การแยกกลุ่มสารอัลลีโลพาธิกจากใบอ้อยและฤทธิ์ยับยั้ง การงอกและการเจริญเติบโตต่อหญ้าข้าวนกและผักโขม

Main Article Content

ธนัชสัณห์ พูนไพบูลย์พิพัฒน์
ชนากานต์ พูนธนากิจ

บทคัดย่อ

     ใบอ้อยเป็นวัสดุเหลือทางการเกษตรหลังการเก็บเกี่ยวอ้อย ในใบอ้อยเคยมีรายงานพบสารยับยั้ง ในใบอ้อย งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อแยกกลุ่มสารอัลลีโลพาธิกจากใบอ้อย และทดสอบฤทธิ์ยับยั้ง การงอกและการเจริญเติบโตต่อหญ้าข้าวนกและผักโขม สกัดใบอ้อยแห้งด้วยนํ้าผสมเอทานอล 50% จำนวน 4 รอบ ได้สารสกัดหยาบชั้นเอทานอล (OR) ที่มีนํ้าหนักประมาณ 1.4% โดยนํ้าหนักใบแห้ง แยกกลุ่มสารสกัดหยาบชั้นเอทานอลด้วยเทคนิคกรดเบส ได้ชั้นสารที่เป็นกรด (AE) ชั้นสารเป็นกลาง (NE) และชั้นสารละลายนํ้า (AQ) ทดสอบฤทธิ์ของสารในแต่ละชั้นด้วยวิธีการทดสอบในจานทดลองภายใต้ ห้องปฏิบัติการ ความเข้มข้นที่ใช้ในการทดสอบคือ 1,250 2,500 5,000 และ 10,000 ppm โดยมีนํ้ากลั่น เป็นชุดควบคุม ผลการทดลองพบว่า ฤทธิ์การยับยั้งของสารสกัดหยาบขึ้นอยู่กับชั้นสารและความเข้มข้น ชั้นสาร AE แสดงฤทธิ์ยับยั้งการงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าสองชนิดมากสุด รองลงมาคือ ชั้น NE และ OR สำหรับชั้น AQ ที่ระดับความเข้มข้นเหล่านี้ไม่มีฤทธิ์ในการยับยั้งพืชทดสอบ ความเข้มข้นที่สูงขึ้น ทำให้ฤทธิ์การยับยั้งของชั้นสารมากขึ้น ผักโขมเป็นชนิดพืชที่มีความอ่อนแอต่อสารสกัดหยาบมากกว่า หญ้าข้าวนก ผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าในใบอ้อยมีสารประกอบสำคัญที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งการงอก และการเจริญเติบโตของวัชพืชทดสอบ ซึ่งจะเป็นข้อมูลสำคัญในการแยกและวิเคราะห์สารออกฤทธิ์สำคัญ หรือนำสารสกัดเหล่านี้ไปประยุกต์เพื่อกำจัดวัชพืชในระบบเกษตรยั่งยืนต่อไปในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธนัชสัณห์ พูนไพบูลย์พิพัฒน์. 2562. ผลของความเข้มข้นที่แตกต่างกันของเอทานอลต่อการสกัดสารสกัดหยาบและฤทธิ์ทางอัลลีโลพาธีของใบแก้ว. วารสารเกษตรนเรศวร 16(1): 1-6.

ธนัชสัณห์ พูนไพบูลย์พิพัฒน์ อนุพงศ์ วงค์ตามี สุรศักดิ์ ทองม่วง และ ขนิษฐา สานุ่ม. 2563. ผลของสารสกัดดว้ ยน้ำจากใบออ้ ย 16 สายพันธุ์ ต่อการงอกและการเจริญเติบโตของผักกาดหอม. วารสารเกษตรนเรศวร 17(1): 1-10.

พัชนี เจริญยิ่ง จำรูญ เล้าสินวัฒนา และ วิรัตน์ ภูวิวัฒน์. 2551. การแยกสารอัลลีโลพาธีจากใบพุทธชาติก้านแดง. วารสารวิทยาศาสตร์การเกษตร 39(3) พิเศษ: 492-495.

Gomes, A.C.C., A.K.C. Gomes, D.P.D. Magalhães, D.F. Buss, N.K. Simas, R.M. Kuster. 2016. In vitro phytotoxic activity of Saccharum officinarum leaves on lettuce and weed Calopogonium mucunoides. Allelopathy Journal 39(2): 177-190.

Laosinwattana, C., W. Phuwiwat and P. Charoenying. 2007. Assessment of allelopathic potential of Vetivergrass (Vetiveria spp.) ecotypes. Allelopathy Journal 19(2): 469-478.

Pangnakorn, U. and T. Poonpaiboonpipattana. 2013. Allelopathic Potential of Orange Jessamine (Murraya paniculata L.) against Weeds. Journal of Agricultural Science and Technology A 3(10): 790-796.

Poonpaiboonpipat, T. 2017. Allelopathic effect of Barleria lupulina Lindl. on germination and seedling growth of pigweed and barnyard grass. Naresuan University Journal: Science and Technology 25(4): 44-50.

Poonpaiboonpipat, T. and J. Jumpathong. 2019. Evaluating Herbicidal Potential of Aqueous-Ethanol Extracts of Local Plant Species against Echinochloa crusgalli and Raphanus sativus. International Journal of Agriculture and biology 21(3): 648-652.

Poonpaiboonpipat, T., M. Teerarak, W. Phuwiwat, P. Charoenying and C. Laosinwattana. 2011. Allelopathic effects of Arabian jasmine (Jasminum sambac Ait.) and preliminary test estimation in its natural herbicide activity. Journal of Agricultural Technology 7: 1073-1085.

Rani, P.U., S.D. Sudheer and P. Devanand. 2006. Herbicidal potential of Breynia retusa leaf extract on Calotropis gigantea, Parthenium hysterophorus, Datura metal and Tridax procumbens. Allelopathy Journal 17(1): 65-79.

Sampietro, D.A. 2006. Sugarcane: Soil sickness and autotoxicity. Allelopathy Journal 17(1): 33-41.

Sampietro, D.A., M.A. Sgariglia, J.R. Soberon and M.A. Vattuone. 2007. Effects of sugarcane straw allelochemicals on growth and physiology of crops and weeds. Allelopathy Journal 19(2): 351-360.

Singh, P., A. Suman and A.K. Shrivastava. 2003. Isolation and identification of allelochemicals from sugarcane leaves. Allelopathy Journal 12(1): 71-79.

Spigno, G., L. Tramelli and D.M.D Faveri. 2007. Effects of extraction time, temperature and solvent on concentration and antioxidant activity of graph marc 64 J. Agri. Prod. ว. ผลิตกรรมการเกษตร 2(1):55-65 phenolics. Journal of Food Engineering
81: 200-208.

Tesio, F. and A. Ferrero. 2010. Allelopathy, a chance for sustainable weed management. International Journal of Sustainable Development and World Ecology 17(5): 377-389.

Wichittrakarn, P., M. Teerarak, P. Charoenying and C. Laosinwattana. 2018. Effects of natural herbicide from Tagetes erecta on Echinochloa crus-galli (L.) Beauv. Allelopathy Journal 43(1): 17-30.