การทดสอบพันธุ์มะเดื่อฝรั่งบนที่สูง

Main Article Content

สุพัฒธณกิจ โพธิ์สว่าง

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบหาพันธุ์มะเดื่อฝรั่งที่เหมาะสมในการปลูกบนที่สูง โดยนำพันธุ์ มะเดื่อฝรั่งต่างประเทศ 5 สายพันธุ์ ปลูกทดสอบที่ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ความสูง 1,300 เมตร เป็นเวลา 4 ปี พบว่ามะเดื่อฝรั่งพันธุ์ Variegated มีอัตราการเพิ่มขึ้นของเส้นรอบวงโคนต้นสูงที่สุดเท่ากับ 2.4 เซนติเมตร/ปี รองลงมาคือพันธุ์ Japan, Dauphine, Verte และ Brown Turkey มีอัตราการเพิ่มขึ้น ของเส้นรอบวงโคนต้นเท่ากับ 2.0, 1.7, 1.3 และ 1.0 เซนติเมตร/ปี ตามลำดับ ด้านผลผลิต พบว่าพันธุ์ Japan ให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อต้นสูงที่สุด เฉลี่ย 50 ผลต่อต้น รองลงมาคือพันธุ์ Verte, Dauphine และ Variegated และ Brown Turkey ให้ผลผลิตเฉลี่ยในปีสุดท้าย (พืชอายุ 4 ปี) 35, 33, 20 และ 5 ผลต่อ ต้น ตามลำดับ ด้านคุณภาพผลผลิต พบว่าพันธุ์ Brown Turkey มีนํ้าหนักผลเฉลี่ยมากที่สุด 65.5 กรัม รองลงมาได้แก่พันธุ์ Japan, Dauphine, Verte, Variegated และมีนํ้าหนักผลเฉลี่ยเท่ากับ 42.9, 35.4, 33.6 และ 20.46 กรัม ตามลำดับ และพบว่าพันธุ์ Japan มีปริมาณของแข็งที่ละลายนํ้าได้มากที่สุดคือ 12.3 บริกซ์ รองลงมาคือพันธุ์ Variegated, Brown Turkey, Verte และ Dauphine มีปริมาณของแข็ง ที่ละลายนํ้าได้เท่ากับ 11.9, 11.5, 9.65 และ 8.94 บริกซ์ ตามลำดับ โดยภาพรวมพันธุ์ Japan มีความ เหมาะสมในการปลูกบนที่สูงมากกว่าพันธุ์อื่นที่ทดสอบร่วมกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2550. มะเดื่อฝรั่ง (ฟิกส์). แหล่งข้อมูล http://www.moac.go.th/builder/bhad/fig.php.

จารุพันธ์ ทองแถม อรุณี อภิชาติสรางกูร เกตุชัย มานะ และสุรินทร์ นิลสำราญจิต. 2549. การคัดเลือกพันธุ์มะเดื่อฝรั่งและมะเดื่อพื้นเมืองเพื่อการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์. รายงานวิจัยประจำปี 2549 โครงการวิจัยที่ 3025-3485. 1-95.

ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ. 2550. โลกเกษตร: โครงการหลวงอินทนนท์ ต่อยอดการปลูกมะเดื่อฝรั่งในไทย. แหล่งข้อมูล http://production.doae.go.th/service/news/detail.php?news_id=91.

ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ. 2551. การปลูกมะเดื่อฝรั่งเชิงพาณิชย์. 14(158): 1-66.

ธีระ เจริญกิจ. 2550. การพัฒนาสายพันธุม์ ะเดื่อฝรั่งหรือฟิกส์ (Ficus carica) สุดยอดแห่งผลไม้ที่เหมาะสมกับสภาพการปลูกบนพื้นราบของประเทศไทย. แหล่งข้อมูล http://therafigs.spaces.live.com/blog/cns!4190422DED92F77A!223.entry?_c=BlogPart.

ศรีวิจิตรา มีนางัว. 2550. เทคโนโลยีการเกษตร: มะเดื่อฝรั่ง ผลไม้เพื่อสุขภาพ อนาคตการผลิตสร้างรายได้บนพื้นที่สูง. แหล่งข้อมูล http://www.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=0505150749.

Yang, Y., Y. Yao, G. Xu and C. Li. 2005. Growth and physiological responses to drought and elevated ultraviolet-B in two contrasting populations of Hippophae rhamnoides. Physiologia Plantarum. 124: 431-440.