ผลของสารสกัดยีสต์ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์นํ้าหมักปลาต่อการเจริญของ เอื้องสายเชียงใหม่ในสภาพปลอดเชื้อ

Main Article Content

รามิล จิระภิญโญ
ประนอม ยังคำมั่น

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารสกัดยีสต์ร่วมกับสารสกัดจากปลาต่อการเจริญของ เอื้องสายเชียงใหม่ในสภาพปลอดเชื้อ เพื่อการผลิตต้นกล้ากล้วยไม้เชิงสมุนไพรในระบบอินทรีย์และ ประหยัดต้นทุน โดยจากการทดลองได้น้ำหน่อเอื้องสายเชียงใหม่เลี้ยงในอาหารสูตรปุ๋ย อินทรีย์น้ำหมักปลา ความเข้มข้น 2.0 ml/l ร่วมกับสารสกัดจากยีสต์ 0, 1, 1.5, 2, 2.5 หรือ 3 g/l เทียบกับสูตรอาหาร VW (ชุดควบคุม) เพื่อประเมินผลการเจริญของต้นในสภาพปลอดเชื้อ โดยทุกสูตรเติมนํ้ามะพร้าว 150 ml/l กล้วยหอม 100 g/l นํ้าตาล 20 g/l และ ผงถ่าน 1 g/l ผลที่ได้พบว่า เอื้องสายเชียงใหม่มีแนวโน้ม ของการเกิดหน่อเพิ่มขึ้นและสูงสุดในอาหารที่เติมสารสกัดยีสต์ 3 g/l ในขณะที่การเจริญของหน่อและ จำนวนรากไม่แตกต่างกันทางสถิติในทุกสูตรอาหาร มีแต่เพียงการเจริญด้านความยาวรากในอาหาร VW ที่มีความยาวสูงสุดและมีความแตกต่างกันทางสถิติกับอาหารสูตรอื่นๆ หลังเลี้ยงหน่อเอื้องสายเชียงใหม่ เป็นเวลา 30-60 วัน จากการทดลองสรุปได้ว่า สามารถนำปุ๋ยอินทรีย์นํ้าหมักปลาความเข้มข้น 2.0 ml/l ร่วมกับสารสกัดยีสต์ 3 g/l มาใช้แทนอาหารสูตร VW สำหรับเลี้ยงกล้วยไม้เอื้องสายเชียงใหม่ได้ในสภาพ ปลอดเชื้อ และควรประยุกต์สูตรอาหารโดยการเติมนํ้ามะพร้าว 150 ml/l กล้วยหอม 100 g/l นํ้าตาล 20 g/l และ ผงถ่าน 1 g/l เพื่อเพิ่มสารอาหารอื่นๆ สำหรับช่วยส่งเสริมการเจริญของต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ประศาสตร์ เกื้อมณี. 2538. เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช. โอ เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์, กรุงเทพฯ.

สำนักนิเทศและถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน. 2550. เอกสารเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยี ชุดความรูแ้ ละเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2553. คุณค่าทางโภชนาการในผลไม้. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย จำกัด, นนทบุรี.

อรุณ ชาญชันเชาว์วิวัฒน์. 2553. สารสกัดยีสต์. ก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์ 10(2): 84-89.

Akter, S., K.M. Nasiruddin and A.B.M. Khaldun. 2007. Organogenesis of Dendrobium orchid using traditional media and organic extracts. J. Agric Rural Dev. 5(1 & 2): 30-35.

Jualang, A.G., R. Jawan and S.J. Spiridrin. 2015. Effect of yeast extract and coconut water on protocorm proliferation and growth development of Dimorphorchis rossii. Acta Biologica Malaysiana 4(2): 59-63.

Molnár Z., E. Virág and V. Ördög. 2011. Natural substances in tissue culture media of higher plants. Acta Biologica Szegediensis 55(1): 123-127.

Ng, T.B., J. Liu, J.H. Wong, X. Ye, S.C.W. Sze, Y. Tong and K.Y. Zhang. 2012. Review of research on Dendrobium, a prized folk medicine. Appl Microbiol Biotechnol 93: 1795-1803.

TianZi team. 2016. Dendrobium aphyllum. Available: https://www.natureproducts. net/Dendrobium/Dendrobium_aphyllum.html (March 1, 2019).

Yang, D., L.Y. Liu, Z.Q. Cheng, F.Q. Xu, WW. Fan, C.T. Zi, F.W. Dong, J. Zhou, Z.T. Ding and J.M. Hu. 2015. Five new phenolic compounds from Dendrobium aphyllum. Fitoterapia 100: 11-18.

Zhang, C.F., L. Shao, W.H. Huang, L. Wang, Z.T. Wang and L.S. Xu. 2008. Phenolic components from herbs of Dendrobium aphyllum. Available: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19294851 (March 1, 2019).