การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกและแปรรูปกาแฟ ในตำบลเทพเสด็จ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของสมาชิก วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกและแปรรูปกาแฟ เพื่อศึกษา การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกและ แปรรูปกาแฟ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกและแปรรูปกาแฟ และเพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกและแปรรูปกาแฟ ในตำบลเทพเสด็จ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟจำนวน 146 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดย สถิติพรรณนา และการใช้สถิติ Chi-square test
การศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุอยู่ในช่วง 41-50 ปี จบการศึกษาระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย มีสถานภาพสมรส มีจำนวนสมาชิกในครอบครัว 3-4 คน มีจำนวนแรงงานทางด้าน การเกษตรในครัวเรือน 1-2 คน ส่วนใหญ่มีรายได้ 150,000-200,000 บาทต่อปี มีจำนวนพื้นที่ทำ การเกษตร 1-10 ไร่ ส่วนใหญ่ได้รับข่าวสารจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และส่วนใหญ่เคยเข้ารับ การฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องทางด้านการเกษตร การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนกลุม่ ผู้ปลูกและแปรรูปกาแฟ อยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกและแปรรูปกาแฟ ด้านองค์กร ได้แก่ เพศ และการเข้ารับการอบรม ด้านการผลิตและวัตถุดิบ ได้แก่ การเข้ารับการอบรม และด้านการเงินและบัญชี ได้แก่ การเข้ารับการอบรม
สำหรับปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกและแปรรูป กาแฟ เป็นปัญหาการปฏิบัติการดำเนินงานตามหน้าที่ของสมาชิก มีปัญหาในการทำความเข้าใจของสมาชิก ทำให้การดำเนินงานบางหน้าที่เกิดความล่าช้า เกิดปัญหาการสั่งสินค้าซํ้าซ้อนทำให้เกิดการผลิตสินค้าซํ้า เกิดการผิดพลาดหรือการเสียเปล่าของผลผลิตในขั้นตอนการเปิดเครื่องหรือเริ่มแปรรูปของการผลิต และ ปัญหาการบันทึกรายรับ-รายจ่าย จึงทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบการทำบัญชีในบางครั้ง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จุติพร อยู่คงธรรม พหล ศักดิ์คะทัศน์ พุฒิสรรค์ เครือคำ ปิยะ พละปัญญา นภารัศม์ เวชสิทธิ์นิรภัย และปภพ จี้รัตน์. 2562. การสร้างส่วนประสมการตลาดของเกษตรกรผู้ปลูกสตรอเบอรี่ในเขตอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารผลิตกรรมการเกษตร 1(1): 55-67.
ณฐิตากานต์ ปินทุกาศ. 2558. การปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบการผลิตผักอินทรีย์ของเกษตรกรรมบนพื้นที่สูงอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(3): 299-307.
ธีร์ธวัช ปุรินทราภิบาล พุฒิสรรค์ เครือคำ ภรณ์ปวีร์ คำอุด สุจิวรรณ โกติแพง สุชาดา ปงกา อารียา สุฤทธิ์ และปภพ จี้รัตน์. 2562. การยอมรับเทคโนโลยีการปลูกลำไยของเกษตรกรในตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารผลิตกรรมการเกษตร 1(3): 1-10.
บุษกร คำโฮม และศุภกัญญา จันทรุกขา. 2558. แบบจำลองการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงของนักศึกษา คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารปัญญาภิวัฒน์ 7(พิเศษ): 86-98.
ปภพ จี้รัตน์ พุฒิสรรค์ เครือคำ พหล ศักดิ์คะทัศน์ และสายสกุล ฟองมูล. 2562. ทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อการทำเกษตรกรรมตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเขตเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วารสารผลิตกรรมการเกษตร 1(1): 29-41.
อุตสาหกรรมกาแฟ. 2559. กาแฟพืชเศรษฐกิจ. แหล่งข้อมูล http://fic.nfi.or.th/foodsectordatabank-detail.php?id=17 (12มิถุนายน 2560).
Traveller Freedom. 2558. ของดีตำบลเทพเสด็จ. แหล่งที่มาจาก http://www.tripchiangmai.com/chiangmaiboard/index.php?topic=9545.0;wap2 (12 มิถุนายน 2560).