ผลของกรรมวิธีการใช้ปุ๋ยเคมีต่อคุณภาพดินในนาข้าวและผลผลิตข้าว พื้นที่หนองหาร จังหวัดสกลนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาผลของกรรมวิธีการใช้ปุ๋ยเคมีต่อคุณภาพดินในนาข้าว ในพื้นที่หนองหาร จังหวัดสกลนคร ในแปลงทดลอง จำนวน 6 กรรมวิธี ใส่ปุ๋ยเคมี (สูตร 16-16-8 และสูตร 46-0-0 หรือยูเรีย) โดยใช้วิธีการ ใส่ปุ๋ยและอัตราปุ๋ยที่แตกต่างกันดังนี้ (1) ปุ๋ยสูตร 16-16-8 อัตรา 35 กิโลกรัมต่อไร่ ในอายุข้าว 30 วัน และปุ๋ยยูเรีย อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ ในอายุข้าว 60 และ 90 วัน ด้วยวิธีการหว่าน (กรรมวิธีที่ 1) วิธีการ ฝังที่ระดับความลึก 10 เซนติเมตร (กรรมวิธีที่ 2) และที่ระดับความลึก 20 เซนติเมตร (กรรมวิธีที่ 3) (2) ปุ๋ยอัตรา 70 กิโลกรัมต่อไร่ ในอายุข้าว 30 วัน และปุ๋ยยูเรีย อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ ในอายุข้าว 60 และ 90 วัน ด้วยวิธีการหว่าน (กรรมวิธีที่ 4) วิธีการฝังที่ระดับความลึก 10 เซนติเมตร (กรรมวิธีที่ 5) และ ที่ระดับความลึก 20 เซนติเมตร (กรรมวิธีที่ 6) ผลต่อคุณภาพดิน พบว่า ในอายุข้าว 90 วัน ค่าความเป็น กรด-เบส มีค่าสูงสุดในกรรมวิธีที่ 5 เท่ากับ 8.44 และตํ่าสุดในกรรมวิธีที่ 1 เท่ากับ 6.70 ค่าอินทรียวัตถุ อยู่ในเกณฑ์ต่ำมีค่าสูงสุดในกรรมวิธีที่ 1 ร้อยละ 0.98 ต่ำสุดในกรรมวิธีที่ 4 ร้อยละ 0.57 ในอัตราปุ๋ยเท่ากัน กรรมวิธีที่ 1 ค่ารีดอกซ์โพเทนเชียล มีค่าสูงสุดเท่ากับ -130.00 มิลลิโวลต์ ค่าแอมโมเนียม-ไนโตรเจน มีค่าตํ่าสุดเท่ากับ 103.96 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และค่าไนเตรท-ไนโตรเจน มีค่าสูงสุดเท่ากับ 8.30 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม และเมื่อใช้วิธีการฝังที่ความลึก 10 และ 20 เซนติเมตร ในกรรมวิธีที่ 2 และ 3 ตามลำดับ ค่ารีดอกซ์โพเทนเชียล มีค่าเท่ากับ -161.00 และ -215.20 มิลลิโวลต์ ค่าแอมโมเนียม-ไนโตรเจน เท่ากับ 230.42 และ 314.23 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ค่าไนเตรท-ไนโตรเจน ในกรรมวิธีที่ 2 และ 3 เท่ากับ 7.39 และ 5.91 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในแต่ละกรรมวิธี มีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ค่าฟอสเฟต-ฟอสฟอรัส มีค่าสูงสุดในกรรมวิธีที่ 3 และตํ่าสุดในกรรมวิธีที่ 1 เท่ากับ 29.17 และ 10.03 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ โดยพบว่าฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์อยู่ในเกณฑ์ตํ่ามาก เช่นเดียวกันกับ กรรมวิธีที่ 4, 5 และ 6 ผลผลิตข้าวทุกกรรมวิธีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดย ผลผลิตข้าวจากวิธีการฝังที่ระดับความลึก 10 เซนติเมตร ได้ผลผลิตสูงสุด ในอัตราการใช้ปุ๋ยที่เท่ากัน โดย ในกรรมวิธีที่ 5 ได้ผลผลิตข้าวเปลือกสูงสุด เท่ากับ 360.2 กิโลกรัมต่อไร่ และตํ่าสุดในกรรมวิธีที่ 3 เท่ากับ 215.0 กิโลกรัมต่อไร่ อย่างไรก็ตามการใช้กรรมวิธีที่ 2 ให้ผลผลิตข้าวเปลือก 245.3 กิโลกรัมต่อไร่ ส่งผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าวิธีการฝังปุ๋ยที่กรรมวิธี 5 จึงแนะนำให้เกษตรกรปลูกข้าวด้วยกรรมวิธีที่ 2
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร. 2551. การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าว จังหวัดสกลนคร. สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
Cao, Y., Y. Tian, B. Yin and Z. Zhu. 2013. Assessment of ammonia volatilization from paddy fields under crop management practices aimed to increase grain yield and N efficiency. Field Crops Res. 147: 23-31.
Chowdary, V.M., N.H. Rao and P.B.S. Sarma. 2004. A coupled soil water and nitrogen balance model for flooded rice fields in India. Agric Ecosyst Environ. 103(3): 425-41.
Gaihre, Y.K., U. Singh, S.M.M. Islam, A. Huda, M.R. Islam and M.A. Satte. 2015. Impacts of urea deep placement on nitrous oxide and nitric oxide emissions from rice fields in Bangladesh. Geoderma. 259: 370-9.
Iqbal, M.T. 2011. Nitrogen leaching from paddy field under different fertilization rates. MJSS. 15: 101-14.
Shan, L., Y. He, J. Chen, Q. Huang and H. Wang. 2015. Ammonia volatilization from a Chinese cabbage field under different nitrogen treatments in the Taihu Lake Basin, China. J Environ Sci (China). 38: 14-23.
Smith, J.L., R.I. Paapendick, D.F. Bezdicek and J.M. Lynch. 1992. Soil organic matter dynamics and crop residue management. Soil Microbial Ecology. New York: Marcel Dekker Inc.
Walkley, A. and I.A. Black. 1934. An examination of degtjareff method for determining soil organic matter and a proposed modification of the chromic acid titration method. Soil Science. 37(1): 29-38.
Xu, J., L. Liao, J. Tan and X. Shao. 2013. Ammonia volatilization in gemmiparous and early seedling stages from direct seeding rice fields with different nitrogen management strategies: A pots experiment. Soil Till Res. 126: 169-76.
Yang, J., L. Gang, M. Jing, Z.G. Bin and X. Hua. 2014. Effects of urea and controlled release urea fertilizers on methane emission from paddy fields: A multi-year field study. Pedosphere. 24(5): 662-73.