การศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาและเปรียบเทียบ ปริมาณสารสำคัญของหญ้าหวาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์และลักษณะทางการเกษตรของหญ้าหวาน ณ ศูนย์วิจัย เกษตรหลวงเชียงใหม่-แม่จอนหลวง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าช่วงฤดูหนาวการเจริญเติบโตค่อนข้างช้า เมื่อ เทียบกับช่วงฤดูร้อนและฤดูฝน จากการปลูกรวบรวมหญ้าหวานที่ได้จากการสำรวจ สามารถแยกลักษณะ ความแตกต่างกันทางสัณฐานวิทยาได้ 4 กลุ่มลักษณะ คือ 1) กลุ่มใบใหญ่มีขน (BLHS) 2) กลุ่มยอดอ่อน สีม่วง (PYSS) 3) กลุ่มใบแคบยาว (ไต้หวัน, LNLS) และ 4) กลุ่มทรงพุ่มเล็ก (SSS) ด้านการวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของหญ้าหวานจำนวน 4 กลุม่ พบว่า่มีความแตกต่างกันทางพันธุกรรมทั้งหมด ด้านผลผลิตพบว่าสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตหญ้าหวาน ทุก 45 วัน ในการวิเคราะห์หาปริมาณสาร สตีวิโอไซด์ พบว่าหญ้าหวานกลุ่มยอดอ่อนสีม่วง มีปริมาณสารสตีวิโอไซด์มากที่สุด คือ 40.58 g/gDW รองลงมาคือ กลุ่มใบแคบยาว, กลุ่มใบใหญ่มีขน และกลุ่มทรงพุ่มเล็ก ที่มีปริมาณสารสตีวิโอไซด์เท่ากับ 5.99, 5.94 และ 5.27 g/gDW ตามลำดับ ส่วนปริมาณซาโปนินในต้นหญ้าหวาน พบว่าในหญ้าหวานกลุ่ม ใบแคบยาว มีปริมาณสารซาโปนินสูงสุดที่ 52.00 mg/gDW รองลงมาคือ กลุ่มทรงพุ่มเล็ก, กลุ่มยอดอ่อน สีม่วง และกลุ่มใบใหญ่มีขน ที่มีปริมาณสารซาโปนินเท่ากับ 51.13, 51.12, 50.82 และ 45.20 mg/gDW ตามลำดับ ด้านความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของหญ้าหวานในช่วงก่อนออกดอก พบว่าหญ้าหวาน กลุ่มทรงพุ่มเล็กมีค่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 77.43 รองลงมาคือ หญ้าหวานกลุ่มยอดอ่อนสีม่วง, กลุ่มใบใหญ่มีขน และกลุ่มใบแคบยาว คิดเป็นร้อยละ 76.60, 75.20 และ 73.40 ตามลำดับ และพบว่าในหญ้าหวานกลุ่มใบใหญ่มีขนที่เก็บเกี่ยวระยะก่อนออกดอก มีปริมาณ สารฟินอลิกเฉลี่ยสูงสุดที่ 0.058±0.01 mg/gDW รองลงมาได้แก่ หญ้าหวานกลุ่มยอดอ่อนสีม่วง, กลุ่ม ทรงพุม่ เล็กและกลุ่มใบแคบยาว ที่มีปริมาณสารฟินอลิกเฉลี่ยเท่ากับ 0.052, 0.050 และ 0.041 mg/gDW ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สายดนีย์ หวังพัฒนพาณิชย์. 2554. หญ้าหวานNatural Sweeter. R&D Newletter 18(2): 9-10.
สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร. 2542. แบบบันทึกลักษณะพืชภาคสนาม.
Brandle, J. E. and N. Rosa. 1992. Heritability for yield, leaf: Stem ratio and stevioside content estimated from a landrace cultivar of Stevia rebaudiana. Canadian Journal of Plant Science 72(4): 1263-1266.
Codex. 2010. Procedural Manual. 19th ed. Rome: Codex Alimentarius, Food and Agriculture Organisation of the United Nations (FAO).
Doyle, J.J. and J.L. Doyle. 1987. A rapid DNA isolation procedure for small quantities of fresh leaf tissue. Phytochem. Bull. 19: 11-15.