ผลของการจัดการปุ๋ยและการฉีดพ่นธาตุสังกะสี ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตอ้อย

Main Article Content

เจนจิรา หม่องอ้น
ชัชวิจก์ ถนอมถิ่น
ปราณี ศิริพันธ์
อารมย์ จันทะสอน

บทคัดย่อ

     ศึกษาผลของการจัดการปุ๋ยร่วมกับการฉีดพ่นธาตุสังกะสีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของอ้อย พันธุ์ LK9211 ที่ปลูกใน อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร วางแผนการทดลองแบบ 3 × 2 factorial in RCBD มี 2 ปัจจัยคือ ไม่ใส่ปุ๋ย (control) ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมี และการฉีดพ่นธาตุสังกะสี ความเข้มข้น 0 (0Zn) และ 26.5 mgL-1 (+Zn) จำนวน 4 ซํ้า การใส่ปุ๋ยแบ่งใส่ 3 ครั้ง คือรองพื้น พร้อมปลูก ระยะ 6 เดือน และ 9 เดือนหลังปลูก และฉีดพ่นธาตุสังกะสี จำนวน 2 ครั้ง ที่ระยะ 6 เดือน และ 9 เดือนหลังปลูก เก็บข้อมูลเมื่ออ้อยมีอายุ 13 เดือน ผลการทดลองพบว่าจำนวนลำต่อกอ ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลางลำ และปริมาณของแข็งที่ละลายนํ้าได้ของอ้อยไม่แตกต่างกันทางสถิติ ความยาวลำและ ผลผลิตอ้อยของกรรมวิธีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์มีค่ามากกว่ากรรมวิธีไม่ใส่ปุ๋ย และใส่ปุ๋ยเคมี การฉีดพ่นธาตุสังกะสี มีความยาวลำและผลผลิตอ้อยมากกว่าการไม่ฉีดพ่น นอกจากนี้ความยาวลำและผลผลิตอ้อยที่มีการจัดการ ปุ๋ยแตกต่างกันตอบสนองต่อการฉีดพ่นธาตุสังกะสีอย่างแตกต่างกัน โดยความยาวลำอ้อย +Zn จะมากกวา่ 0Zn ถึง 36.8% ในกรรมวิธีไม่ใส่ปุ๋ย ส่วนการใส่ปุ๋ยเคมีจะเพิ่มขึ้น 22.1% และเพิ่มเพียง 10.9% เมื่อ ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ส่วนผลผลิตอ้อยมีการตอบสนองแตกต่างจากความยาวลำ คือ ในกรรมวิธีไม่ใส่ปุ๋ยและ ใส่ปุ๋ยเคมี +Zn มีผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 0Zn 30.3% และ 26.5% ตามลำดับ แต่การใส่ปุ๋ยอินทรีย์มีผลผลิต ไม่แตกต่างกันระหว่าง +Zn และ 0Zn ผลการศึกษาแสดงว่าการฉีดพ่นธาตุสังกะสีช่วยส่งเสริม การเจริญเติบโตและผลผลิตอ้อยในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ตํ่าได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นรีรัตน์ ชูช่วย. 2554. ผลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับยิปซัมต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของอ้อยที่ปลูกในชุดดินกำแพงแสน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ยงยุทธ โอสถสภา อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์ และชวลิต ฮงประยูร. 2556. ปุ๋ยเพื่อการเกษตรยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 3. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและนํ้าตาลทราย. 2562. รายงานพื้นที่ปลูกอ้อยปีการผลิต 2561/2652. แหล่งข้อมูล http://www.ocsb.go.th/upload/journal/fileupload/923-9040.pdf (20 มกราคม 2563).

อนุชา เหลาเคน นิพนธ์ ภาชนะวรรณ สุชาติ คำอ่อน ทักษิณา ศันสยะวิชัย และจักรพรรดิ์ วุน้ สีแซง. 2557. การทดสอบการใช้ปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 ที่ปลูกในเขตอาศัยน้ำฝน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารแก่นเกษตร 42 (ฉบับพิเศษ 2): 130-141.

Chen, Y., J. Shi, X. Tian, Z. Jia, S. Wang, J. Chen and W. Zhu. 2019. Impact of dissolved organic matter on Zn extractability and transfer in calcareous soil with maize straw amendment. J Soils Sediments 19: 774-784.

Franco, H.C.J., E. Mariano, A.C. Vitti, C.E. Faroni, R. Otto, and P.C.O. Trivelin. 2011. Sugarcane response to boron and zinc in Southeastern Brazil. Sugar Tech 13: 86-95.

Jamro, G.H., B.R. Kazi, F.C. Oad, N.M. Jamali and N.L. Oad. 2002. Effect of foliar application of micro nutrients on the growth traits of sugarcane varieties Cp-65/357 (ratoon crop). Asian J. PlantSci. 1: 465-463.

Marschner, H. 1995. Mineral Nutrition of Higher Plants. 2nd. Academic Press, London

Panhwar, R.N., H.K. Keerio, Y.M. Memon, S. Junejo, M.Y. Arain, M. Chohan, A.R. Keerio and B.A. Abro. 2003. Response of Thatta-10 sugarcane variety to soil and foliar application of zinc sulphate (ZnSO4.7H2O) under half and full doses of NPK fertilizer. Pak. J. Applied Sci. 3(4): 266-269.

Pawar, M.W., S.S Joshi and V.T. Amodkar. 2003. Effect of foliar application of phosphorus and micronutrients on enzyme activities and juice quality in sugar cane. Sugar Tech. 5(3): 161-165.