่งแวดล้อม ในส่วนของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อการถ่ายทอดนวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ของเกษตรกรชนเผ่าบนพื้นที่สูงในพื้นที่โครงการหลวง ได้แก่ พื้นที่ในการทำเกษตรกรรม ลักษณะการทำ เกษตรกรรม รายได้รวมในครัวเรือน และจำนวนแรงงานในการทำเกษตรกรรม มีความสัมพันธ์กับทัศนคติ ต่อการถ่ายทอดนวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกรชนเผ่าบนพื้นที่สูงในพื้นที่โครงการหลวง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐกฤตย์ ดิฐวิรุฬ. 2558. การสื่อสารเพื่อการเรียนรู้และถ่ายทอดมรดกภูมิปัญญา. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม 2(6): 39-48.

ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ. 2554. ศูนย์การเรียนและแหล่งความรู้สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาสื่อกับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พัฒนา สุขประเสริฐ. 2558. ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการส่งเสริมการเกษตร. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุชาดา นํ้าใจดี. 2561. คุณลักษณะสื่อบุคคลที่ควรรู้ในการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสารชุมชนวิจัย 12 (3): 1-13.

Mangkhang, C., P. Junsiri, P. Nuansawan, M. Sangsuk, and P. Anukul. 2018. Knowledge Management for sustainable development highland Area of Teachers in Mae Fah Laung Learning Center for Hill tribes, Chiang Mai. Journal of human sciences 19(1): 208-236 (in Thai)

Namchitthai, N. 2015. Permission to use the rights in Thai local wisdom. M.S. Thesis. National Institute of Development Administration. Bangkok. 120 p. (in Thai)

Charoenviriyatham, S. 2013. Protection of person entitled and the rights of ownership in traditional knowledge. M.S. Thesis. National Institute of Development Administration. Bangkok. 130 p. (in Thai)

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd. New y ork: Harper and Row Publication.