การศึกษาการเจริญเติบโตและปริมาณสารสำคัญในพลูคาว 9 สายพันธุ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
รวบรวมสายพันธุ์พลูคาวที่ได้จากแหล่งต่างๆ ในภาคเหนือ จัดกลุ่มพลูคาวได้เป็นสามกลุ่ม ได้แก่ สายพันธุ์ใบแดง ได้แก่ ใบแดงเชียงราย ใบแดงเชียงใหม่ และใบแดงพิษณุโลก สายพันธุ์ใบเขียว ได้แก่ ใบเขียวลำปาง ใบเขียวแพร่ และใบเขียวสุโขทัย และสายพันธุ์ก้านม่วง ได้แก่ ก้านม่วงแพร่ 1 ก้านม่วง แพร่ 2 และก้านม่วงแพร่ 3 ปลูกพลูคาวทั้ง 3 กลุ่มในพื้นที่ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2555 วางแผนการทดลองแบบ RCBD 9 กรรมวิธี 3 ซํ้า เมื่อพืชอายุ 3 เดือน ไม่พบความแตกต่างของการเจริญ ด้านเส้นผ่านศูนย์กลางทรงพุ่มพบว่าสายพันธุ์ก้านม่วงแพร่ 1 มีความสูงต้น เฉลี่ยมากที่สุดคือ 21.91 เซนติเมตร แต่ไม่แตกต่างกับสายพันธุ์อื่น เมื่ออายุ 6 เดือน ทั้งสามกลุ่มไม่พบความแตกต่างของการเจริญเติบโต ด้านเส้นผ่านศูนย์กลางทรงพุ่ม และจำนวนใบเฉลี่ยต่อต้น แต่เมื่อพิจารณาจากนํ้าหนักสดต่อพื้นที่ปลูก 1 ตารางเมตร พบว่าสายพันธุ์ใบเขียวลำปาง สายพันธุ์ใบแดงพิษณุโลก สายพันธุ์ก้านม่วงแพร่ 2 และ สายพันธุ์ใบเขียวสุโขทัย เป็นกลุ่มที่มีนํ้าหนักสดต่อตารางเมตรเฉลี่ยมีค่าสูงเท่ากับ 2,450 2,250 2,150 และ 2,050 กรัม ตามลำดับ ส่วนสายพันธุ์ก้านม่วงแพร่ 1 สายพันธุ์ใบแดงเชียงราย สายพันธุ์ใบแดง เชียงใหม่ และสายพันธุ์ใบเขียวแพร่ มีน้ำหนักสดเฉลี่ยต่อตารางเมตรที่ต่ำกว่ากลุ่มแรก คือ 1,250, 1,150, 1,000 และ 1,000 กรัม ตามลำดับ แต่เมื่อนำผลผลิตไปอบที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง นํ้าหนักแห้งที่ได้ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ และเมื่อนำไปวิเคราะห์หาปริมาณสารสำคัญ 2 ชนิด ได้แก่ เคอร์ซีติน (Quercetin) และรูติน (Rutin) พบว่าสายพันธุ์ก้านม่วงแพร่ 1 มีแนวโน้มพบ ปริมาณสารสำคัญเคอร์ซีตินสูงกวา่ พันธุ์อื่น ส่วนสารรูตินพบในสายพันธุ์ใบเขียวลำปางสูงกว่าสายพันธุ์อื่น วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อคัดเลือกสายพันธุ์พลูคาวที่ให้ผลผลิตและสารสำคัญสูงในแหล่งปลูก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
นิรนาม. 2546. สมุนไพรน่ารู้ 1 ผักคาวตอง. สถาบันวิจัยสมุนไพร. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. กระทรวงสาธารณสุข.
ปริญญา จันทรศรี. 2553. พลูคาว. (ระบบออนไลน์) แหล่งที่มา http://www.ist.cmu.ac.th/riseat/nl/2003/12/03.php (16 กรกฎาคม 2553).
วัชรี ประชาศรัยสรเดช. 2548. ผักพื้นเมืองเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 50 พรรษา 2 เมษายน 2548. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. KR Daily Update ฉบับประจำวันที่ 3 สิงหาคม 2555. แหล่งที่มา http://www/etda.or.th.file_storage/uploaded/Etda_Website.file/20120610_Srw_v04.pdf.
อัมพิกา ปัญญากาศ. 2540. นํ้ามันหอมระเหยจากการกลั่นส่วนในอากาศของพลูคาวด้วยไอนํ้า. รายงานปัญหาพิเศษ. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Hayashi, K., M. Kamiy, and T. Hayashi. 1995. Virucidal effects of the steam distillate form Houttuynia cordata Thunb. And its components on HSV-1, influenza virus, and HIV. Plants Med. 61(3): 237-241.
Kim, S.K., S.Y. Ryu, J. Wo, S. Choi and Y.S. 2001. Cytotoxic alkaloids from Houttuynia cordata Arch Pharm Res. 24(1): 518-521.
Probstie, A and Bauer, R. 1992. Aristolactams and a 4, 5-Dioxoaporphine derivative from Houttuynia cordata. Planta Med. 58(6): 568-569.
Sriwanthana, B., P. Chavalittumrong, W. Threesangsri. 2003. Effect of Houttuynia cordata Thunb., on lymphocyte procyte proliferation of normals. (submitted for publication) Trang W and G, Eisenbrand. 1992. Chinese Drugs of Plant Origen. Springer-Verleg. Germany, pp. 589-591.